
8 ธ.ค. 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 07:00 น. วันนี้ ถึง 07:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และน่าน อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรังอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล เมฆบางส่วนกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สภาพอากาศวันนี้ทั่วไทยอากาศร้อนหลายพื้นที่เจอฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 2 'พายุฤดูร้อน' 29 มี.ค. - 1 เม.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 2
ทั่วไทยอากาศร้อนแต่มีฟ้าหลัวพร้อมฝนตก 10%ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ไทยตอนบนร้อนถ้วนหน้า PM 2.5 มาอีกแล้ว
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวและมีอากาศร้อนจั
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า แดดแรงร้อนจัด 29 มี.ค.-2 เม.ย. พายุถล่มลูกเห็บตก
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 24 มี.ค. - 7 เม.ย. 68
อุตุฯ เตือนทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทะลุ 40 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง