'หม่อมปลื้ม' ออกบทความ 'เเบงก์ชาติไม่ใช่ปัญหา'

ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ( หม่อมปลื้ม )พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ออกบทความเรื่อง “เเบงก์ชาติไม่ใช่ปัญหา” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เเบงก์มีกำไรสะท้อนสถาบันการเงินเเข็งเเกร่ง สื่อเเละนักการเมืองที่หาเสียงกับเรื่องนี้ควรย้อนดูธรรมาภิบาลในอุตสาหกรรมของตนเอง มันคนละเกรด

หนึ่งในเหตุผลอันดับต้นๆที่เศรษฐกิจไทยเจออุปสรรคในการเติบโตก็คือเเทบจะทุกอุตสาหกรรมถูกกำกับดูเเล หรือถูก Over-Regulated โดยหน่วยงานรัฐ

กฏเเละข้อห้ามนานาประเภทที่บรรจุผ่านการออกพ.ร.บ.เเละกฏกระทรวงเเต่ละฉบับคือ Red Tape ที่ล้วนเเล้วเเต่สร้างปัญหากดทับสปิริตในการลงทุนลงเเรงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

กฏหมายมีมากขึ้นเท่าไร เสรีภาพของผู้ประกอบการเเละประชาชน ปัจเจกบุคคล ก็ลดลงเท่านั้น กติกาใหม่ๆ มักเป็นโซ่ตรวนที่สร้างอุปสรรคต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เเละการเจริญเติบโตของสังคมเเละเศรษฐกิจ เเบงก์มีรายได้สูงไม่ใช่ปัญหา การมองว่ากำไรของสถาบันการเงินเป็นปัญหานั่นนะเเหล่ะคือมุมมองเเบบสังคมนิยมซึ่งเป็นปัญหาเเละคือการเข้าใจระบบเศรษฐกิจทุนนิยมผิด ในทุกวันนี้อุตสาหกรรมการเงินมีการเเข่งขันสูง ไม่ใช่ต่ำ ในขณะเดียวกันมีการกำกับดูเเลที่มีคุณภาพ โดยที่ในเวลาเดียวกันเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เอื้อให้เอกชนมีนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอสำหรับผู้บริโภค ลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารเเละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ ปัญหาในระบบเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ที่ภาคการเงินเลยเเม้เเต่นิดในวันนี้

เเบงก์พาณิชย์แข็งแกร่งสะท้อนการกำกับดูแลที่มีคุณภาพโดยธปท. เป็นสิ่งที่ควรได้รับการชมเชยจากทั้งสื่อมวลชน พิธีกร นักเล่าข่าววิเคราะห์ข่าวรวมถึงนักการเมืองตั้งเเต่ส.ส.ฝ่ายค้านยันรมต.ยันนายกฯ

สำหรับคนที่อยู่แบบ Paycheck-to-Paycheck การที่เเบงก์เเข็งเเกร่งมีเสถียรภาพคือความเเน่นอนในการออมเงินเเละลงทุน มันเป็นสิ่งที่ควรทำให้ผู้ฝากเงินเเละนักลงทุนมั่นใจมากยิ่งขึ้น อุ่นใจได้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจมหาภาคเเข็งเเรง

ยิ่งธนาคารพานิชย์มีรายได้ดี สถาบันการเงินแข็งแกร่งยิ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารเเบงก์พานิชย์เเละผู้ว่าการธนาคารกลางควรได้รับการยกย่องจาก Stake-Holders ทุกฝ่าย

สถาบันการเงินพาณิชย์เอกชนส่วนใหญ่มีผู้บริหารที่ดี เก่งเเละธรรมาภิบาลสูง

ธนาคารได้รับการตรวจสอบเเละกำกับอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานธนาคารเเห่งประเทศไทยเเละกฏกติกาสากล

สื่อและการเมืองมากกว่าคือ Sectors ที่มีปัญหา สร้างความเเตกเยกในสังคมโดยความถนัดในการยุเเยงให้ผู้ซึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจโทษเเพะรับบาปที่ถูกตีตราว่าผิดเพราะเพียงบริหารได้ดีมีกำไร การโหนความเหลื่อมล้ำเพื่อคะเเนนโหวตเเละตัณหาทางยอดวิวนำมาสู่การหาเรื่อง โยนบาปเรื่องปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจไปที่ผู้บริหารเแบงก์เเละผู้กำกับดูเเลธนาคาร

อยากชวนประชนชนเเละสื่อเเละนักการเมืองซึ่งนั่งหาเสียงด้วยการด่าเเบงก์อยู่ให้ดูคุณภาพของธรรมาภิบาลในภาคสื่อสารมวลชนเเละภาคการเมืองเเล้วเปรียบเทียบ เเล้วจะได้เข้าใจว่ามันคนละเบอร์กับธรรมาภิบาลในอุตสาหกรรมสถาบันการเงิน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปชป. วิกฤต! ถดถอยสู่พรรคระดับจังหวัด เจอทุนนิยมครอบ

ปชป. อุดมการณ์สั่นคลอน! จากระดับชาติสู่พรรคระดับจังหวัด เลือกตั้งครั้งหน้าได้ไม่เกิน 15 เสียง แฟนคลับป่วนหนักหลัง 'อภิสิทธิ์' ลาออก จับตา! ซบ ครม.เพื่อไทย

'คุณปลื้ม' ประณาม 'Influencers' ในคราบกูรูปลอม ปั่นความขัดเเย้ง ทำลายความสามัคคีในชาติ

'คุณปลื้ม' ประณาม 'Influencers' ในคราบของ กูรูปลอม ใช้ความเหลื่อมล้ำ ปั่นความขัดเเย้ง บ่มเพาะความเกลียดชัง เพื่อหาประโยชน์ เป็นผู้ทำลายความสามัคคีในประเทศชาติที่เเท้จริง สื่อกระเเสหลัก นักการเมือง ไม่ใช่ปัญหาเทียบเท่า