ร้านค้ารายย่อย'ในวันที่ถูกทอดทิ้ง


เพิ่มเพื่อน    

    หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งเพื่อระงับยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบล่าสุด ซึ่งประกอบไปด้วยหลากหลายมาตรการ อาทิ การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในระยะเร่งด่วน ได้แก่   1.โครงการเราชนะ จำนวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 32.9 ล้านคน โดยเป็นการขยายวงเงินช่วยเหลือให้ประชาชนอีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยระยะเวลาการใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงิน 6.7 หมื่นล้านบาท

                2.โครงการ ม.33 เรารักกัน จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 9.27 ล้านคน โดยเป็นการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือผู้ประกันตน มาตรา 33 อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาการใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงิน 1.85 หมื่นล้านบาท

                3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 จำนวน 13.65 ล้านคน โดยให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ จำนวนเป้าหมาย 2.5 ล้านคน เพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564)

                4.โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน คาดว่าจะมีประชาชนร่วมโครงการจำนวน 31 ล้านคน คิดเป็นวงเงินงบประมาณ 9.3 หมื่นล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564)

                และสุดท้าย โครงการ ‘ยิ่งใช้ยิ่งได้’ โดยรัฐสนับสนุน E-Voucher ให้กับประชาชนที่ใช้จ่ายซื้อสินค้า อาหาร และเครื่องดื่ม ค่าบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม ไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 และนำ E-Voucher ไปใช้จ่ายในเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 31 ล้านคน

                เมื่อรวมทุกโครงการแล้ว ก็ยังอยู่ในกรอบงบประมาณ 3.8 แสนล้าน ที่กระทรวงการคลังเคยบอกเอาไว้ว่ามีตุนสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบนี้ 

                อย่างไรก็ดี มองอย่างไรการเยียวยาของรัฐบาลยังคงวนเวียนที่การช่วยเหลือทางด้านดีมานด์ และกำลังซื้อของประชาชนเป็นหลัก แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ทางด้านชัพพลาย ซึ่งก็คือภาคธุรกิจร้านค้าที่จะต้องเอาตัวรอดกันเอาเอง

            ลองคิดดูว่า ร้านค้า เอสเอ็มอี จำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อน จากยอดขายที่ลดลง อย่างกลุ่มร้านอาหารที่ไม่สามารถนั่งรับประทานอาหารในร้านได้ หรือธุรกิจบริการอื่นๆ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้เป็นกลุ่มที่จ้างงาน โดยหากธุรกิจเหล่านี้อยู่ไม่ได้ การจ้างงานก็ไม่เกิด คนก็ตกงาน ลำพังรับเงินเยียวยา 2,000 บาทจากรัฐบาลก็ไม่น่าจะประคองชีวิตไปได้

                ซึ่งภาครัฐควรช่วยเหลือกลุ่มร้านค้า ร้านอาหาร ให้เขารักษาสถานะการขายอยู่ได้ โดยไม่ต้องปิดตัว หรือเลิกจ้างพนักงาน น่าจะเป็นทางช่วยที่ยั่งยืนมากกว่า การจะช่วยแค่ ซอฟต์โลน (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ) ซึ่งล่าสุดมีการอนุมัติวงเงินอีก 20,000 ล้านบาท แต่มันก็คือการสร้างหนี้เพิ่ม ซึ่งไม่รู้ว่าอนาคตจะรอดหรือไม่รอด ซึ่งกลุ่มร้านค้าๆ เล็กๆ ถ้าไม่จำเป็นเขาก็ไม่ได้อยากจะกู้กัน และการกู้ก็ไม่ใช่ง่ายๆ เพราะก็อาจจะประเมินความเสี่ยงไม่ผ่านอีก

                รัฐบาลควรดูอย่างญี่ปุ่น ที่รัฐบาลอัดเงินให้เปล่า ให้กับธุรกิจต่างๆ ไม่ให้ปิดตัว และรักษาการจ้างงานไว้ได้ ซึ่งหลายประเทศก็ทำแบบนี้ และมันจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่า การไปแจกเงินเบี้ยหัวแตกให้ใช้ แต่ ธุรกิจไปไม่รอด ทำคนตกงานกันทั้งประเทศ. 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"