สายสีส้มยังไม่จบ


เพิ่มเพื่อน    

 

     เมื่อพูดถึงโครงการประมูลรถไฟสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร และการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถตลอดเส้นทางสายสีส้ม (มีนบุรี-บางขุนนนท์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 142,789 ล้านบาท ต้องยุติลงเมื่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เห็นชอบให้ล้มการประมูลเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564

                 จึงเป็นข้อครหาให้กับสังคมว่า การล้มประมูลโครงการในครั้งนี้รัฐบาลและนายกฯ แทบจะไม่เคยล้วงลูกลงไปดูแล แต่อย่างใด เห็นได้ชัดจากโครงการเปิดประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ถูกเปิดโปงอย่างหนักว่าเป็นแค่การจัดประมูลเพื่อหวังประเคนโครงการไปให้กลุ่มทุนรับเหมายักษ์ที่มีความสนิทชิดเชื้อกับผู้บริหาร รฟม.หรือไม่นั้น จึงทำให้โครงการถูกร้องเรียนและถูกฟ้องร้องคาราคาซังอยู่ที่ศาล

                เมื่อย้อนไปดูก่อนก่อนหน้านี้ พบว่าผู้ยื่นซอง 2 ราย คือ 1.กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ 2.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม จากมีผู้ซื้อซองทั้งหมด 10 ราย ซึ่งปรับหลักเกณฑ์การประมูลจากเดิมตัดสินที่ซองราคา 100% เป็นตัดสินที่ซองราคา 70% และซองเทคนิค 30% จนกระทั่งบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสยื่นศาลปกครอง และศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ใช้หลักเกณฑ์เดิม

                โดยในส่วนของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณียกเลิกการคัดเลือกและเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนฯ ใหม่ จะสามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6-8 เดือน กรอบระยะเวลาดำเนินการมีความชัดเจน จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด

                ดังนั้น คณะกรรมการมาตรา 36 จึงได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว โดยมอบให้ รฟม.พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

                และในเวลาต่อมาได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อนำความคิดเห็นดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562)

                มีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็น ประกอบด้วย สรุปสาระสำคัญของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และแบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ได้ตั้งแต่วันที่ 2-16 มี.ค.นี้ โดยกรอกข้อคิดเห็นตามแบบสอบถาม และจัดส่งให้ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 17-19 มี.ค.นี้

                ล่าสุด รฟม.ได้แจ้งว่าเริ่มกระบวนการประกวดราคารอบใหม่ โดยจะประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่างเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ หรือ RFP อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าจากเดิมที่กระบวนการจะแล้วเสร็จ สามารถขายซองประกวดราคารอบใหม่ได้ในปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่  ทำให้เป็นอุปสรรค โดยเฉพาะการที่ไม่สามารถเรียกประชุมคณะกรรมการมาตรา 36 ได้ จึงจำเป็นต้องเลื่อนกระบวนการทั้งหมดออกไปก่อน

                สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กม. แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานีและส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี เป็นสถานีใต้ดินตลอดสาย.

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"