เตือน47จว.รับมือ พายุฤดูร้อนถล่ม!


เพิ่มเพื่อน    

 พายุฤดูร้อนถล่มแล้ว 49 จว.ในรอบสัปดาห์ บ้านเรือนราษฎรเสียหาย 8 พันกว่าหลัง กรมอุตุฯ เตือน 47 จังหวัดรับมือ "กอนช." เฝ้าระวัง 4 พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก-ดินถล่ม ปรับแผนบริหารจัดการน้ำ ชี้ปีนี้ฝนชุก ส.ค.-ก.ย. พายุ 2-3 ลูกเข้าไทย

    เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานว่า ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร พิษณุโลก กาฬสินธุ์ ยโสธร เลย และสุรินทร์ รวม 7 อำเภอ 11 ตำบล 19 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 66 หลัง ส่วนในรอบสัปดาห์ระหว่างวันที่ 3-9 พ.ค.64 เวลา 06.00 น. มีพื้นที่ประสบวาตภัย 49 จังหวัด 175 อำเภอ 498 ตำบล 1,559 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 8,204 หลัง
    ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด ซึ่ง ปภ.ได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหายเพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ทั้งการชดเชยความเสียหายของบ้านเรือนเป็นวัสดุก่อสร้าง หรือจ่ายเงินช่วยเหลือตามความเหมาะสม ท้ายนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
    กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศประจำวันว่า ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้
    พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12.00 น. วันนี้ ถึง 12.00 น. วันที่ 10  พ.ค. ดังนี้ ภาคเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    ภาคกลาง อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36  องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    ภาคตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี) อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศว่า ทุกภาคของประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว ส่วนแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 38,692 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) (47%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 33,924 ล้าน ลบ.ม. (47%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 9 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างเก็บน้ำลำตะคอง และหนองปลาไหล) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณจังหวัดสระบุรี เชียงราย สุโขทัย และตาก
    กอนช.ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า สภาพอากาศปีนี้คล้ายคลึงกับสถานการณ์ในปี 2551 ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศมีค่าสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางตอนบนจะสูงกว่าค่าปกติมาก ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค. ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง ตั้งแต่กลางเดือน ก.ค.-ก.ย.64 จะมีฝนตกชุกหนาแน่น ส่วนในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.64 มีโอกาสเกิดพายุเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทย จำนวน 2-3 ลูก กอนช.ได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำและพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย และมอบหมายหน่วยงานเตรียมความพร้อมโดยปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"