เด็กเยาวชนไทย นิยมใช้ภาพคลิป ลงในเฟซบุ๊ก-ไอจี


เพิ่มเพื่อน    

  โพลเผยเด็กเยาวชนไทยนิยมแสดงความสามารถพิเศษด้วยการสร้างสรรค์สื่อประเภทรูปภาพ-คลิปวิดีโอ ลงบนเฟซบุ๊ก-อินสตาแกรมและติ๊กต๊อก แนะผู้ใช้จะต้องพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานของตนให้มีคุณภาพและความแปลกใหม่อยู่เสมอ เพื่อช่วงชิงพื้นที่ในสื่อสังคมออนไลน์

    เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เผยผลสำรวจความคิดเห็นผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบของการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในกลุ่มเยาวชนไทยระดับมัธยมศึกษา โดยสำรวจจากกลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 11-18 ปี จำนวน 2,547 หน่วยตัวอย่างทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย แบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 38.54 เพศหญิง ร้อยละ 57.26 และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ร้อยละ 4.2 ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.2563-5 ม.ค.2564  
    ผลสำรวจพบว่า ความสามารถพิเศษของเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ที่แสดงออกบนสื่อสังคมออนไลน์ คือ การถ่ายภาพ สูงถึงร้อยละ 61.93 (1,594 คน) รองลงมาคือ การรีวิว ร้อยละ 35.78 (921 คน) ขณะที่อันดับที่สามคือ การเต้น ร้อยละ 34.73 (894 คน) อันดับที่สี่คือ การท่องเที่ยว ร้อยละ 33.80 (870 คน) ส่วนอันดับห้าคือ การร้องเพลง ร้อยละ 33.22 (855 คน) อันดับที่หกคือ การวาดภาพ ร้อยละ 23.19 (597 คน) และอันดับสุดท้าย คือ การเขียน ร้อยละ 16.71 (430 คน)
    ขณะที่สื่อสังคมออนไลน์ที่เด็กและเยาวชนไทยใช้แสดงความสามารถพิเศษมากที่สุดคือ เฟซบุ๊ก (Facebook) ร้อยละ 75.87 (1,953 คน) อันดับที่สองคือ อินสตาแกรม (Instagram) ร้อยละ 52.76 (1,358 คน) อันดับที่สามคือ ติ๊กต๊อก (TikTok) ร้อยละ 51.24 (1,319 คน) อันดับที่สี่คือ ยูทูบ (Youtube) ร้อยละ 39.55 (1,018 คน) อันดับที่ห้าคือ ทวิตเตอร์ (Twitter) ร้อยละ 24.48 (630 คน) อันดับที่หกคือ พินเทอร์เรสต์ (Pinterest) ร้อยละ 9.56 (246 คน) อันดับที่เจ็ดคือ จอยลดา (Joylada) ร้อยละ 6.41 (165 คน) อันดับที่แปดคือ บล็อก (Blog) ร้อยละ 2.87 (74 คน) และอันดับสุดท้ายคือ บล็อกดิต (Blockdit) ร้อยละ 2.84 (73 คน)
    เมื่อสอบถามถึงฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการแสดงความสามารถพิเศษ พบว่าฟังก์ชันอันดับที่หนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ฟังก์ชันโพสต์ภาพ ร้อยละ 57.19 (1,472 คน) ขณะที่อันดับที่สองคือ ฟังก์ชันโพสต์คลิปวิดีโอ ร้อยละ 43.43 (1,118 คน) อันดับที่สามคือ ฟังก์ชันโพสต์ข้อความ ร้อยละ 36.71 (945 คน) ส่วนอันดับที่สี่คือ ฟังก์ชันสตอรี (Story) ร้อยละ 36.40 (937 คน) ตามมาด้วยอันดับที่ห้า ฟังก์ชันถ่ายทอดสด (Live) ร้อยละ 35.66 (918 คน) อันดับที่หกคือ กระดานสนทนา (Board) ร้อยละ 7.77 (200 คน) อันดับที่เจ็ดคือ บล็อก (Blog) สำหรับลงภาพและเขียนบทความ ร้อยละ 7.38 (190 คน) และอันดับสุดท้ายคือ ฟังก์ชันจดบันทึก (Note) สำหรับเขียนบทความหรือนิยายแบบยาว ร้อยละ 6.10 (157 คน)
    ศ.ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  กล่าวว่า สื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นพื้นที่ผู้ใช้ได้แสดงความคิดเห็นและนำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่วัยรุ่นที่มีการใช้พื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ในการแสดงทักษะความสามารถของตน ออกมาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพก็ดี วิดีโอก็ดี หรือการเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร ซึ่งการสร้างสรรค์เนื้อหาเหล่านี้สามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้แก่เจ้าของผลงานได้อีกด้วย แต่ขณะเดียวกันผู้ใช้จะต้องพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานของตนให้มีคุณภาพและความแปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อช่วงชิงพื้นที่ในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีปริมาณมหาศาล.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"