‘ศุภมาส’ ยัน ไม่ได้หนีอุเทนถวาย หลังมีคำสั่งให้ ขรก. เวิร์คฟรอมโฮม

27 ก.พ.2567- ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีที่กระทรวง อว. และ กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ให้เจ้าหน้าที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งเป็นกรณีพิเศษ (Work From Home) เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับกระทรวง อว. ในช่วงที่กลุ่มศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายเข้ายื่นหนังสือ และเดินขบวนทวงความชอบธรรม เพื่อคัดค้านการย้ายอุเทนถวายฯ ออกจากพื้นที่เดิม ว่า วันนี้กระทรวง อว. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลผู้ที่จะมายื่นหนังสือแล้ว ทางกระทรวงฯ เคยรับยื่นหนังสือจากกลุ่มนักศึกษาอุเทนถวายมาแล้วหลายครั้ง ตามที่มีกำหนดการว่า จะมีกลุ่มนักศึกษามายื่นหนังสือ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางกระทรวงฯ ก็ได้ประชุมร่วมกับตัวแทนกลุ่มผู้มายื่นหนังสือ รวมทั้งศิษย์เก่าประมาณ 2-3 ครั้ง โดยมีการขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง ซึ่งเราก็อนุญาต และจะชุมนุมโดยแสดงสัญลักษณ์เพื่อยืนยันว่าเป็นกลุ่มก้อนของเขาจริง หากนอกเหนือจากนี้ถือว่าไม่ใช่ ซึ่งตนจะเป็นผู้เดินทางไปรับหนังสือเอง

เมื่อถามว่า มองว่าสถานการณ์บานปลายหรือไม่ เนื่องจากมีการนัดรวมตัวกันของนักศึกษา น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า จริงๆ แล้ว พวกเขาไม่ได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรก ซึ่งเดือนที่แล้วก็มีการรวมตัวกัน 300 คน เราก็มีการเตรียมการต้อนรับ ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ซึ่งสถานการณ์ในวันนี้ก็อาจจะเป็นไปตามเดือนที่แล้ว ซึ่งเราก็เตรียมสถานที่และน้ำดื่มให้กับกลุ่มนักศึกษาทุกคน

ถามว่า การที่กระทรวง อว. สั่งให้มีการเวิร์คฟรอมโฮมของเจ้าหน้าที่ ในช่วงที่กลุ่มนักศึกษาอุเทนถวายฯ จะยื่นหนังสือนั้นเป็นการหนีหรือไม่ น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า เราไม่ได้หนี แต่เราไม่แน่ใจว่าจะมีกลุ่มมือที่ 3 หรือมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาก่อเหตุหรือไม่ ซึ่งเราก็ต้องป้องกันไว้ก่อนเพื่อไม่ให้กลายเป็นการสร้างสถานการณ์ขึ้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงฯ รวมทั้งกลุ่มผู้มายื่นหนังสือแล้วหลายครั้ง พวกเรามีการประชุมกันมาโดยตลอดเพื่อประสานงานกัน ซึ่งทางกลุ่มนักศึกษาที่มายื่นหนังสือก็ทำตามหน้าที่ของเขา ทางกระทรวงฯ ก็มีหน้าที่รับหนังสือ และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย คิดว่าวันนี้เหตุการณ์จะผ่านไปอย่างเรียบร้อย

ซักว่า คาดหวังว่าวันนี้ทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยคุยกันได้ทั้งหมด น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า วันนี้คงไม่ได้พูดคุยอะไรกันเยอะ เพราะยังไม่ทราบว่าจะคุยในประเด็นใดบ้าง แต่วันนี้จะมารับหนังสือแล้วเราจะมาดูว่าเขาต้องการอะไรบ้าง และจะส่งเรื่องไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ใช่แค่คณะกรรมการฯ ที่เราได้ตั้งไว้ อาจมีนอกเหนือจากนั้น ต้องดูว่ามีข้อเรียกร้องอะไรบ้าง และเราอาจต้องตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เพิ่มเพื่อให้เกิดข้อยุติ และให้ทุกฝ่ายสบายใจที่สุด เพราะทาง มทร.อุเทนถวาย ก็อยู่ในสังกัดกระทรวง อว. ก็ถือว่าอยู่ฝั่งเดียวกัน เราไม่ได้เป็นม็อบที่เผชิญหน้ากันเหมือนม็อบอื่นๆ

ส่วนจุดยืนที่ทางอุเทนถวายฯ ยืนยันว่าจะไม่ย้ายออกนั้น น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า เราก็บอก เพราะคิดว่าทางกลุ่มนักศึกษาก็น่าจะเข้าใจ เพราะเราก็เคยประชุมร่วมกัน เพียงแต่ว่า มทร.อุเทนถวาย ไม่ใช่มหาลัยเดียวที่มายื่นหนังสือ ซึ่งอีกหลามหาวิทยาลัยต่างก็เคยมายื่นเช่นกัน เราก็ทำตามหน้าที่ เราต้องอาศัยองคาพยพทุกส่วน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาหาทางออกให้ทุกคนพอใจ ส่วนฝั่งเจ้าของที่ดินนั้น ได้พูดคุยกับฝั่งอุเทนถวายหลายครั้งแล้ว เราก็คงจัดการด้วยการตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อดูแลปัญหาให้คลี่คลายโดยเร็ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศุภมาส' ให้ วศ.อว. ผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ล่าสุด 'เฝือกขาจากยางพารา (Bio-Slab)' ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยสำเร็จแล้ว

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีงานวิจัยและนวัตกรรมจำนวนมาก ไม่สามารถผลักดันสู่การใช้งานจริงได้ เนื่องจากขาดการรับรองคุณภาพของผลงานวิจัย โดยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมส่วนใหญ่ยังไม่มีเกณฑ์กำหนดหรือมาตรฐานมารับรองคุณภาพ

'วิรังรอง' บอกใครเข้าใจผิด โปรดอ่านคำชี้แจง ศาลปกครองไม่เคยมีคำสั่งบังคับคดีอุเทนถวาย

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ศาลปกครองชี้แจงไม่ได้พิพากษาบังคับคดีอุเทนถวาย คำชี้แจงของศาลปกครองชัดเจนนะคะ

'วิรังรอง' ตั้งคำถามถึงอธิการบดีจุฬาฯ หลังได้อ่านความเห็นของ 'อ.เจษฎา-ธงทอง'

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์เฟซบุ๊ก โดยเขียนบทความเรื่อง "คำถามเพื่อสัมภาษณ์ท่านอธิการบดีจุฬาฯ กรณีพิพาทจุฬาฯ