'ส.ว.กิตติศักดิ์' ยัน ไม่โหวตให้ 'พิธา' ล้านเปอร์เซ็นต์ มองเกมก้าวไกลต้องแก้ม.112 'ไม่แก้ เดี๋ยวไม่มีกู'

แม้ไม่ได้อยู่ใน MOU แต่จะยื่นเสนอเข้ามาในสภา ซึ่งผมเห็นว่า เป็นปัญหาของนายพิธา และพรรคก้าวไกล เพราะไปหาเสียง ดังนั้น ไม่ทำก็ไม่ได้ ไม่แก้ก็ไม่ได้เดี๋ยวไม่แก้ เดี๋ยวไม่มีกู”

23 พ.ค.2566- ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา (ส.ว.) สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน 1.ให้ความเห็นชอบบุคคลได้รับการเสนอชื่อ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปรับรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 2.ให้ความเห็นชอบบุคคลได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 3.ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ 4.ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป.ป.ช.

ทั้งนี้ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม โดยได้ย้ำจุดยืนการโหวตนายกรัฐมนตรีว่าคำไหนคำนั้น โดยเหตุผลที่ไม่เลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เพราะมีการแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดความขัดแย้ง และนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง และเข่นฆ่าคนไทยด้วยกัน จึงไม่เห็นสมควรที่จะให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อถามว่า วันนี้มีกลุ่มผู้ชุมนุมมากดดันให้ ส.ว.โหวตนายพิธา เป็นนายกฯ กังวลหรือไม่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ทราบเบื้องต้นว่ากลุ่มที่มาชุมนุมวันนี้มาด้วยความมิตรไมตรี เจตนาเพื่อมาแจ้งให้ ส.ว.รับทราบว่าต้องการอะไร ตนเห็นว่า เป็นสีสันของประชาธิปไตยในการที่เห็นต่างหรือผู้ที่มาประท้วง ซึ่งไม่ใช่ปัญหา โดยตนเห็นว่า ถ้าหากมีการพูดจากันดีๆก็ไม่ใช่ปัญหา แต่ถ้าจะมาข่มขู่กดดันนั้นไม่มีผล

ส่วนที่พรรคก้าวไกลพยายามชี้แจงเกี่ยวกับการแก้ไข ม.112 หลายช่องทาง จะไม่เป็นผลในการตัดสินใจเรื่องการโหวตนายกฯเลยหรือไม่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่า เป็นการชี้เจตนาที่นายพิธาและพรรคก้าวไกลไปยุ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นทูตอเมริกามายุ่งเกี่ยวก้าวก่ายหรือเร่งรัดการเลือกตั้งของไทย ซึ่งโดยกติกามารยาทระหว่างประเทศ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

ถามว่า เรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ที่ไม่ได้ใส่ลงไปใน MOU ก็ยังรับไม่ได้ใช่หรือไม่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า แล้วมีความจำเป็นอย่างไร ตนฟังในการแถลง MOU เมื่อวานนี้ (22 พ.ค.) นายพิธา ยืนยันแม้ไม่ได้อยู่ใน MOU แต่จะยื่นเสนอเข้ามาในสภา ซึ่งตนเห็นว่า เป็นปัญหาของนายพิธา และพรรคก้าวไกล เพราะไปหาเสียง ดังนั้น ไม่ทำก็ไม่ได้ ไม่แก้ก็ไม่ได้เดี๋ยวไม่แก้ เดี๋ยวไม่มีกู” ฉะนั้น สร้างปัญหาเองก็ต้องไปแก้ปัญหาเอง เราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติก็ต้องกลั่นกรอง ฉะนั้นเราต้องพิจารณาคนที่มานำพวกเรา ส่วนตัวยืนยันล้านเปอร์เซ็นต์ กิตติศักดิ์ ไม่โหวตให้นายพิธา

เมื่อถามว่า ม.112 ไม่ได้ระบุใน MOU และอาจไม่ผ่านในสภาก็ได้ จะไม่นำมาพิจารณาในการตัดสินใจโหวตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ตนมีหลักว่า การเมืองให้อยู่ในการเมือง

“คุณจะด่าใคร ด่าลุงด่าป้าด่าน้าด่าอา ผมไม่ว่า แต่ถ้าเลยขอบเขตไปแตะเบื้องสูง กิตติศักดิ์ไม่ยอมครับ” นายกิตติศักดิ์ กล่าว

เมื่อถามว่า มีส.ว.หลายคนหรือไม่ที่คิดแบบนี้ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ ส.ว.แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ สนับสนุนนาวพิธา ตามระบบกลไกของประชาธิปไตย อีกกลุ่มคืองดออกเสียง ซึ่งทั้งสองกลุ่มวัดได้ว่างดออกเสียงมากกว่า

ซัก กลุ่มที่งดออกเสียงเกิน 150 เสียงหรือไม่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ไม่บอกตัวเลขดีกว่า

ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มที่ไม่โหวตให้กับนายพิธามีจำนวนเท่าไหร่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ไม่มี เมื่อก่อนนี้ จะมีเห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง แต่ปัจจุบันเหลือแค่สนับสนุนนายพิธา และงดออกเสียง

ถามว่า แสดงว่านายกิตติศักดิ์จะอยู่ในกลุ่มงดออกเสียงใช่หรือไม่ นายกันติศักดิ์ ปฏิเสธว่าไม่ เพราะยืนยันแล้วว่า ไม่สนับสนุน ฉะนั้น ก็คือไม่เห็นชอบเพียงคนเดียว ส่วนจะมีคนอื่นตามหรือไม่ ไม่ทราบ

เมื่อถามว่า ไม่กลัวสังคมกดดันใช่หรือไม่ นายกิตติศักดิ์ ระบุว่าสักวันหนึ่งกิตติศักดิ์จากโลกนี้ไปแล้ว ลูกหลานอาจจะนึกถึงก็ได้ ว่านายกิตติศักดิ์ตัดสินใจถูก

เมื่อถามว่า แล้วกลุ่มชาวนาเห็นด้วยกับนายกิตติศักดิ์หรือไม่ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ไม่บังอาจไปคิด แต่คนที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไม่เอาด้วยอย่างแน่นอน จะเห็นว่า การสนับสนุนให้กำลังใจตน มาจากทั่วประเทศ แต่ตนบอกว่า เราคนไทยด้วยกันไม่ควรทะเลาะฆ่ากันเอง เพราะฉะนั้นตนไม่สนับสนุนให้มีม็อบ

ซักว่า พรรคก้าวไกลได้ส่งคณะเจรจามาพูดคุยกับนายกิตติศักดิ์หรือไม่ นายกิตติศักดิ์กล่าวว่า ส่วนตัวไม่มีใครมาพูดคุยเจรจากับตนเอง อาจจะเป็นเพราะตนเป็น ส.ว.ตัวเล็กๆคนหนึ่ง แต่จะคุยกับ ส.ว.ผู้ใหญ่หรือไม่ก็ไม่ทราบ และในวันนี้ก็ไม่ได้มีการพูดคุยกันนอกกรอบในกลุ่มของ ส.ว.แต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศที่อาคารรัฐสภา มาตรการรักษาความปลอดภัยค่อนข้างเข้มงวด บุคคลที่เข้า – ออก ภายในอาคารฝั่งวุฒิสภา จะต้องมีบัตรประจำตัวบุคลากรของรัฐสภา ขณะที่การทำงานของสื่อมวลชนในวันนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของวุฒิสภาแจ้งให้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติในติดตามการทำข่าวการประชุมวุฒิสภา ในวันนี้ (23 พ.ค.) ว่า ให้ใช้พื้นที่บริเวณ ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) เท่านั้น ซึ่งการสัมภาษณ์หรือทำข่าวต่างๆ สามารถเข้าเก็บภาพหรือทำข่าวในห้องประชุมวุฒิสภา ณ ห้องทำข่าวสื่อมวลชน ชั้น 3 ได้ตามปกติ แต่ไม่อนุญาตให้เข้าบริเวณชั้น 2 อาคารรัฐสภา (ฝั่ง สว.) โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้ามาประจำการที่อาคารรัฐสภา ในช่วงบ่าย จำนวน 4 กองร้อย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค้าน ‘VAT’15% ‘พิธา’ สอน ‘อิ๊งค์’ ต้องปฏิรูปภาษี

"พิธา" แนะรัฐบาลปฏิรูปภาษีทั้งระบบ ดีกว่าเจาะจงที่แวต ถามตัวเลข 15% มาจากไหนไม่เข้าใจ ด้านประธานหอการค้าขอนแก่นระบุการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มควรขึ้นไม่เกิน 10%

'พิธา' แนะรัฐบาลปฏิรูปภาษีทั้งระบบ มากกว่าปรับขึ้น VAT 15% สงสัยอยู่ดีๆก็โพล่งมา

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวรัฐบาลมีแนวคิดขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15% ว่า ภาษีในประเทศ มีทั้งภาษีทางตรง

'พิธา' ลุยช่วยหาเสียงเลือกนายก อบจ.อุบลฯ หวังเป็นตาอยู่ ศึก 2 ขั้วใหญ่ชนกันเอง

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ลงพื้นที่ช่วยนายสิทธิพล เลาหะวนิช ผู้สมัครนายก อบจ.อุบลราชธานี

'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย

เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้