กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯแทนพระองค์ บวงสรวงอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9

"ในหลวง" โปรดเกล้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูป ร.9 เพื่อประดิษฐาน ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

10 ต.ค.2565 - เวลา 16.33 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง คณะกรรมการโครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เฝ้าทูลละอองพระบาท รับเสด็จ จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงคม ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย ทรงจุดเทียนทอง เทียนเงิน และธูป แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวย โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมแตร ดุริยางค์

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐานถวายเครื่องราชสักการะ ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ ที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย ทรงคม ทรงถือสายสูตรอัญเชิญพระบรมรูปขึ้นประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย ประโคมสังข์ แตร พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ดุริยางค์

จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ทรงวางพุ่มดอกไม้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุ่มดอกไม้ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พุ่มดอกไม้ของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี และพุ่มดอกไม้ส่วนพระองค์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ ทรงคม เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปลูกต้นจำปีสิรินธร จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เสร็จแล้ว ทรงคมที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์ สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำหรับเชิญไปประดิษฐาน ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสรนิกรชาวไทย โดยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

จากนั้นวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ส่วนพระเศียร) ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง และจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 13ตุลาคม 2565 สมพระเกียรติพระบรมรูป ร.9 มีความสูง 7.1 เมตร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

สำหรับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีขนาดความสูง 7.41 เมตร หรือขนาด 4 เท่าของพระองค์จริงทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักสวนจิตรดา ถนนศรีอยุธยา หล่อด้วยโลหะสำริด ฐานพระบรมรูปตั้งอยู่บนลานรูปไข่ ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นผังแปดเหลี่ยม ตามคติพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง 8 เหลี่ยมมีแผ่นจารึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อนำพาประเทศชาติอยู่ดีมีสุข อันก่อให้เกิดความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทยที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือน

คำจารึกทั้ง 8 ด้านประกอบด้วย ด้านทิศตะวันออกฉียงเหนือพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพ วันจันทร์ ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันอาทิตย์ ที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 เสด็จสวรรคต วันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2556 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดูลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวิโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี มาทรงประกอบพิธิเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันพฤหัสบคิ ที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2565

แผ่นจารึกที่ 2 ด้านทิศตะวันออก พระราชาผู้ทรงธรรม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ 'เราจะครองแผ่นเดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม' เมื่อวันที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษา เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย โดยสมบูรณ์ตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทรงหลั่งทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐานว่าจะทรง บำเพ็ญสรรพราชกรณียกิจด้วยทศพิธราชธรรม ตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกายและกำลังพระสติปัญญาเพื่อบำบัดทุกข์บำารุงสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์ สมดังพระราชปณิธานที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยไว้ทุกประการ

แผ่นจารึกที่3 ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ กลางใจราษฎร์ "ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้คือ การที่ได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้พเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง' พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องถิ่นทุรกันดารทั่วพระราชอาณาจักร ทำให้ทรงใกล้ชิดกับพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทรงเห็นถึงปัญหาความทุกข์ยากของราษฎร จึงทรงศึกษาหาวิธีแก้ไข นำมาซึ่งโครงการอันเนืองมาจากพระราชดำริกว่า 2,000โครงการ ด้วยทรงมุ่งหมายให้พสกนิกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การอุทิศพระองค์ทรงงานด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรตลอดรัชสมัย ก่อให้เกิดความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทยที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือน

แผ่นจารึกที่ 4 ด้านทิศใต้ ปราชญ์ของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นนักคิดและนักปฏิบัติ พระวิสัยทัศนี้ที่กว้างไกล อันเกิดจากการทรงงานหนักและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้ทรง เข้าใจ' (เข้าถึง' ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงทรงให้ความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ดิน และป่าไม้ ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำมาหาเลี้ยงชีพของราษฎร เกิดเป็นแนวพระราชดำริด้านการเกษตร 'การเกษตรตามหลักทฤษฎีใหม่' อันเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็ก ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังพระราชทานแนวพระราชดำริ "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง' เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยเน้นการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีคุณธรรม

แผ่นจารึกที่ 5 ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระภูมินทร์บริบาล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนา พระอัจฉริยภาพในศาสตร์แขนงต่างๆ ที่ทรงประยุกต์ใช้กับการพัฒนาประเทศทุกๆด้านของพระองค์ เปรียบประดุจเป็น 'พลังแห่งแผ่นดิน เป็น ภูมิคุ้มกัน"นำพาประเทศไปสู่ความมั่นคงและการพัฒนาที่ยั่งยืน พระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศ ครอบคลุมทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข การคมนาคม การชลประทาน การศึกษา เทคโนโลยี ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งการเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ

แผ่นจารึกที่ 6 ด้านทิศตะวันตก นวมินทร์โลกกล่าวขาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณ อาทิ อัครศิลปิน พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งฝนหลวง พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน นอกจากนี้ ได้มีการถวายพระนามด้วยความจงรักภักดี อาทิ กษัตริย์เกษตร กษัตริย์นักพัฒนา และกษัตริย์นักกีฬา พระเกียรติคุณของพระองค์ ไม่เพียงแต่เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ใจคนไทยทั้งชาติเท่านั้น หากแต่ยังปรากฎชัดต่อสายตานานาอารยประเทศอีกด้วย ทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลหลากหลายสาขาจากสถาบันและองค์กรต่างประเทศ เช่น (รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ ที่องค์การสหประชาชาติทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในฐานะที่ทรงเป็นนักคิด และทรงมีคุณปการต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นับเป็นเกียรติภูมิอันสูงสุดของประเทศชาติและชาวไทยทั้งปวง

แผ่นจารึกที่ 7 ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สืบสาน รักษา และต่อยอด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชจริยวัตรอันงดงาม ทรงเป็นต้นแบบแห่งความเพียรในการทำความดี และทรงอุทิศพระองค์เพื่อประทศชาติและประชาชน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงน้อมนำมาเป็นพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา และต่อยอด'ในการมุ่งมั่นทำความดีเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์และความวัฒนาสถาพรของประเทศชาติสืบไป

แผ่นจารึกที่ 8 ด้านทิศเหนือ บรมราชสดุดี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมนทารรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ขึ้นณ พื้นที่ซึ่งทรงอุทิศให้เป็นสวนสาธารณะ มีภูมิสถาปัตย์ตามแบบอย่าง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อถวายเป็นพระเกียรติยศให้ปรากฎแผ่ไพศาลสืบไปตลอดนิรันดร์กาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในหลวงพระราชทานอาหารกลางวันแก่ 3 สถานสงเคราะห์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติเจ้าฟ้าทีปังกรฯ

26 เม.ย.2567 - เวลา 08.23 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หน่วยราชการในพระองค์ เชิญอาหารพระราชทานไปพระราชทานเลี้ยง กับเชิญสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์

'ในหลวง' พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้นายกฯ บังคลาเทศ เฝ้าฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ เชค ฮาซีนา (Sheikh Hasina) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติปี 65

21 เม.ย.2567 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออกแทนพระองค์ ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร

'ในหลวง' ทอดพระเนตร 'พระราชินี' ทรงแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวจาก ชะอำ ถึง สัตหีบ

'ในหลวง'ทอดพระเนตร 'พระราชินี' ทรงแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวเส้นทางจากชะอำ จ.เพชรบุรี ถึงอ่าวเตยงาม สัตหีบ จ.ชลบุรี

ในหลวง พระราชินี เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธีสงกรานต์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธีสงกรานต์ ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ หอพระธาตุมณเฑียร และ