เช็กที่นี่! กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 6 เปิดพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 14-17 ก.ย.

14 ก.ย.2567 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 6 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 14-17 กันยายน 2567)

ในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. 67 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังค่อนข้างแรง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 14 กันยายน 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 15 กันยายน 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 16-17 กันยายน 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 20 ก.ย. 67

 

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปราโมทย์ ไม้กลัด' ดึงสติคนกทม.-ปริมณฑล ไม่ต้องกังวลปัญหาน้ำท่วม

อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยว่า ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา มาตลอดจนถึงวันนี้ 8 ตุลาคม

'ศปช.' สรุป 5 ข้อหลัก น้ำท่วมเชียงใหม่-เชียงราย ยันเป็นเหตุไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) แถลงผลการประชุมว่าที่ประชุมมีการประมวลวิเคราะห์สถานการณ์

ศปช.ส่วนหน้า เผยคืบหน้าฟื้นฟูแม่สาย ในพื้นที่รับผิดชอบ 'มหาดไทย-กลาโหม'

ในการประชุมศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศปช.ส่วนหน้า) วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ซึ่งมี น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ และพลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์

'บิ๊กป้อม' มองน้ำท่วมหนัก เพราะรัฐบาลบริหารจัดการน้ำไม่เป็นมืออาชีพ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวในที่ประชุมกรรมการบริหารและ สส.พรรคถึงสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ว่า การบริหารจัดการน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในอดีต ตนเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้มีการวางแนวทางการบริหารจัดการไว้เป็นอย่างดีแล้ว โดยในปี 2565 ปริมาณน้ำมีมากกว่า ปี 2554

ครม. เคาะเยียวยาน้ำท่วมแบบเหมาจ่าย 9 พันบาท เผยหลายครัวเรือนได้แล้ว 5 พัน จะได้รับเพิ่มเติม

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.อนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอหลักเกณฑ์การเยียวยาจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยเปลี่ยนเป็นการช่วยหลือแบบเหมาจ่ายอัตราเดียว