ระทึก19พ.ค.ลุ้นเจ้าหนี้โหวตเดินหน้าแผนฟื้นฟูการบินไทย


เพิ่มเพื่อน    

 

เป็นประเด็นที่น่าจับตามองสำหรับ “การบินไทย” ที่ขนานนามว่าเป็นสายการบินแห่งชาติ หากพูดไปตามเนื้อผ้าดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะเกิดมรสุมรุมเร้า หนี้สินสะสมท่วมหัว แน่นอนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นผลกระทบทำให้การบินไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ เนื่องจากไม่สามารเปิดบินได้ แน่นอนว่าทำให้รายได้หายกำไรหดและสิ่งที่ตามมาคือการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล

แน่นอนว่าโควิด-19 กระทบอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก หากได้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากจะทราบกันดีว่า จากวิกฤติโควิด-19 นี้ นับวันยิ่งทวีความรุนแรง แม้เชื้อโรคร้ายตัวนี้จะเล็กจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่อนุภาพสามารถทำลายล้างพลาญอย่างยิ่งใหญ่จนไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้ แม้แต่สายการบินในประเทศก็ได้รับผลกระทบจนต้องร้องขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยในการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อที่จะพยุงกิจการให้เดินหน้าต่อได้

เจ้าหนี้เลื่อนโหวตแผนฟื้นฟูการบินไทย

การบินไทยหลังบริษัทได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทเมื่อวันที่ 27 พฤศภาคม 2563 และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้บริษัทดำเนินการฟื้นฟูกิจการ และตั้งคณะผู้ทำแผนตามที่เสนอเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2563 จนถึงปัจจุบันการบินไทยได้ดำเนินการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และเข้าสู่ขั้นตอนการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อโหวตแผนฟื้นฟู ตามกำหนดเดิมตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ในวันที่ 12 พ.ค.65 และล่าสุดเมื่อเจ้าหนี้ “การบินไทย” ได้แจ้งเลื่อนการประชุมพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยออกไปเป็นวันที่ 19 พ.ค. 09.00 น. ตามข้อเสนอเจ้าหนี้ 20 ราย ขณะที่มีเจ้าหนี้ขอให้แก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการรวม 15 ฉบับ

“ในการประชุมที่เลื่อนออกไป เจ้าหนี้จะสามารถใช้สิทธิลงมติเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการและการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดนัดใหม่ให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ทราบ และให้ถือว่าเจ้าหนี้ทุกรายที่เข้าร่วมประชุมและไม่ได้เข้าประชุมได้รับทราบแล้ว โดยในการประชุมจะมีวาระพิจารณา ประกอบไปด้วย การสอบถามเจ้าหนี้ว่ามีความต้องการแก้ไขแผนฟื้นฟูหรือไม่ และเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ยอมรับข้อเสนอของการแก้ไขแผนฟื้นฟูหรือไม่รวมทั้งจะมีการเสนอรายชื่อผู้บริหารแผนเพิ่มเติมจากเจ้าหนี้ มีการเสนอจัดตั้งคณะกรรมการเจ้าหนี้ ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวแทนติดตามการฟื้นฟูกิจการ และวาระการลงคะแนนเห็นชอบแผนฟื้นฟูการบินไทย”

กรณีเจ้าหนี้โหวตให้แผนฟื้นฟูการบินไทยไม่ผ่านการอนุมัตินั้น จะมีกระบวนการสอบถามให้เจ้าหนี้ตั้งผู้ทำแผนใหม่ และเปิดโอกาสให้ดำเนินการทำแผนฟื้นฟูใหม่ ดังนั้นเมื่อแผนฟื้นฟูไม่ผ่านการอนุมัติในวันที่ 12 พ.ค.นี้ การบินไทยก็ยังไม่เข้าสู่ขั้นตอนล้มละลายหรือขายสินทรัพย์ใช้หนี้ อีกทั้งมีกระบวนการของศาลล้มละลายกลางที่จะพิจารณาผลประชุมเจ้าหนี้ครั้งนี้ และกำหนดตัดสินในวันที่ 28 พ.ค.นี้

เจ้าหนี้เลื่อนโหวตแผนเป็น 19พ.ค.นี้

จากกรณีกำหนดโหวตแผนฟื้นฟูวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมาปรากฏว่าเจ้าหนี้หลายราย โดยเฉพาะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่มีการเสนอแก้ไขแผนฟื้นฟูการบินไทย ลงมติให้เลื่อนการโหวตพิจารณาแผนฟื้นฟูออกไปก่อน เนื่องจากเจ้าหนี้หลายราย มีความเห็นตรงกันว่า แผนฟื้นฟูดังกล่าวยังไม่ชัดเจน และเจ้าหนี้อีกหลายรายเพิ่งรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแผนฟื้นฟู ทั้งนี้ได้กำหนดให้จัดการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อโหวตแผนอีกครั้ง ในวันที่ 19 พ.ค.นี้

สำหรับเจ้าหนี้ทั้ง 20 รายที่ขอให้เลื่อนการประชุมโหวตแผนเจ้าหนี้ออกไปนั้น มีมูลหนี้รวมกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 24.4% จากจำนวนมเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมประชุม มูลหนี้ 1.33 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าผ่านผลิตแห่งประเทศไทย สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สหกรณ์ออมทรัพย์ธรรมศาสตร์ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สหกรณ์ออมทรัพย์องค์การเภสัชกรรม และสหกรณ์พนักงานการบินไทย เป็นต้น

ทั้งนี้หากเจ้าหนี้โหวตรับแผนฟื้นฟูก็มีความเป็นไปได้ว่า การบินไทยจะสามารถฟื้นฟูได้ในระยะยาว โดยแผนฟื้นฟูกำหนดให้มีการยืดระยะการชำระหนี้ที่เป็นหุ้นกู้ 7 หมื่นล้านบาทออกไป 10 ปีและระยะแรกจะให้มีการพักการชำระหนี้ด้วยรวมถึง ที่ผ่านมาบริษัทการบินไทยได้มีการปรับลดค่าใช้จ่ายตัวเอง โดยลดจำนวนพนักงานลงไปแล้วหลายพันคน และมีเป้าหมายจะให้พนักงานเหลือ 1 หมื่นคนจากทั้งหมด 2 หมื่นคน

ส่วนแผนฟื้นฟูที่กำหนดให้หาแหล่งเงินใส่เป็นสภาพคล่องให้กับการบินไทย5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้การบินไทยสามารถทำธุรกิจต่อไปได้นั้น ในแผนฟื้นฟูไม่ได้กำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหา แต่เขียนกว้างๆว่า ให้ใครก็ได้เป็นผู้จัดหา โดยกระทรวงการคลังจะเข้าไปช่วยเจรจา

เห็นต่างตั้งการบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ

ในการหาทางออก โดยเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการนัดประชุมเรื่องบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงพลังงาน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พร้อมตัวแทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) บริษัทผู้ทำแผนฟื้นฟูการบินไทย (บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด) ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประชุม

โดยกระทรวงการคลังนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาบริษัทการบินไทย โดยจะให้นำกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะมีการดำเนินการ คือ ปัจจุบันกระทรวงการคลังถือหุ้นบริษัทการบินไทย 47.86% โดยที่กองทุนวายุภักษ์จะขายหุ้นบริษัทการบินไทยให้ บจก.ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ หรือ DAD ตั้งแต่ 2.15% ขึ้นไป ซึ่งจะมีผลทำให้บริษัทการบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งตาม พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ และ พ.ร.บ.เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ และ พ.ร.บ.อื่นๆ

ซึ่งกระทรวงการคลังและกระทรวงการคมนาคมมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องสถานะของบริษัทการบินไทยที่จะให้กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งตามที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อให้สามารถค้ำประกันเงินกู้ได้ โดยกระทรวงคมนาคมเห็นว่าจะเกิดภาระรายจ่ายแก่ภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 2 แสนล้านบาท มาเป็นเกือบ 3 แสนล้านบาท ขณะที่วันที่ 5 พ.ค.มีกระแสข่าวว่า กระทรวงการคลังได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) มีสถานะกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าเป็นวาระเพื่อพิจารณาจร แต่ที่สุดแล้วในการประชุมก็ไม่ได้มีการพิจารณษวาระดังกล่าวแต่อย่างใด

ขณะที่นายศักดิ์สยาม ให้ข้อมูลว่าหากกระทรวงการคลังเสนอ ครม.ให้การบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังมีสิทธิดำเนินการได้ แต่การพิจารณาอนุมัตินั้น ครม.จะพิจารณาว่าที่เหตุผลและความจำเป็นที่กระทรวงการคลังเสนอจะทำให้ฟื้นฟูกิจการการบินไทยได้จริงหรือไม่ ในส่วนของกระทรวงคมนาคม เห็นด้วยที่จะให้การฟื้นฟูการบินไทยจริงจังแบบสถานะเอกชนฟื้นฟูเพื่อให้องค์กรเดินต่อไปได้ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้รัฐไปสนับสนุนเรื่องเงินทุนหรือการเข้าไปค้ำประกันเงินกู้

ต้องติดตามกันต่อไปว่าท้ายที่สุดแล้วในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ผลโหวตเจ้าหนี้ของการบินไทยจะออกมาในรูปแบบไหน เรื่องนี้ถือว่าเป็นการวัดใจรัฐบาลพอตัว เนื่องจากมีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้านในเรื่องสถานที่จะให้การบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบใด ก็ได้แต่หวังว่าท้ายที่สุดแล้วการกลับมาของการบินไทย สายการบินแห่งชาติ จะกลับมาผหงาดกลับมายืนหนึ่งได้เหมือนเดิมอีกครั้งได้หรือไม่
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"