ไม่รอด!77จังหวัดติดโควิด-19รอบ3เกลี้ยง


เพิ่มเพื่อน    

21 เม.ย.2564 - พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,458 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 1,454 ราย มาจากการระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,346 ราย มาจาการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 108 ราย นอกจากนี้ เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 4 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 46,643 ราย หายป่วยสะสม 29,371 ราย อยู่ระหว่างรักษา 17,162 ราย  โดยผู้ติดเชื้อใหม่นั้นครบทั้ง 77 จังหวัดแล้ว

สำหรับรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 2 ราย รายที่ 1 เป็นหญิงไทย 56 ปี อยู่ กทม. มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน วันที่ 10 เม.ย. เริ่มมีอาการไข้ ไอ ไปตรวจเชื้อวันที่ 13 เม.ย. ผลยืนยันติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 14 เม.ย. จากนั้นวันที่ 17 เม.ย.เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล มีอาการเหนื่อยหอบ ปอดอักเสบรุนแรง ต่อมาวันที่ 19 เม.ย.ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในวันเดียวกัน รายที่ 2 เป็นชายไทย อายุ 32 ปี อยู่ จ.นนทบุรี มีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 เม.ย.จากนั้นวันที่ 8 เม.ย.มีอาการไข้ต่ำ ไอ มีเสมหะปนเลือด วันที่ 15 เม.ย.มีอาการเหนื่อยมากขึ้น ต่อมาวันที่ 16 เม..เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล มีอาการปอดอักเสบรุนแรง อาการแย่ลงและเสียชีวิตในวันที่ 19 เม.ย. ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 110 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 143,542,550 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 3,057,541 ราย 

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ขณะนี้มีข่าวว่าทางการมาเลเซียเตรียมผลักดันคนไทยกลับประเทศ เราได้เตรียมมาตรการรองรับคนกลุ่มนี้ไว้แล้ว พร้อมกับมีการเฝ้าระวังและจัดสรรให้เข้าระบบที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ในที่ประชุมอีโอซีของกระทรวงสาธารณสุข ได้หารือถึงการตรวจหาเชื้อแบบหาภูมิคุ้มกัน หรือ Rapid Test ที่มีประชาชนบางส่วนไปตรวจกันเอง จึงขอเน้นย้ำว่าสถานที่ตรวจต้องได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ เพราะบางครั้งไปตรวจในที่ที่ไม่ได้มาตรฐานแล้วผลเป็นลบ จากนั้น 4-5 วันไปตรวจอีกครั้งผลจึงเป็นบวก จะทำให้ระหว่างนั้นมีการแพร่เชื้อ หรือทำให้การช่วยเหลือล่าช้า อาการทรุดลงและเป็นอันตรายได้ ขณะเดียวกัน มีข้อปฏิบัติสำหรับประชาชนที่อยู่ระหว่างรอผลตรวจ ขอให้เคร่งครัดในเรื่องของการกักกันตัว ห้ามเดินทาง ห้ามสัมผัสผู้ใกล้ชิด แยกห้อง แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ไปที่ชุมชน งดกิจกรรมสังคม และสวมหน้ากากตลอดเวลา และเมื่อได้รับผลตรวจยืนยัน ให้ติดต่อไปที่สถานที่ตรวจ โดยจะได้รับคำแนะนำว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยโรงพยาบาลจะมีการคัดแยกว่าจะมีอาการระดับไหน แต่อย่างไรตาม ระหว่างรอเข้ารับการรักษาตัว ให้สังเกตอาการตัวเองอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเหนื่อยหอบ ถ่ายเหลว ต้องรีบโทรศัพท์หาสายด่วน 1669 เพื่อประสานเข้ารับการรักษาตัวโดยเร็ว 

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ยอมรับว่ามีกรณีที่ประชาชนโทรหาสายด่วนต่างๆ เพื่อประสานเรื่องเตียงรักษาและต้องรอเป็นเวลานาน แต่ไม่มีคนรับสาย หรือสายไม่ว่าง หรือรอเป็นเวลานาน เราเห็นใจประชาชน เพราะทุกคนเป็นห่วงอาการป่วยไข้ของตัวเองและคนในครอบครัว แต่ก็เห็นใจบุคลากรที่ต้องพยายามบริหารจัดการเตียงเหมือนกัน และสายด่วนแต่ละเบอร์นั้นวันๆ หนึ่งเขาต้องรับเกินพันสายต่อวัน ตรงนี้เราน้อมรับคำติงและพร้อมรับข้อเสนอแนะจากประชาชนที่ส่งมายัง ศบค.โดยตรง หรือส่งผ่านสื่อ เพราะทุกคนถือว่ามีส่วนในการร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาครั้งนี้ 
 
เมื่อถามว่า หลังการฉีดวัคซีน พบว่ามีคนไทย 6 คนมีอาการอัมพฤกษ์ พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ในข้อเท็จจริงเรื่องนี้ในที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข มีการรายงานเคสที่มีผลตามมาจากการฉีดวัคซีนแล้วและมีคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อายุรแพทย์โรคสมอง โดยเบื้องต้นที่มีการรายงานในเช้าวันเดียวกันพบว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ แต่ใช้คำว่ามีอาการคล้ายอัมพฤกษ์หรือสโตรก เป็นเรื่องของกล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกชา หรือประสาทสัมผัสไม่รู้สึก และพบว่าในเช้าวันเดียวกันทุกคนที่มีอาการฟื้นตัวดีขึ้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"