เลขาฯสมช. ไม่ให้ราคา 'โทนี่' ปล่อยเฟกนิวส์ เน้นให้ข้อมูลแท้จริงแก่ประชาชน


เพิ่มเพื่อน    

6 พ.ค.64 - ที่ทำเนียบ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศปก.ศบค. และประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบูรณาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ตามประกาศฉบับที่ 3 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นห่วงใน 8 ประเด็น เช่นหน้ากากอนามัย วัคซีน ยารักษาโรค ทางศปก.สบค.จึงจะใช้เวทีของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯชุดนี้บูรณาการและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่นายกฯให้ความสนใจและห่วงใยเพื่อแจ้งกลับไปให้นายกฯได้รับทราบตามเวลา และหากมีสิ่งใดที่นายกฯให้นโยบายมาก็จะรับไปดำเนินการต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ชุดนี้จะซ้ำซ้อนกับศูนย์ปฏิบัติการชุดต่างๆที่อยู่ในศบค.หรือไม่ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ในกรอบ ศบค.ทั้งหมด ตนมีส่วนเข้าร่วมในทุกกิจกรรมทุกกรรมการ เป็นบุคคลหลักในการบูรณาการงานทุกคณะกรรมการให้เป็นไปอย่างประสานสอดคล้อง ไม่ให้ไม่ซ้ำซ้อน ส่วนความจำเป็นที่ต้องตั้งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจฯเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมารองรับการทำงาน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปก้าวล่วงทุกหน่วยงานได้ 

เมื่อถามว่ามีข้อสังเกตว่าศบค.ให้ทหารมารบกับโรคระบาด แทนที่จะเป็นแพทย์ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ในศบค.มีหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงการต่างประเทศ หน่วยงานวิจัย กองบัญชาการกองทัพไทย เราที่มีอยู่หลายหน่วยงานไม่ใช่มีเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขอย่างเดียว ซึ่งงานด้านสาธารณสุขและการแพทย์ มีความจำเป็นที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนงานด้านอื่นก็จำเป็นที่ต้องมีการบูรณาการ เพื่อให้ประสานสอดคล้อง ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือหน่วยงานใดที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล และนายกฯ ดังนั้นถ้าไม่มีหน่วยงาน บูรณาการ หมอซึ่งรับผิดชอบในการรักษาโรคหรือป้องกันการแพร่ระบาดก็ต้องมารับภาระประสานการปฏิบัติให้สอดคล้องด้วย เช่น การระวังป้องกันตามแนวชายแดนเพื่อไม่ให้ประเทศเพื่อนบ้านลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายความมั่นคง ฉะนั้นเห็นว่างานต่างๆมีมากมาย การที่ตนได้รับมอบจากนายกฯเข้ามาก็เพื่อประสานการปฏิบัติเท่านั้น ด้านการรักษาโรคการป้องกันการแพร่ระบาดเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารสุข

พล.อ.ณัฐพล กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดและการบริหารจัดการในชุมชนแออัด เช่น คลองเตย ว่า ศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ประชุมวางโครงสร้างรองรับลงไปถึงในระดับเขต ซึ่งเรียกว่า ศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 เขตต่างๆ ที่มีโครงสร้างแบ่งเขต เพื่อให้การทำงานสอดประสานกันไปได้ในการป้องกันการแพร่ระบาด ให้แต่ละเขตมีการจัดระบบอย่างสมบูรณ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดได้ด้วย ตัวเอง ปัจจุบันเริ่มใช้มาได้ 2 วันแล้ว ซึ่งจะใช้ให้ครบ 50 เขตต่อไป

เมื่อถามว่าหากถึงวันศุกร์ที่ 14 พ.ค.ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังเพิ่มขึ้น ศบค.จะมีมาตรการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ในห้วงเวลาที่ผ่านมาทุกครั้งที่ศบค.กำหนดมาตรการการแพร่ระบาด จะฟังข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก ซึ่งจะวิเคราะห์ต้นเหตุของการแพร่ระบาดในแต่ละครั้งว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ยกตัวอย่าง ในช่วงระลอกที่หนึ่งมีการแพร่ระบาดมาจากการเดินทางมาจากต่างประเทศ ระลอกที่สองเกิดจากแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาโดยผิดกฎหมาย และระลอกที่สามนี้เกิดจากสถานบันเทิง เมื่อออกมาตรการมาแล้ว และใกล้ครบ 14 วัน ก็ต้องมาประเมินอีกครั้งหนึ่งว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ยังทำให้เกิดการแพร่ระบาด และต้องออกมาตรการป้องกันต่อไป

เมื่อถามว่ามีแนวโน้มที่จะถึงขั้นล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิวหรือไม่ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า นายกฯห่วงใยในเรื่องความเดือดร้อนของประชาชน โดยให้ศบค. พิจารณาอย่างรอบคอบในการพิจารณาการออกมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาด พยายามให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด มาตรการล็อกดาวน์หรือมาตรการเคอร์ฟิวจะเป็นมาตรการสุดท้าย หากไม่สามารถหยุดยั้งได้จริงๆ

เมื่อถามถึงการเผยแพร่ภาพในโซเชียล ถึงสถานกักกันผู้ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนคลองเตย ยังมีปัญหาและไม่มีความพร้อม พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ในช่วงต้นที่มีการนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่การแยกกักก็ได้มีการเร่งรัดในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ก็อาจจะมีภาพเหล่านั้นปรากฏอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการบูรณาการในการแก้ไขปัญหา โควิด-19 แล้ว นอกจากนี้มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้ามาดำเนินการและคงเรียบร้อยในเร็วๆ นี้

ผู้สื่อข่าวถามถึงโควิด-19 สายพันธุ์บราซิลและสายพันธุ์แอฟริกา ที่มีข้อกังวลว่าจะมีการแพร่ระบาดเข้ามาทางชายแดนหรืออาจจะพบในสถานกักกัน ทางศบค.จะเข้าไปแก้ปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้อย่างไร พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า นายกฯ ได้เน้นย้ำฝ่ายความมั่นคง ทั้งกองทัพไทย และกระทรวงมหาดไทย ให้เข้มงวดตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบเข้ามาโดยผิดกฎหมาย และแม้จะเข้าโดยถูกกฎหมายก็ให้เพิ่มความเข้มงวดตรวจคัดกรองให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น เมื่อเช้าวันที่​ 6พ.ค.ได้มีการหารือกันแล้วว่า ถึงแม้จะขยายเวลากักตัวเป็น 14 วันเหมือนเดิม สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ก็จะให้มีการติดตามหลังจากที่ได้ออกจากสถานกักกัน และก็ขอความร่วมมือที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนอื่นอีกสักระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป

เมื่อถามถึงความคืบหน้า ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ที่จะเปิดประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังเป็นไปตามกำหนดเดิม 1 ก.ค.นี้หรือไม่ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า จะตอบว่าเป็นไปได้หรือไม่ทางศบค. ก็จะพยายามทำให้เป็นไปได้ แต่คงต้องดูสถานการณ์ในห่วงเวลานั้นอีกครั้ง ขณะนี้นายกฯ ได้ให้นโยบายกระทรวงสาธารณสุขว่า วัคซีนที่ทยอยเข้ามาในเดือนนี้ก็จะเร่งฉีดให้กับในพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นอันดับแรก เพื่อให้ทำให้แผนการแพร่ระบาดลดลง และเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย และพัทยา

เมื่อถามถึงจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม จะยังคงมีมาตรการเข้มงวดในสถานบริการยาวถึงสิ้นเดือนพ.ค.นี้ หรือไม่ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า คงต้องรับฟังจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นหลักว่าจะมีความเห็นอย่างไร หลังจากที่ได้มีการสอบสวนโรคแล้ว ก็จะทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะนำมาวิเคราะห์เมื่อครบ 14 วัน เพื่อออกมาตรการที่เหาะสมต่อไป

เมื่อถามว่ากรณีอดีตนายกฯ และ ฝ่ายการเมือง ให้ข้อมูลว่า วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ได้เข้ามาในประเทศไทย แต่ต่อมาบริษัทไฟเซอร์ ประจำประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการองค์อาหารและยา (อย.) ปฏิเสธไม่เป็นความจริง ศบค. จะมีแนวทางเรื่องข่าวเช่นนี้อย่างไร

พล.อ.ณัฐพล กล่าวต่อว่า เราจะไม่เสียเวลากับข่าวที่ไม่เป็นความจริง เราต้องพยายามสร้างความรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงให้แก่ประชาชน ที่ผ่านมาการแถลงข่าวของศบค.ทุกวัน โดยได้เชิญคุณหมอ ผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความอาวุโสในด้านเกี่ยวกับวัคซีนมาให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แท้จริงและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทำอยู่ โดยเน้นให้ข้อเท็จจริง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"