น่าห่วง!ผู้ป่วยกทม.ส่วนใหญ่อาการปานกลาง-หนัก'รพ.สนาม'ไม่ตอบโจทย์!


เพิ่มเพื่อน    

28 เม.ย.2564 - พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,012 ราย เป็นผู้ติดเชื้อใหม่ในประเทศ 2,001 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,893 มาจากการค้นหาเชิงรุก 108 ราย นอกจากนี้ เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 11 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 61,699 ราย หายป่วยสะสม 34,402 ราย อยู่ระหว่างรักษา 27,119 ราย อาการหนัก 695 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ 199 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 15 ราย เป็นชาย 11 ราย หญิง 4 ราย ในจำนวนนี้อยู่ใน กทม.ถึง 9 ราย สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อในครอบครัว 10 ราย รวมถึงมี 1 ราย เป็นการเสียชีวิตระหว่างรอคิวตรวจ 3 วัน ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 178 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 149,328,858 ราย เสียชีวิตสะสม 3,148,781 ราย 

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า สำหรับ 5 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดในวันที่ 28 เม.ย. ได้แก่ กทม. 830 ราย สมุทรปราการ 161 ราย ชลบุรี 108 ราย นนทบุรี 71 ราย และสมุทรสาคร 59 ราย อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.หลังจากมีการออกมาตรการปิดสถานบันเทิง พบว่าแม้ตัวเลขลดลงบ้าง แต่ยังเป็นตัวเลขที่สูงอยู่ ซึ่งข้อมูลวันนี้ มี 9 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ ขณะเดียวกัน มีจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อ 1-10 ราย 35 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อ 11-50 ราย 25 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อ 51-100 ราย 5 จังหวัด และจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อ 100 รายขึ้นไป 3 จังหวัด ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในรอบเดือน เม.ย. ข้อมูลถึงวันที่ 25 เม.ย. อันดับแรกคือ การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า จำนวน 9,177 ราย หรือร้อยละ 44.3 ซึ่งเกิดจากความไม่ระมัดระวังตัว แยกกักตัวอย่างทันท่วงที เราจึงมีมาตรการอออกมาเข้มข้น รองลงมาคือ สถานบันเทิง จำนวน 5,226 ราย อันดับสาม การค้นหาเชิงรุกในชุมชน 2,025 ราย 

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า การระบาดระลอกนี้แตกต่างจากคลัสเตอร์ จ.สมุทรสาคร ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดย 90% ต้องอยู่โรงพยาบาลสนาม แต่การระบาดระลอกนี้ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มจำนวนแบบก้าวกระโดด ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้โรงพยาบาลสนามสามารถเปิดเพิ่มได้ แต่บางกรณี เช่น กทม.ไม่ตอบโจทย์ เพราะผู้ติดเชื้อจำนวนมากเป็นกลุ่มมีอาการรุนแรงปานกลางไปจนถึงอาการหนัก บางส่วนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ จึงต้องบริหารจัดการเตียงให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงขอความร่วมมือว่าหากไม่มีอาการรุนแรง ขอร้องไปให้ใช้โรงพยาบาลหรือฮอตพิเทล เพื่อรักษาเตียงให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นจริงๆ ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยรักษาตัวเป็นเวลา 14 วัน จนมีผลเป็นลบแล้ว และแพทย์อนุญาตให้กลับไปบ้าน ถือเป็นเป็นมาตรฐานของสาธารณสุข แต่ยังต้องให้กลับไปกักตัวที่บ้านอีก 14 วัน ไม่ให้ออกไปทำงานหรือไปสถานที่ชุมชน เพื่อความปลอดภัย  

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า สำหรับการฉีดวัคซีนนั้น เราพยายามรณรงค์ให้ฉีดเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต หรือการใช้ไอซียู ดังนั้น ประชาชนควรฉีดวัคซีน ส่วนแผนการกระจายวัคซีนนั้น เราตั้งใจจะกระจายให้ประชาชนร้อยละ 70 หรือประมาณ 50 ล้านคนภายในปี 64 หรือคิดเป็น 100 ล้านโดส เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์วิกฤต บางครั้งความขัดแย้งต้องมีการคำถาม ซึ่งคิดว่าที่มาที่ไปเกิดจากความใส่ใจและห่วงใย เราเห็นต่างกันได้ แต่ต้องมีข้อเสนอชี้แนะบนพื้นฐานความถูกต้องที่เคารพซึ่งกันและกัน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"