ชมคลิป เฮลิคอปเตอร์จิ๋วของนาซาบินบนดาวอังคาร


เพิ่มเพื่อน    

ภาพ NASA

    องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐเผยแพร่ภาพถ่ายและวิดีโอที่ถ่ายโดยอากาศยานปีกหมุนหรือเฮลิคอปเตอร์ลำจิ๋วน้ำหนัก 1.8 กิโลกรัมลำนี้ และภาพจากยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนซ์ ที่ถูกส่งไปลงจอดบนดาวอังคารเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เพื่อค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตระดับจุลชีพในอดีต  

    อินจินิวอิตีมีน้ำหนัก 1.8 กิโลกรัมถูกติดตั้งไว้ใต้ท้องของเพอร์เซเวียแรนซ์ และถูกหย่อนลงที่ "ลานบิน" เมื่อวันที่ 3 เมษายน วันที่ทำการบินนี้ตรงกับวันดาวอังคารวันที่ 16 จาก 30 วันดาวอังคาร (เท่ากับ 31 วันบนโลก) ที่เป็นหน้าต่างเปิดสำหรับการบิน โดยเดิมนั้นภารกิจการบินเที่ยวแรกของอินจินิวอิตีกำหนดไว้วันที่ 11 เมษายนแต่มีปัญหาด้านซอฟท์แวร์ นาซาทำการแก้ไขและสั่งให้อินจินิวอิตีขึ้นบินในวันจันทร์ที่ผ่านมา

    รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า อินจินิวอิตีเริ่มบินขึ้นจากพื้นผิวของดาวอังคารเมื่อเวลา 03.34 น.ตามเวลาฝั่งตะวันออกของสหรัฐวันจันทร์ที่ 19 เมษายน ซึ่งตรงกับ 14.34 น.วันเดียวกันของไทย โดยยานปีกหมุนลำนี้บินขึ้นจากพื้นแล้วลงแตะพื้นอย่างนุ่มนวล ใช้เวลาลอยตัว 39.1 วินาที แต่ด้วยระยะทางที่ไกลจากโลกถึง 278 ล้านกิโลเมตร ภาพความสำเร็จและข้อมูลจากเที่ยวบินประวัติศาสตร์ที่ส่งมาถึงโลกผ่านสัญญาณวิทยุและผ่านกระบวนการวิเคราะห์ต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง

    วิศวกรในห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซาในแคลิฟอร์เนียต่างยินดีกับความสำเร็จของภารกิจซึ่งวางแผนนาน 6 ปี หนึ่งในทีมงานประกาศว่า "อินจินิวอิตีทำการบินเที่ยวบินแรก เป็นเที่ยวบินแรกของอากาศยานที่ใช้เครื่องยนต์บนดาวเคราะห์ดวงอื่น"

    อากาศยานปีกหมุนลำนี้ส่งภาพสเกลสีเทากลับมายังโลกอย่างรวดเร็วจากกล้องนำทางที่ชี้จากบนลงล่างเป็นภาพเงาของยานรูปร่างคล้ายแมลงทาบบนพื้นผิวของดาวอังคาร จากนั้นเป็นวิดีโอสีที่ภาพขาดๆ หายๆ ที่ถ่ายจากยานเพอร์เซเวียแรนซ์เผยภาพอินจินิวอิตีบนพื้น ขณะบินขึ้น และลงจอด อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาจึงมีภาพวิดีโอที่ต่อเนื่องลื่นไหลขึ้น

Photo by NASA/JPL-Caltech via Getty Images

    "เราเคยคุยกันมานานเกี่ยวกับช่วงเวลาของพี่น้องตระกูลไรต์บนดาวอังคารสำหรับพวกเขา และนี่ไงช่วงเวลาที่ว่า" มิมี อ่อง ผู้จัดการโครงการอินจินิวอิตี กล่าวกับทีมงานของเธอ

    สองพี่น้องตระกูลไรต์เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์การบินด้วยเครื่องยนต์ครั้งแรกบนโลกที่นอร์ทแคโรไลนาเมื่อปี พ.ศ. 2466 บุกเบิกยุคสมัยแห่งการบินของมนุษย์ นาซาได้นำเศษผ้าจากเครื่องบินของพี่น้องไรต์มาผูกไว้รอบเคเบิลใต้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของอินจินิวอิตีด้วย เพื่อเป็นเกียรติแก่ภารกิจดังกล่าว

    ทีมงานจะรับและวิเคราะห์ของมูลที่ส่งมาจากอินจินิวอิตีต่อไป แล้วจะวางแผนสำหรับการบินครั้งที่ 2 ซึ่งวางกำหนดไว้ในวันที่ 22 เมษายน

    รายงานกล่าวว่า การบินบนดาวอังคารมีความท้าทายมากเนื่องจากสภาพที่แตกต่างจากโลกอย่างมาก โดยเฉพาะบรรยากาศที่มีออกซิเจนไม่ถึง 1% ของความหนาแน่นของออกซิเจนบนโลก ซึ่งหมายความว่าใบพัดของอินจินิวอิตี ซึ่งมีขนาดเมื่อกาง 1.2 เมตร ต้องหมุนด้วยความเร็วถึง 2,400 รอบต่อนาที จึงจะบินขึ้นได้ หรือเร็วกว่าเฮลิคอปเตอร์บนโลกประมาณ 5 เท่า

    และเนื่องจากระยะทางที่ไกลจากโลกมาก ภารกิจนี้จึงไม่สามารถควบคุมบังคับโดยมนุษย์ได้ การบินจึงต้องโปรแกรมไว้ล่วงหน้า และยานต้องตัดสินใจแบบเรียลไทม์เอง โดยใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์และกล้องของยาน

    เป้าหมายของภารกิจของอินจีนิวอิตีคือการพิสูจน์เทคโนโลยีการบินบนดาวเคราะห์ดวงอื่น โดยนาซาหวังว่าสักวันหนึ่ง อากาศยานในอนาคตจะสามารถปฏิวัติการสำรวจเทหวัตถุอื่นๆ ด้วยยานที่ไปได้ไกลและเร็วขึ้น และสามารถไปถึงพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงทางบก

    นาซากำลังเตรียมแผนส่งยานดรากอนฟลาย ซึ่งเป็นยานลงจอดแบบใบพัดขนาดใหญ่กว่ามาก ไปลงบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ในปี 2577 ที่ซึ่งยานลำนี้จะขึ้นบินหลายเที่ยวเพื่อค้นหาชีวิตนอกโลก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"