"ชุมชนป่าภูถ้ำ" จากแล้งสุดในอีสาน สู่ต้นแบบทางรอด


เพิ่มเพื่อน    


จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดใหญ่ และเป็นประตูสู่อีสาน ที่มีพื้นที่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ ด้วยขนาด 6.8 ล้านไร่ และมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น รวมไปถึงการเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งการศึกษา เทคโนโลยี การคมนาคม มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ประเพณี และธรรมชาติอันสวยงาม ทำให้เมืองแห่งนี้การเป็นหนึ่งในทำเลทองของภาคอีสาน มีนักลงทุนมาทำธุรกิจเกิดขึ้นมากมาย

แต่ถึงอย่างนั้นขอนแก่นก็ยังต้องแบกรับปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ที่ต้องประสบทุกปี เกือบทั้ง 26 อำเภอ โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ที่ได้รับการกล่าวขานว่า แล้งที่สุด ฝนตกน้องที่สุดในภาคอีสาน  หรือแล้ง 4ปี ฝนดี 2ปี  สลับกัน ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากมานานกว่า 40  ไม่สามารถทำการเกษตรได้ คนหนุ่มคนสาวต่างอพยพไปรับจ้างขายแรงงานต่างถิ่น โอกาสที่ครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันก็เฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา และออกพรรษาเท่านั้น

ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะพื้นที่ของชุมชนมีความสูงต่ำเป็นลอนคลื่น ป่าไม้ถูกทำลาย เมื่อฝนตกลงมาห้วย หรือคลองที่อยู่สูงก็ไม่สามารถที่จะดักน้ำไว้ได้ น้ำส่วนใหญ่จึงไหลหลากลงสู่ห้วยในพื้นที่ต่ำกักเก็บไว้ได้ก็ไม่พอใช้  


"ช่วงแล้งที่สุด คนในหมู่บ้านกว่า 300 คน ต้องยืนต่อคิวอาบน้ำในบ่อน้ำบ่อเดียวกัน ส่วนน้ำดื่มต้องตื่นตั้งแต่ตี 2 ตี 3 ไปตักน้ำในบ่อน้ำตื้นใกล้ป่าภูถ้ำ เราอยู่ไม่ได้ต้องอพยพไปรับจ้างต่างจังหวัด คิดว่าไปกรุงเทพฯ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นเหมือนเมืองสวรรค์ ผมไปอยู่กรุงเทพฯ 28 วัน มันไม่ใช่สวรรค์เป็นนรก เราเป็นเหมือนเขียดที่คลุกดินทรายกำลังจะดิ้นตาย มันทรมาน ซึ่งสิ่งที่เราไปเห็นทำให้รู้ว่าบ้านเราเป็นสวรรค์"นายพิชาญ ทิพวงษ์ ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต สะท้อนภาพความแล้งน้ำของชุมชนในอดีต
ขาวบ้านใช้เวลา   4 ปี แก้ปัญหา ด้วยการขุดคลองที่ลอนคลื่นต่ำหรือลำห้วยที่มีอยู่เดิม เพื่อให้น้ำไหลไปรวมกันที่ต่ำหมด  หลังจากนั้นใช้วิธีการสูบ เมื่อจะนำน้ำมาไปใช้ในพื้นที่สูง แต่ก็ยังทำให้ต้นทุนการอุปโภคบริโภคน้ำ และทำการเกษตรอยู่ในระดับสูง


พิชาญเล่าอีกว่า จากปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุให้ชาวบ้านทั้ง 15 ชุมชน ในอ.แวงน้อย เริ่มหันมาศึกษาการบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง ภายใต้กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าป่าภูถ้ำ ภูกระแต และได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต ขึ้นในปี 2553  โดยพิชาญ  รับหน้าที่เป็นประธาน  ศึกษาเก็บข้อมูลร่วมกับชาวบ้าน เริ่มต้นด้วยการรักษาป่าต้นน้ำ ที่เหลือเพียง 2,800 ไร่ จาก 5,000 ไร่ เนื่องจากการบุกรุกของนายทุนนอกพื้นที่ ที่เข้าไปส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกอ้อย ส่งผลเกิดการบุกรุกถางป่า ทำให้ผืนป่าลดลง ขาวบ้านจึงหันมารักษาป่า เพื่อให้ป่ามีสภาพที่สมบูรณ์  สามารถเข้าไปหาของป่า หรือนำวัวไปกินหญ้าได้ แต่จุดประสงค์สำคัญคือ ต้องการให้ป่าช่วยชะลอน้ำไม่ให้น้ำแล้งใมนหน้าแล้ง  หรือในฤดูฝนช่วยไม่ให้น้ำหลากท่วมพื้นที่  แต่แม้จะพยายามอนุรักษ์ป่าที่เหลืออยู่ 2,800 ไร่  แต่ชุมชนก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาดีนัก เพราะบางปียังประสบความแห้งแล้ง หรือน้ำท่วมอยู่อีก

.คลองไส้ไก่ที่ชาวบ้านสละที่ดินบางส่วนของตนเพื่อให้น้ำไหลผ่าน


"พื้นฐานเดิม ป่าภูถ้ำ ภูกระแต เป็นผืนป่าสำคัญของชุมชน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูระงำตอนล่าง ปาที่นี่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง หรือป่าโคก เป็นป่าต้นน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำชีทางด้านทิศตะวันตก คนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง ใช้ป่านี้ในการเลี้ยงโค กระบือ เก็บหาของป่า เช่น เห็ด กระเจียว อีลอก ผักหวาน ผักติ้ว แย้ เป็นต้น และมีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดอีกด้วย ดังนั้นแม้ว่าเราจะดูแลให้ป่าที่เหลือ 2,800 ไร่กลับมาสมบูรณ์ แต่ก็ยังประสบกับความแห้งแล้งเหมือนเดิม "พิชาญเล่า

อีกมุมของคลองใส้ไใก่



ต่อมาในปี 2554 ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร  (สสนก.) ได้คัดเลือกให้"ชุมชนป่าภูถ้ำ "เป็นหนึ่งในชุมชนเครือข่ายบริหารจัดการน้ำ และเข้าร่วมฝึกอบรมเรียนรู้การทำผังน้ำ การสำรวจข้อมูลน้ำ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ให้มีการกักเก็บน้ำใช้ได้เพียงพอ รวมไปถึงการสนับสนุนชุมชนในการแก้ปัญหาน้ำโดยอาศัยโมเดล เลิกแล้ง เลิกจน  ของ"เอสซีจี" ที่ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และภาคีเครือข่าย ในการพัฒนา  โดยเอสซีจีและมูลนิธิอุทกพัฒน์  ยกให้ชุมชนแห่งนี้ เป็นพื้นที่ต้นแบบในการแก้ปัญหาแล้งซ้ำซาก สามารถพึงพาตนเองได้ มีความรู้ทางด้านการตลาด แปรรูปผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่ม มีรายได้ที่มั่นคง ชุมชนยั่งยืน

พิชาญ  ทิพย์วงษฺ  อธิบายความแห้งแล้งของชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต และบอกเล่าการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการเเก้ปัญหาภัยเเล้ง

 

"ผมมีโอกาสได้เจอกับ ดร.รอยล จิตรดอน ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสน. อาจารย์ตั้งคำถามที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เพราะเมื่อก่อนชาวบ้านเป็นนักร้อง เรียกร้องตรงนั้นตรงนี้ คัดค้านโครงการนั้นโครงการนี้ อาจารย์จึงทิ้งคำถามไว้ว่า หากคิดว่าสิ่งที่มีอยู่ไม่ดีพอ แล้วเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร จึงทำให้เรากลับมาคิดภายใต้โจทย์ใหญ่ของชุมชน ว่าเราจะหาทางเก็บน้ำ 2 ปีให้ข้ามแล้ง 4 ปีได้อย่างไร”

 

พิชาญ  ทิพย์วงษฺ  อธิบายความแห้งแล้งของชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต

ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการเเก้ไขปัญหาร่วมกัน

หลังจากนั้น พิขาญ  ได้อบรมความรู้ในการบริหารจัดการน้ำและการใช้เครื่อง มื่อกับ  สสนก. และรู้จักใช้เครื่อง GPS แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม โปรแกรม QGIS ใช้สำรวจโครงสร้างแหล่งน้ำ สถานะแหล่งน้ำ ทางน้ำธรรมชาติ และความต้องการใช้น้ำ ทราบค่าระดับความสูงต่ำ เกิดเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำแล้งบนพื้นที่สูงลอนคลื่น อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถทราบทิศทางการไหลของน้ำและการจัดการน้ำ จากเดิมฝนตกน้ำหลากไหลลงแม่น้ำชี ต้องให้ภาครัฐสูบน้ำมาให้ใช้ จึงได้มีการทำคลองฟ้าประทานชล คลองดักน้ำหลากเมื่อฝนตก เพื่อให้น้ำไหลลงสู่แหล่งกักเก็บน้ำหลัก 2 แห่ง คือ หนองผักหวาน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และหนองฝายบ้าน แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค  


สภาพความแห้งแล้งในอดีต


  เมื่อได้องค์ความรู้การจัดการน้ำแล้ว พิชาญ บอกว่า ได้เริ่มดำเนินการวางแผน เมื่อฝนตกปกติในช่วงเดือนเมษยน-ตลาคม จึงทำการเก็บน้ำ และมีน้ำเก็บตั้งแต่ปี 2559-2560     และน้ำพอใช้ไปถึง  4 ปี ข้างหน้า (2561-2564)  ซึ่งขณะนี้น้ำเหลือประมาณ 3,000-4,000 ลบ.ม. อาจจะน้อยเพราะเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว  เมื่อฝนตกลงน้ำจะถูกดักไว้ด้วยคลองฟ้าประทานชล ก่อนน้ำจะไหลไปตามคลองไส้ไก่ที่ชาวบ้านได้บริจาคพื้นที่บางส่วนให้น้ำไหลผ่าน และสามารถเก็บน้ำทำเกษตรได้ด้วย ก่อนไหลลงสู่หนองผักหวานที่สูงจากน้ำทะเลประมาณ 214 ม.รทก. ก็คือสระแก้มลิง จากเดิมที่เก็บน้ำได้ 25,000 ลบ.ม. ใช้สำรองทำข้าวนาปีได้เพียง 20 ไร่ ปัจจุบันสามารถเก็บน้ำได้ 80,000 ลบ.ม. ใช้สำรองทำข้าวนาปีจากฝนทิ้งช่วงได้ถึง 300 ไร่   อีกส่วนจะไหลไปยังหนองฝายบ้านซึ่งอยู่ในระดับต่ำ สูงจากน้ำทะเลเพียง 202 ม.รทก.  จากเดิมกักเก็บน้ำได้ 20,000 ลบ.ม. ใช้น้ำปีละ 9,000 ลบ.ม. สำหรับ 75 ครัวเรือน ในปัจจุบันสามารถเก็บน้ำได้ 90,000 ลบ.ม. สำรองใช้ได้ประมาณ 5 ปี

พิชาญ ชี้อีกว่าน้ำจะเก็บได้มากน้อยแค่ไหน ยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมฝนแต่ละปีด้วย เพราะปกติฝนจะตกเดือนละครั้ง แต่ถ้าตกแบบพรำๆ ก็กักเก็บน้ำได้น้อย แต่หากฝนดีตกหนักติดต่อกัน 1 สัปดาห์   ก็สามารถจะกักเก็บน้ำได้เยอะประมาณ 200 มิลลิเมตร

พิพิธภัณฑ์บริหารจัดการน้ำชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต

 


"การดำเนินงานที่ทำให้เราเห็นผลในช่วง 4 ปี ยังมีจุดที่ต้องดำเนินการแก้ไข คือที่ หนองฝายบ้าน มีน้ำไม่เพียงพอใช้ ซึ่งเกิดจากการคำนวนสมดุลน้ำที่คาดเคลื่อน คือ คำนวนเพียงน้ำสำหรับไว้ใช้ ไม่ได้คำนวนน้ำที่สูญเสียคือน้ำที่ซึมลงใต้ดินหรือเกิดจากการระเหย ดังนั้นน้ำที่สำรองได้ 90,000 ลบ.ม. สามารถใช้ได้เพียง 3  ปีกว่าเท่านั้น ในความจริงน้ำที่ต้องสำรองคือ 120,000 ลบ.ม. ซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม "

ชาวบ้านปรับตัวในสวนนอกจากพืชผัก ก็ยังมีบ่อเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงกบ


บทเรียนจากผลสำเร็จที่เกิดขึ้น พิชาญ บอกว่า นอกจากทำให้ชุมชนมีน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง เกษตรกรยังได้เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เพราะปกติชาวบ้านจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว จึงนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดรูปที่ดินเพื่อให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น เช่น มีการสำรวจพื้นที่เพื่อวางผังแปลง ในพื้นที่ต่ำก็ขุดสระเก็บน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการในรอบการผลิต ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 200,000 บาทต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับพื้นที่ 1 ไร่เท่ากันในรอบปีการผลิต ปัจจุบันมีเกษตรกรที่เปลี่ยนวิถีการผลิตจำนวน 68 ราย มีรายได้จากผลผลิตรวมประมาณ 12 ล้านบาทต่อปี และในอนาคตก็มีแผนที่จะสร้างหนองกักเก็บน้ำเพิ่มอีก 2 หนอง ที่สามารถกักเก็บน้ำได้ 90,000  ลบ.ม. และติดตั้งระบบกรองน้ำด้วย และพร้อมจะขยายผลความคิด และวิธีการนี้ ไปช่วยเหลือชุมชนใกล้เคียงด้วย

คำมี ปุ้งโพธิ์ เกษตรกรที่หันมาปลูกพืชผสมผสานพร้อมจัดพื้นที่สำรองน้ำ



เกษตรกรที่มีความพึงพอใจในการบริหารจัดการน้ำของชุมชน  นายคำมี ปุ้งโพธิ์  บอกว่า ก่อนหน้านี้ปลูกมันเพียงอย่างเดียว ใช้แหล่งน้ำธรรมชาติที่มาตามฤดูกาล ประสบปัญหาบางปีไม่มีฝน เจอน้ำแล้งหนักมาก ต่อมาได้เข้าร่วมโครงการและเห็นว่ามีประโยชน์จึงได้มีการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับพื้นที่ นอกจากแปลงที่ไว้ทำนา ก็ยังมีการปลูกพืชผสมผสาน เช่น ผักหวาน ผักสวนครัว ผลไม้ต่างๆ และมีการเสริมระบบสำรองน้ำด้วยสระและถังสำรองน้ำ เพื่อกระจายน้ำภายในแปลง ทำให้สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนลงได้ 30,000 บาท/ปี มีรายได้เพิ่มขึ้น 200,000 บาท/ปี  

สร้างรายได้จากผลผลิตการเกษตร



“เราต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงแม้เป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้มาก่อน เมื่อมีน้ำก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ผู้คนในท้องถิ่นไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นไปหางานในเมืองใหญ่ ดินบ้านเราอาจไม่ดี แต่ลองเปลี่ยนใหม่ว่า ดีแล้วที่มีดิน ดีแล้วที่มีน้ำ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะบริหารจัดการสิ่งที่มีอยู่อย่างไร ให้เกิดผลสำเร็จ ผมคิดว่าบ้านเป็นฐานที่มั่นที่อบอุ่นและมีความสุขที่สุด อย่างโควิดอยู่ที่นี่ไม่อดตาย เข้าไปทุ่งนาเข้าสวนก็ได้กินแล้ว เราต้องภาคภูมิใจในสิ่งที่มีอยู่ชุมชนที่ยังไม่รู้จักจัดการตัวเอง อย่ารอคนอื่นมาแก้ไขปัญหา เมื่อน้ำคือชีวิต ทุกคนต้องการน้ำ เราต้องลุกขึ้นมาร่วมมือกันเรียนรู้ เพื่อที่จะรอดแล้งด้วยการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม สร้างป่าต้นน้ำให้มีความเขียวชอุ่ม แม้ในฤดูแล้ง” พิชาญทิ้งท้าย

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"