'เหนือ-อีสาน' หนาวต่อส่วนภาคอื่นๆ รับมือฝนเท

กรมอุตุฯ ชี้ลมตะวันตกยังปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้ยังมีอากาศเย็นและหนาว ส่วนภาคอื่นเตรียมรับมือในถล่มรวมทั้งกรุงเทพฯ

10 ก.พ.2565 - กรมอุตุนิมวิทยาได้พยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไปประจำวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ว่าลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้ากับมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ โดยยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11-13 ก.พ. 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแกรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในระยะนี้ ประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร มีฝุ่นละออง/หมอกควันสะสมปานกลางเนื่องจากลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อน

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ สยบข่าวลือ! คลื่นความหนาวปกคลุม อากาศสุดขั้วในรอบ 5 ปี

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ชี้แจงข่าวลือ จากรณีที่มีสื่อสังคมออนไลน์ได้เผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมีข้อความว่า "ข่าวด่วน จากกรมอุตุไม่เคยมีพยากรณ์แบบนี้มาก่อนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

อุตุฯ เตือนอากาศร้อน ฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง 53 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อน

กรมอุตุ เปิดพื้นที่เสี่ยงภัยฝนฟ้าคะนอง 40-60 % ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 52 จังหวัด

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 11 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567) โดยมีใจความว่า