19 พ.ค.2566 - นายถวิล เปลี่ยนศรี สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า หลังทราบผลการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภา ก็มีการเคลื่อนไหวรวบรวมเสียงในรัฐสภา ให้เกินกึ่งหนึ่งของเสียงรวมกันในรัฐสภา คือ 376 เสียง และมีเสียงเรียกร้องความชัดเจน จากเสียงของสมาชิกวฺฒิสภาว่าจะโหวตสนับสนุนหรือไม่
มีผู้สื่อข่าวที่สนใจประเด็นนี้ ได้สอบถามมาที่ผมหลายท่าน ซึ่งส่วนใหญ่ผมได้ปฏิเสธไป เพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะพูด หรือตัดสินใจเรื่องนี้ แต่กระนั้นก็ยังมีเสียงสอบถามท่าที ความเห็นผมเข้ามาเรื่อยๆ ผมจึงตัดสินใจแสดงท่าทีเรื่องนี้ ให้ชัดเจน เสียที่นี่ ดังต่อไปนี้ ครับ
เวลาผมจะไปลงคะแนนเสียง หรือลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี นั้น
ประการแรก ผมทำตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด ถ้ารัฐธรรมนูญไม่กำหนด ผมก็ไม่ไปทำภารกิจนี้
ประการที่สอง จำเป็นหรือไม่ที่ผมต้องโหวตให้เป็นไปตามเสียงของ ส.ส.ส่วนใหญ่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่จำเป็น เพราะ ถ้าต้องโหวตตาม ก็ไม่ต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญ ให้ผม ส.ว.ไปโหวตด้วย
แต่นี่ ไม่ได้หมายความว่า ผมจะโหวตสวน หรือไม่เหมือน ส.ส. ส่วนใหญ่นะ แต่หมายความว่า อาจเหมือนหรือไม่เหมือนก็ได้ เพียงแต่อย่ามัดมือมัดเท้าผม ขอให้เป็นการตัดสินใจของผมได้มั้ย
ประการที่ สาม ภารกิจนี้ ผมถือเป็นหน้าที่ ไม่ใช่สิทธิ์ สิทธิ์ใช้ยังไงก็ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของเรา กระทบเราเป็นหลัก แต่หน้าที่นี่ต้องทำให้ดีที่สุด เพราะเป็นหน้าที่ต่อคนอื่น ทำให้คนอื่น ซึ่งในที่นี้คือ ประเทศ และ ประชาชนทั้งประเทศ เพราะเขาต้องเป็นนายกรัฐมนตรีของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะประชาชนที่เลือกเขา ดังนั้นต้องทำให้ดีให้เหมาะสมถูกต้องที่สุด
ประการที่ สี่ เวลาไปโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี นั้น ผมหมายความอย่างนั้นจริงๆ คือไม่ได้ไปดูว่าเขาป๊อบปูล่าแค่ไหน ได้เสียงมากน้อยแค่ไหน แต่ไปดูว่าเขาจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีได้หรือไม่ มีภาวะผู้นำ มีความคิด วิสัยทัศน์ และนโยบาย และแนวทางในการบริหารอย่างไร จะนำพาชาติบ้านเมืองไปได้ หรือไม่
ถ้ามีคู่แข่ง ผมก็เปรียบเทียบกับคู่แข่ง แล้วก็ตัดสินใจไปตามหลักการนั้น
ก็ขออนุญาต ให้ความเห็นที่ผมจะใช้ในการตัดสินใจ เมื่อเวลาถึงครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส.ว.ปลุก‘รัฐบาลแห่งชาติ’
"เสรี" เชื่อ "พิธา" ตั้ง 7 คณะทำงานเป็นกระบวนการสร้างมวลชนกดดัน
คำวินิจฉัยศาล รธน.ไหน? ทำ "นายกฯ ป้ายส้ม" ตกเก้าอี้
ฉากโชว์หวานของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล ที่พยายามจะผลักให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลได้เป็นนายกฯ ป้ายส้มได้สำเร็จ จะเป็นจริงหรือแค่ความฝันหรือไม่
'พิธา' สวน 'วิษณุ' ปมถือหุ้นไอทีวี ปัดตั้ง ครม.เงา ซ่อนรูปคณะเปลี่ยนผ่านรัฐบาล
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนายพิธา ว่าหากขาดคุณสมบัติตามกฏหมายปมถือหุ้นไอทีวีก็อาจจะส่งผลให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมทั้งประเทศ
'ก้าวไกล' ถกหอการค้าไทย หวังจัดตั้งรัฐบาลได้เร็ว ชี้นโยบายตรงกันและมาถูกทาง
"พิธา" เผยคุย "หอการค้าไทย" เห็นตรงกัน แนวทางสอดคล้อง ย้ำต้องจับเข่าคุยเรื่องค่าแรง 450 บาท พยายามรักษากรอบเวลา 100 วันแรก ด้าน"ประธานหอการค้า" สบายใจหลังแลกเปลี่ยน หวังจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จโดยเร็ว
นายกฯ ยืนยันไม่มีหน่วยงานรัฐเชิญ 'พิธา' ไปหารือ ต้องถามข้าราชการ ใครพูดอะไรอย่าเชื่อหมด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 5/2566 ว่า ไม่ได้มีการสั่งให้ดูแลอะไรเป็นพิเศษ เพราะเขามีหน้าที่ตามกฏหมายอยู่แล้ว
'ตัวเต็งขุนคลัง' แจงปมวิจารณ์สนั่นอ่อนหัด สวนกลับให้ดูอภิปรายในสภาฯ อย่าตัดสินที่อายุ-ประสบการณ์
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมหารือระหว่าง หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และพรรคก้าวไกล ถึงกรณีที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์