'สังศิต' ชำแหละ 'ลูกไม้เก่าของสทนช.' ทำแผนแก้ภัยแล้ง-น้ําท่วม แนะขยายเวลาอีก2สัปดาห์


27 ธ.ค.2566 - ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่บทความเรื่อง ลูกไม้เก่าของสทนช. มีเนื้อหาดังนี้

รัฐบาลชุดที่แล้วใช้งบประมาณหลายแสนล้านบาทในการให้สทนช.ทำแผนป้องกันภัยแล้งและน้ําท่วม ติดต่อกันยาวนานเป็นเวลาถึง 8 ปีแต่ก็ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เป็นเพราะสทนช.ทำแต่แผนสร้างโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางเท่านั้น โดยไม่สนใจให้การสนับสนุนการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กและไม่สนใจให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการทำแผนป้องกันภัยแล้งและภัยจากน้ำท่วมแต่อย่างใด

วันนี้สทนช.กำลังทำแผนแบบเดิมอีกแล้ว ในการจัดสรรงบประมาณแก้ภัยแล้งและงบประมาณประจำปี 2568

ถ้ารัฐบาลชุดนี้ไม่ต้องการผลลัพธ์ คือความล้มเหลวในการป้องกันภัยแล้งและน้ำท่วมแบบเดียวกับรัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลจำเป็นต้อง มีแนวความคิดและนโยบายการจัดสรรงบประมาณตลอดจนวิธีการทำงาน ที่แตกต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้วเท่านั้น

เทคนิคของสทนช.ที่จะทำในขณะนี้ เพื่อมิให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการทำงานด้านป้องกันภัยแล้งและภัยน้ำท่วม ในปี 2567 - 25668 คือ

1. ประกาศของสทนช. ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ที่ให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศจัดทำคำขอเพื่อก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ถึงช่วงสิ้นปี 2566 โดยการเสนอโครงการและงบประมาณต้องเสนอผ่านระบบ Thai Water Plan ซึ่งเป็นระบบ AI

ประกาศนี้จะถูกส่งไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศประเทศ ซึ่งกว่าที่ประกาศนี้จะถูกส่งไปถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะไม่สามารถทำโครงการได้ทันเวลา

2 หากแม้จะมี องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งที่มีโครงการอยู่แล้วในมือและสามารถส่งโครงการเหล่านั้นเข้าสู่ระบบ AI ได้ตามเวลา แต่โอกาสที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นจะได้รับอนุมัติโครงการก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะหากมีข้อมูลที่ส่งเข้าไปคลาดเคลื่อน ไม่สมบูรณ์ หรือเพราะความเข้าใจผิด ระบบ AI ก็จะเขี่ยโครงการเหล่านั้นให้ตกไปทันที

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีความเห็นว่าหากรัฐบาลต้องการที่จะมีผลงานในเรื่องของการแก้ภัยแล้งและภัยน้ำท่วมที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2567 และ 2568 รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้คือ

1. ขยายระยะเวลาของโครงการนี้ออกไปอีก 10-15 วัน เพื่อให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีโอกาสตระเตรียมโครงการต่างๆได้ทันเวลา
และ

2 สำหรับโครงการแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งขนาดของงบประมาณอยู่ระหว่างหลักหมื่นถึงแสนบาทต่อโครงการ เช่นการทำฝายแกนดินซิเมนต์ไม่ควรทำผ่านระบบ Thai Water Plan ของสทนช. แต่ควรจะ ผ่านระบบของกระทรวงมหาดไทย ที่ให้ข้าราชการเป็นผู้ดำเนินการแทนระบบ AI

ซึ่งการขยายระยะเวลาไปอีกสองอาทิตย์ จะมิได้กระทบกระเทือนต่อกระบวนการทำงานเรื่องงบประมาณแต่อย่างใด หากแต่จะทำให้รัฐบาลสามารถมีผลงานในการแก้ปัญหาความทุกข์ร้อนจากปัญหาภัยแล้งและภัยน้ำท่วมให้แก่ประชาชนทั้งประเทศได้ดีกว่า ระบบที่สทนช. เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยมิได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศแต่อย่างใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น้ำลด ถนนอันซีนโผล่ จุดเช็กอินริมโขงนครพนมกลับสู่ภาวะปกติแล้ว หลังจมน้ำนานสัปดาห์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ จ.นครพนม ระดับน้ำโขงเริ่มลดลงวันละ 20-30 เซนติเมตร ล่าสุดช่วงเวลา 17.00 น. อยู่ที่ 11.50 เมตร ห่างจากจุดเตือนภัยเฝ้าระวัง 50 เซนติเมตร คือที่ 12 เมตร

'ช่อง 8' รวมพลปันน้ำใจ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม

กลายเป็นสถานการณ์วิกฤตระดับประเทศสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย จนทำให้ประชาชน บ้านเรือน และที่ทำมาหากินได้รับความเสียหาย โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โครงการ ช่อง 8 ปันน้ำใจ ได้ส่งตัวแทน โจ-ธีระ ธัญญอนันต์ผล บรรณาธิการบริหารสายงานข่าวและผู้ประกาศข่าว นำทีมผู้ประกาศข่าวและนักแสดงสังกัดช่อง 8 ในเครือ อาร์เอส กรุ๊ป

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 13 'พายุซูลิก' เข้าไทยแล้ว ศูนย์กลางอยู่นครพนม

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 13 โดยมีใจความว่า

'พายุซูลิก' ถล่มมุกดาหาร ฝนกระหน่ำ 10 ชม. น้ำท่วมหลายพื้นที่

เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 19 ก.ย. จนถึงช่วงเช้า 20 ก.ย. นานนับ 10 ชั่วโมง โดยมีฝนตกหนักในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมุกดาหารหลายแห่ง