หั่นจีดีพีเหลือ2.3 ส่งออกขยายตัว เร่งเบิกจ่ายเงินกู้


เพิ่มเพื่อน    

 “คลัง” รับโควิดทำพิษ ทำใจหั่นจีดีพีปีนี้เหลือ 2.3% หลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งไทย-เทศชะงัก นักท่องเที่ยวต่างชาติหดเหลือ 2 ล้านคน รายได้วูบ 49% ส่งออกโตสวนทางที่ 11% อานิสงส์เศรษฐกิจโลก-ประเทศคู่ค้าฟื้นตัวคึกคัก พร้อมเร่งเบิกจ่ายเงินกู้ปีนี้ คาดอัดเข้าระบบเศรษฐกิจได้ 6.2 แสนล้านบาท ยันยังเหลือตุนอีก 2.37 แสนล้านบาท พ.ค.นี้ได้ข้อสรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่

    เมื่อวันที่ 29 เมษายน นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้เหลือ 2.3% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 1.8-2.8% ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2.8% จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางระหว่างประเทศ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ปรับลดคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ลดลงเหลือ 2 ล้านคน จากคาดการณ์เดิมที่ 5 ล้านคน รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมาอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท ลดลง 49% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.6 แสนล้านบาท
    ทั้งนี้ หากหลายประเทศสามารถกระจายวัคซีนได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เชื่อว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะเริ่มกลับมาได้ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาส 3/2564 ถึงต้นไตรมาส 4/2564 และจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้อย่างแน่นอน
    นางสาวกุลยากล่าวว่า ขณะที่ภาพรวมการส่งออกในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับ 11% ดีขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ 6.2% เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ปีนี้คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นที่ 6% เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ 5.2% และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเร่งดำเนินมาตรการด้านการเงินการคลังในหลายประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลดีกับการส่งออกของไทยในปีนี้ ส่วนการนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 18% ต่อปี ส่วนการเร่งดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากโครงการเราชนะ, โครงการคนละครึ่ง, โครงการม 33เรารักกัน และมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบผ่านสถาบันการเงินก็เป็นปัจจัยเสริม รวมทั้งเม็ดเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ที่ถูกส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจ ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภค ประคับประคองธุรกิจ และรักษาระดับการจ้างงานด้วย
    “ต้องยอมรับว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวมีผลสำคัญต่อการปรับประมาณการเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ โดยตัวเลขคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในหลายประเทศ แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2564 รวมถึงหลายประเทศมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล่าช้ากว่าคาดการณ์ อีกทั้งแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวจะเป็นเฉพาะบางพื้นที่ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญกับเศรษฐกิจไทยยังมีข้อจำกัด” นางสาวกุลยากล่าว
    นางสาวกุลยากล่าวอีกว่า คาดการณ์ว่าปีนี้จะสามารถเบิกจ่ายเม็ดเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ได้ประมาณ 6.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมประมาณ 1 แสนล้านบาท และในปี 2563 มีการเบิกจ่ายไปแล้วราว 3.4 แสนล้านบาท และคาดว่าในปี 2565 จะมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและมีส่วนช่วยในการประคองเศรษฐกิจของประเทศ
    สำหรับเม็ดเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาทนั้น ปัจจุบันมีการอนุมัติวงเงินแล้ว 7.62 แสนล้านบาท คิดเป็น 85.41% และมีการเบิกจ่ายแล้ว 6.4 แสนล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะทยอยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยภายในปีนี้ โดยรัฐบาลยังมีวงเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉินเหลือเพื่อดำเนินมาตรการดูแลเยียวยาและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจได้อีก 2.37 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน พ.ค.2564
    ขณะที่คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวที่ระดับ 2.3% การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ 4.8% ส่วนการบริโภคภาครัฐ ขยายตัว 5% ต่อปี และการลงทุนภาครัฐขยายตัวที่ 10.1% ต่อปี
    อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในหลายประเทศที่ยังมีความรุนแรงและยืดเยื้อ, ข้อจำกัดในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ, ราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับเพิ่มขึ้นได้ หากปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศรุนแรงขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงาน และความผันผวนของระบบการเงินโลกและเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
    “ยืนยันว่าประเทศไทยยังมีฐานะการคลังที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ ทำให้กระทรวงการคลังมีความพร้อมในการดำเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ประกอบกับนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการลงทุนด้านดิจิทัล และนโยบายการยกระดับปรับทักษะแรงงาน จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป” นางสาวกุลยากล่าว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"