พฤติกรรมแบบไหนอยู่ต่อหลังโควิด


เพิ่มเพื่อน    

      ในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้มีพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง และมีความเป็นไปได้สูงว่าจะกลายเป็นนิสัยที่ทำต่อไปอย่างเหนียวแน่นถาวรในระยะยาว โดยไม่นานมากนี้ นายชาร์ลส ซอเมอร์ส ผู้จัดการกองทุนจาก Schroders (ชโรเดอร์ส) เปิดเผยถึงมุมมองที่เกิดจากผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภคบางอย่างที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร แม้สิ้นสุดการระบาดแล้วก็ตาม ในระยะสั้นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้รับประโยชน์ น่าจะยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ แต่ในระยะยาวเมื่อวิถีชีวิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว กลุ่มธุรกิจบางประเภทอาจฟื้นตัวกลับคืนมา เมื่อมาตรการคุมเข้มต่างๆ เริ่มผ่อนคลายลง และอาจทำให้พฤติกรรมการบริโภคแบบเก่ากลับมาเช่นกัน

                สำหรับรูปแบบการใช้จ่ายของผู้บริโภคอาจแปรผันไม่แน่นอนตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการใดๆ อาจจะได้เห็นผู้บริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอยเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น จากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากถูกระงับมาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สำหรับหลายๆ ประเทศที่มีการทยอยฉีดวัคซีนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านสาธารณสุขแล้ว มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะเห็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูร้อนนี้  

                แม้งานวิจัยทางวิชาการ How are habits formed: Modelling habit formation in the real world ชี้ให้เห็นว่าคนเราอาจใช้เวลาถึง 254 วันในการสร้างนิสัยใหม่ และผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ผ่านการใช้ชีวิตท่ามกลางมาตรการคุมเข้มช่วงโควิด-19 มานานเกินกว่านั้น จึงอาจด่วนสรุปไปว่ากิจวัตรรูปแบบใหม่ที่ผ่านมานี้คงจะอยู่ติดตัวผู้คนต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม การสร้างนิสัยใหม่นั้นมีปัจจัยมากไปกว่าเพียงแค่การทำอะไรบางอย่างซ้ำๆ ในช่วงเวลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งรวมไปถึงวงจรของนิสัยที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ สิ่งรอบข้าง, ตัวพฤติกรรมนั้นๆ และความพึงพอใจที่ได้รับ

                เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ จะทำให้องค์ประกอบสำคัญที่เคยเป็นเรื่องจำเป็นเนื่องจากการแพร่ระบาดขาดหายไป และจะทำให้คนเริ่มตระหนักว่า ความพึงพอใจที่จะได้รับ อาจเกิดขึ้นง่ายกว่าเมื่อหันกลับไปทำพฤติกรรมที่คุ้นเคยก่อนการแพร่ระบาด โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปและมีความเป็นไปได้สูงกว่าจะกลายเป็นนิสัยที่ทำต่อไปอย่างเหนียวแน่นถาวรในระยะยาว คือพฤติกรรมที่นำไปสู่ความพึงพอใจบางอย่างที่ไม่สามารถทดแทนได้แม้ว่ามาตรการเข้มงวดต่างๆ จะผ่อนคลายลง

                จะเห็นได้ว่าการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์มีปริมาณการซื้อขายสูงขึ้นหลายเท่าตัวในหลายๆ ประเทศ นับเป็นช่องทางที่สะดวก และน่าจะยังคงดำเนินต่อไปหลังจากสิ้นสุดการระบาด ขณะที่การปรับปรุงที่อยู่อาศัยพบว่าค่าใช้จ่ายตกแต่งบ้านเพิ่มขึ้น 20% ในตลาดประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว และจากความยืดหยุ่นของการทำงานมีแนวโน้มจะคงอยู่ต่อไป และจะผลักดันให้บ้านมีความสำคัญมากขึ้น

                ส่วนการช็อปปิ้งออนไลน์มีอัตราการซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปี 2563 เป็นช่องทางที่สะดวกกว่าอย่างมากสำหรับผู้บริโภค แต่ร้านค้าปลีกที่เน้นมอบประสบการณ์ที่น่าสนใจ จะสามารถดึงดูดลูกค้ากลับมาที่หน้าร้านได้ ขณะเดียวกันยังพบว่าช่วงการระบาดใหญ่การเล่นเกมมีจำนวนชั่วโมงและการใช้จ่ายเพื่อซื้อของในเกมมากขึ้น พฤติกรรมหลังจากสิ้นสุดการระบาดคาดการณ์ว่าความบันเทิงรูปแบบอื่นจะแย่งเวลาเล่นเกมไป แต่พฤติกรรมการซื้อของในเกมน่าจะกลายเป็นนิสัยถาวร

                แม้ว่าอุปกรณ์ออกกำลังกายมียอดขายพุ่งสูงขึ้นมาก  แต่พฤติกรรมหลังสิ้นสุดการระบาดอาจจะยังไม่ค่อยแน่ชัด เพราะการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นนิสัยถาวร และการทำอาหารง่ายๆ ด้วยตนเองได้รับความนิยมสูงขึ้น

            การวิเคราะห์พฤติกรรมหลังสิ้นสุดการระบาดของโควิด-19 จะทำให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์และคัดเลือกการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ หรือบริษัทที่จะได้รับประโยชน์จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร และช่วยให้หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการคัดเลือกบริษัทที่จะได้รับประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงชั่วคราวในช่วงการระบาดเท่านั้น คงต้องมาดูกันต่อว่าจะมีเทรนด์อะไรใหม่ๆ ที่ต้องนำมาวิเคราะห์เพิ่มในอนาคตอีกหรือไม่ เพราะการแพร่ระบาดในหลายประเทศก็ยังคงไม่นิ่ง.

รุ่งนภา สารพิน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"