5 ต.ค.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่า ในวันที่ 5 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิลดลงอีกเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคกลางตอนบนและร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
ประกอบกับในช่วงวันที่ 6 – 7 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และอ่าวไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในของภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคใต้ โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 2 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน
ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทยตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตลอดช่วง
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 5 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส
โดยมีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในวันที่ 5 ต.ค. 67
อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 67 มีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคในวันที่ 5 ต.ค. 67
โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียสทางตอนบนของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 67 มีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค
ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 5 – 7 ต.ค. 67
ในช่วงวันที่ 4 - 7 ต.ค. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 5 – 7 ต.ค. 67
ในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 67 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 67 มีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศปช.เตือน 6-7 พ.ย. 4 จังหวัดภาคเหนือเตรียมรับมือฝนฟ้าคะนอง
ศปช.แจ้งความกดอากาศจีน ทำ 4 จังหวัดภาคเหนือมีฝน 6-7 พ.ย.นี้ด้าน ปภ. จัดเฮลิคอปเตอร์สแตนด์บายสุราษฎร์ธานีหากเกิดอุทกภัย
คนกรุงรอลมหนาวต่อ! แถมต้องพกร่มฝนเท 30%ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ถึงคิวภาคใต้ ฝนตกหนัก-หนักมาก ระวังน้ำป่า!
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตา
กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'หยินซิ่ง' ต้องติดตามทิศทางเปลี่ยนแปลง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ล่าสุดค่ำวันนี้ (4/11/67) : พายุโซนร้อน "หยินซิ่ง (YINXING)" มีศูนย์กลางบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
กรมอุตุฯ ประกาศ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว เผย 3 ปัจจัย
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ด้วยสามปัจจัย
อัปเดตเส้นทางดีเปรสชัน 'หยินซิ่ง' ทวีรุนแรงเป็น 'พายุโซนร้อน'
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถาการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ล่าสุดเช้าวันนี้ : ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "หยินซิ่ง (YINXING)" แล้ว