19 เด็กไร้สัญชาติ ถูกออกเรียนกลางคันอีก รัฐส่งกลับพม่าหลังไปเรียนอยู่ลพบุรี


19 เด็กไร้สัญชาติถูกออกเรียนกลางคันอีก พม.จับมือตม.เตรียมส่งกลับฝั่งพม่าหลังพบไปเรียนอยู่ลพบุรี มูลนิธิบ้านครูน้ำ ยื่น กสม.สอบด่วน เผยละเมิดสิทธิเด็กซึ่งหนีภัยการสู้รบ-ยาเสพติด

23 มี.ค.2567 - น.ส.นุชนารถ บุญคง ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบ้านครูน้ำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ทางมูลนิธิบ้านครูน้ำ ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)เพื่อขอให้ กสม. ตรวจสอบเรื่องการละเมิดสิทธิและคุ้มครองหน่วยงานที่ทำงานด้านเด็ก เนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา เด็กชายไร้สัญชาติจำนวน 19 คน อายุระหว่าง 5-17 ปี ถูกส่งกลับมาจาก วัดสว่างอารมณ์ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี มายังมูลนิธิบ้านครูน้ำ และถูกนำตัวไปยังบ้านพักเด็กในกลางดึกคืนทันที ทำให้ทางมูลนิธิมีความกังวลใจเนื่องจากตอนแรกมีข้อตกลงร่วมกันตรวจสอบและดำเนินการอย่างละมุนละม่อมในการคุ้มครองดูแลเด็กตามกระบวนการ

น.ส.นุชนารถกล่าวว่า เมื่อเด็กชายทั้งหมดมาถึงกลับไม่เป็นไปตามข้อตกลง โดยมีการควบคุมตัวเด็กอย่างเข้มงวด แยกเด็กไม่ให้พบญาติพี่น้องและมูลนิธิฯ ไม่ให้พักที่บ้านพักมูลนิธิฯ 1 คืนตามที่ตกลง และสิ่งที่ทางมูลนิธิฯพยายามเจรจาผ่านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)คือขอให้เด็กได้เรียนจบชั้น ป.1 ก่อนแล้วจึงนำกลับมาจากจังหวัดลพบุรีเพื่อให้เด็กสามารถศึกษาต่อในที่ใหม่ได้

“เราทราบว่าเขากำลังจะตรวจสอบมูลนิธิฯซึ่งทำให้เสี่ยงที่จะถูกสั่งปิด และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด ในขณะที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มีการทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนตามตะเข็บชายแดนและคุ้มครองเด็กให้พ้นจากความเสี่ยงการค้ามนุษย์ และทำงานร่วมกับทางการหลายกรณี แต่ตอนนี้ไม่สามารถติดต่อเด็ก ๆ ได้ และทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขออย่าเพิ่งติดต่อไป ขอดำเนินการสอบเด็ก ๆ และขอเอกสารข้อมูลการเกิด พ่อแม่ เพื่อยืนยันเพื่อส่งกลับ”ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯกล่าว

น.ส.นุชนารถ กล่าวว่า เด็กทั้ง 19 คน เป็นเด็กถูกพ่อแม่ญาติพี่น้องที่เป็นแรงงานข้ามชาตินำออกมาจากสถานการณ์สู้รบในประเทศพม่า และขอร้องให้ทางมูลนิธิฯช่วยดูแลไว้ก่อนจำนวน 16 คน โดยผ่านบ้านป้าอำ ซึ่งเป็นคนที่รับดูแลเด็ก ๆ เร่ร่อนหรือลี้ภัยที่อำเภอแม่สายที่เป็นเครือข่ายมูลนิธิฯ และเป็นเด็กชายจำนวน 3 คน ที่พ่อแม่ถูกจับที่ สปป.ลาว โดยลุงพามาฝากที่มูลนิธิฯ แต่เนื่องด้วยในเวลานั้นเด็กทะลักเข้ามามากและเกินกำลังที่จะดูแลได้ เพราะขณะนี้ดูแลเด็กอยู่จำนวน 82 คน และต้องการให้พ้นจากพื้นที่เสี่ยงชายแดน และในช่วงนั้นต้นปี 2566 ได้รู้จักพระอาจารย์จากวัดสว่างอารมณ์และทราบว่ามีโครงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนได้ส่งไปบวชภาคฤดูร้อนจึงประสานไปเพื่อให้เด็กได้บวชและอยู่ในที่ปลอดภัยอย่างน้อย 1 เดือน แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาสึกทางสามเณรไม่ต้องการสึก และทางพระอาจารย์ที่มารับเด็กไปบวชแจ้งว่าเด็ก ๆ ปรับตัวกับพื้นที่ได้ดีสามารถอยู่เพื่อเรียนต่อได้ จึงได้ไปเยี่ยมเด็ก ๆ ทราบว่าเด็กอยากอยู่และเรียนที่ลพบุรี จึงมีการไปเยี่ยมทุก 2 เดือน และเห็นว่าทางวัดได้ดูแลเด็ก ๆ เป็นอย่างดี

น.ส.นุชนารถกล่าวว่า จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์นำเด็กต่างด้าว 126 กลับจาก จ.อ่างทองในเดือนกรกฎาคม 2566 ส่งกลับเมียนมา ทางมูลนิธิฯ จึงได้พยายามประสานพ่อแม่ญาติพี่น้องของเด็ก เพื่อเตรียมตัวนำกลับมาที่ จ.เชียงราย และกลับมาทำหนังสือให้ถูกต้องตามกฎหมาย หาแนวทางให้เด็กได้เรียนต่อ จึงติดต่อไปกับทางวัดสว่างอารมณ์เพื่อส่งเด็กกลับมา แต่ทางพระอาจารย์ที่วัดให้เข้าไปคุยกับเด็กๆ เอง ในเดือนกันยายน 2566 จึงได้ไปพูดคุยกับเด็ก ๆ อีกครั้ง ปรากฎว่าเด็ก ๆ ยืนยันที่จะอยู่ที่วัดต่อ เราจึงได้พาสามเณรกลับมาได้ 1 คนซึ่งป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดและรักษาต่อเนื่อง

ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯกล่าวว่า ครั้งสุดท้ายที่ไปพบปะเยี่ยมสามเณรคือเดือนมกราคม 2567 และปรากฏว่าในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทาง พมจ.ลพบุรีได้เข้าปูพรมตรวจสอบพื้นที่ในจังหวัดลพบุรี โดยได้เข้าตรวจค้นที่วัดสว่างอารมณ์ด้วย และได้สอบเด็ก และพระอาจารย์ที่ดูแล ซึ่งเราได้รับการติดต่อจากบ้านพักเด็กเชียงราย ขอข้อมูลที่ส่งเด็กจาก จ.เชียงรายไปยัง จ.ลพบุรี มูลนิธิฯก็ได้ให้ความร่วมมือให้ข้อมูลและเข้าพบหัวหน้าบ้านพักเด็ก จ.เชียงราย เพื่อเตรียมความพร้อมให้ส่งเด็กกลับมาในช่วงปิดเทอม เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก แต่ปรากฏว่าทุกอย่างไม่เป็นไปตามนั้น

น.ส.นุชนารถกล่าวว่า ในคืนวันที่ 10 มี.ค.เราได้รับการติดต่อจากวัดว่าจะนำเด็กกลับทั้งที่อีกไม่กี่วันเด็กจะสอบปิดภาคเรียนแล้ว แต่หลังจากนั้นก็ติดต่อกับทางวัดไม่ได้อีกเลย จนกระทั่งคืนวันที่ 12 มี.ค. ได้รับการติดต่อมาจาก พมจ.เชียงราย และ ต.ม.เชียงแสนว่าจะเข้ามารับเด็ก ๆ ไปยังบ้านพักเด็กเมื่อเด็กมาถึง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมาย

“ในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน ลี้ภัยสงคราม ตามตะเข็บชายแดน ให้พ้นจากความเสี่ยงการค้ามนุษย์ ความเสี่ยงการขายบริการ และเสี่ยงจากการเป็นเครือข่ายยาเสพติด รู้ว่าการทำงานของมูลนิธิฯ และเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น Drop in ศูนย์เรียนรู้เด็กเร่ร่อนแม่สายที่ดูแลเด็กที่แวะเวียนมาเรียนกว่า 50 คน บ้านป้าอำ อ.แม่สาย และเครือข่ายอีกจำนวนมาก ที่คอยคัดกรอง และการให้การสนับสนุนกัน ในการคุ้มครองเด็ก ต่างมีความเสี่ยงผิดกฎหมายไปแล้วครึ่งหนึ่ง แต่ทำงานกันมากกว่า 35 ปี ช่วยเด็กมากกว่า 358 คน ไม่รวมเด็กเร่รอนที่ไปกลับเวียนมา เด็ก ๆ เหล่านี้ได้เรียนต่อตามความสามารถ ซึ่งได้ช่วยเด็กพ้นจากความเสี่ยงและลดอาชญากรรมตามชายขอบที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยด้วย” น.ส.นุชนารถกล่าว

ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบ้านครูน้ำ กล่าวว่า การเกิดทุนสีเทา เวปพนัน คอลเซ็นเตอร์ การค้ามนุษย์ ยาเสพติดรุนแรงขึ้น ในทุกด้านของชายแดน ทำให้เด็กมีความเสี่ยงสูงขึ้นมากมีการทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมากอย่างน่ากังวล ต่างกับเมื่อก่อนที่จะมีเพียงปัญหาถูกกระทำภายในครอบครัว แต่ตอนนี้ปัญหารอบด้านทีตะเข็บชายแดน หากยังติดเรื่องหลักเกณฑ์ รอช่วยเหลือที่ปลายทางไม่สามารถรับมือกับหาได้ จึงอยากให้รัฐบาลได้เห็นถึงสภาพปัญหาที่รุนแรงเพื่อรับมือให้ทันกับการทะลักของคนเร่ร่อน ลี้ภัยที่ตะเข็บชายแดน แก้ปัญหาอย่างตรงจุด

ด้านแหล่งข่าว ตม.เชียงแสน กล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินการอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของสหวิชาชีพ ทำงานร่วมกับ พมจ.เชียงราย ได้ประสาน ตม.แม่สาย ติดต่อทาง ตม.ท่าขี้เหล็กเพื่อประสานหาผู้ปกครองเด็ก ๆ เพื่อส่งกลับสู่พ่อแม่และส่งกลับประเทศพม่า หากไม่สามารถติดต่อผู้ปกครองได้ก็เข้าสู่ขบวนการการสงเคราะห์ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การเคหะแห่งชาติร่วมขบวน "คาราวานจิตอาสาพระราชทาน กระทรวง พม." พร้อมมอบถุงยังชีพ ให้กลุ่มเปราะบางในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดกิจกรรม "คาราวานจิตอาสาพระราชทาน กระทรวง พม." ภายใต้โครงการ "พม.ร้อยดวงใจ จิตอาสาเพื่อประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เครือข่ายพัฒนาที่อยู่อาศัย 17 ประเทศในระดับเอเชียและนานาประเทศ ผนึกพลังทุกภาคส่วนสร้างบ้านเพื่อทุกคน เสนอรัฐหนุนเสริมบ้านโดยชุมชน ปลดล๊อกสิทธิที่ดินและระบบการเงิน สู่ความยั่งยืนมั่นคง

กทม. : วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนจาก 17 ประเทศในระดับเอเชียและนานาประเทศ ร่วมเสนอแนวทางการการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในระดับเอเชียและนานาประเทศ

ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน เปิดวงแลกเปลี่ยนบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในระดับเอเชียและนานาประเทศ

วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2567 ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ประชาสังคม นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ

'วราวุธ' แจงเหตุแต่งตั้งโยกย้ายล็อตใหญ่ 5 อธิบดี กระทรวง พม.

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมครม.สัญจร ถึงการโยกย้ายอธิบดี 5 กรม ว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบการโยกย้าย

วราวุธ รมว.พม. เยี่ยมบ้านมั่นคงเมืองย่าโม ย้ำนอกจากมีบ้านแล้วต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกครัวเรือน

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการบ้านมั่นคง

กระทรวง พม. เปิดปฏิบัติการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”

กรุงเทพฯ/29 มิถุนายน 2567 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดโครงการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”