'ชวน' กรีด 7 แผลกระบวนการยุติธรรมไทย แนะยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล

แฟ้มภาพ

26 มี.ค.2565 - นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “สภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยกับมุมมองของนักการเมืองต่อกระบวนการยุติธรรมไทย” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 26 จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เมื่อ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา

โดบนายชวน กล่าวว่า วันนี้เป็นการบรรยายถึงสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยที่ได้เรียนรู้ และรับทราบจากประสบการณ์ของการทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นนักการเมือง ทั้งในฐานะที่เคยได้ทำหน้าที่ในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพื่อถ่ายทอดมุมมองของนักการเมืองต่อกระบวนการยุติธรรมไทย โดยหลักสำคัญที่ต้องยึดเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน คือ หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงหลักธรรมาภิบาลแล้วจะพบว่าสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทย สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้

นายชวน กล่าวต่อว่า 1.ปัญหาเกี่ยวกับระบบการบริหารงานยุติธรรม 2.ปัญหาเกี่ยวกับระบบการดำเนินคดีอาญา 3.ปัญหาเกี่ยวกับระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด 4.ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติโดยไม่ชอบธรรมจากบุคคลในกระบวนการยุติธรรม

5.กระบวนการยุติธรรมขาดการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากประชาชน 6.กระบวนการยุติธรรมขาดองค์ความรู้และศักยภาพในการพัฒนา และ 7.บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมขาดจิตสำนึกและขาดทัศนคติที่ดีในการให้บริการความยุติธรรมแก่ประชาชน

นายชวน กล่าวอีกว่า จากสภาพปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยประสบกับปัญหาสำคัญหลายประการ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ทั้งเรื่องกฎหมายบางฉบับที่ล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาพของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้อำนาจในการออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อคนเฉพาะกลุ่ม และปัญหาด้านการทุจริตคอร์รัปชันที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับคนส่วนใหญ่ในสังคม ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นการผลักดันให้เกิดการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

“การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบ โดยมีประชาชน หรือองค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม ประกอบกับการยึดหลักคุณธรรม คือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีระเบียบวินัย ซึ่งผู้บริหารและข้าราชการทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ โดยให้ความสำคัญกับผู้รับบริการหรือประชาชน นอกจากนี้ ต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจเรื่องสำคัญของสังคม

ฉะนั้น จึงต้องปรับวิธีคิดโดยให้ทุกฝ่ายบูรณาการการทำงานร่วมกัน และนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารและผู้ที่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนรู้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการยุติธรรมในฐานะเป็นกลไกหลักในการผดุงไว้ ซึ่งหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง” นายชวน กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิพิฏฐ์' ตอก 'ณัฐวุฒิ' ล้างมือจากการเผาบ้าน-เผาเมือง ให้หายสกปรกเสียก่อน ค่อยรื้อฟื้นคดีเสื้อแดง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความหัวข้อ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ล้างมือให้หายสกปรกเสียก่อนเถอะ

'ชวน' อบรมรัฐบาลแพทองธาร ต้องให้เกียรติข้าราชการ ยึดหลักซื่อสัตย์ไม่เอาตำแหน่งมาเป็นราคา

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย.66 ได้เคยอภิปรายนโยบายรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ วันนั้นเป็นการพูดในฐานะฝ่ายค้าน ส่วนวันนี้พูดในฐานะรัฐบาล แต่ไม่ว่าตนจะอยู่พรรคใดก็ตาม

'ชวน' ควง 'อภิสิทธิ์' ร่วมงานพิธีเคารพบรรพบุรุษตระกูล 'วงศ์หนองเตย' ปลุกสกัดการเมืองขี้โกง

ช่วงเย็นวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา ที่บ้านเลขที่ 37/4 เทศบาล 5 ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประช

'นิพิฏฐ์' พบ 'ชวน' ปิดห้องถก 2 ชม. ลั่นหากถึงเวลาจะเอาประชาธิปัตย์กลับคืนมา

นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ต้อนรับนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ อดีตรองหัวหน้าพรรค ปชป. โดยได้ร่วมรับประธานอาหารมื้อกลางวันด้วยกัน ก่อนจะร่วมกันหารือภายในบ้านพัก โดยไม่เปิดให้ใครๆเข้าร่วมรับฟัง นานกว่า 2 ชั่วโมง

อดีตรองหัวหน้า ปชป. โพสต์ จะเหลือ 'คนรักประชาธิปัตย์' สักกี่คน?

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "จะเหลือ “คนรัก ปชป.” สักกี่คน?" ระบุว่าหลังจากกรรมการบริหารพรรค ปชป.มีมติให้เข้าร่วมรัฐบาล เสียงสะท้อนในโลกโซเชียลก็ดังกระหึ่ม ส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกันว่าไม่เห็นด้วย พร้อมบอกว่าเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่กาให้ ปชป.อีก พอกันทีกับ ปชป.