โค้ชของเอสเอ็มอี


เพิ่มเพื่อน    

      แคมเปญสำหรับดูแลผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีออกมากันอย่างรัวๆ ไม่ขาดสาย ทำให้เห็นอย่างจริงจังว่าการเดินหน้าพัฒนาเอสเอ็มอีในยุคนี้กำลังลุยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะหน่วยงานไหนก็จะหยิบยกคำว่าพัฒนาเอสเอ็มอีเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เนื่องจากหลายฝ่ายได้วิเคราะห์กันมาแล้วว่า  เอสเอ็มอีถึงจะเป็นแรงเล็กๆ ในประเทศ แต่เมื่อรวมตัวกันแล้วก็จะสามารถผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจได้อย่างดี

        ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ถูกที่ควร เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันสังคมและโลกมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ครั้นผู้ที่มีศักยภาพพอที่จะเป็นที่พึ่งพาได้เน้นไปพัฒนาของภาคเอกชนขนาดใหญ่อย่างเดียว แต่กลับไม่สนใจรายเล็กเลย การเติบโตของเศรษฐกิจก็ยังเดินหน้าได้อยู่ แต่เป็นเพราะเอกชนรายใหญ่ คนที่มีอยู่แล้วก็จะยิ่งมีมากขึ้น แต่ส่วนรายย่อยๆ ก็จะเจอกับปัญหาเดิมๆ แถมยังไม่มีช่องทางให้พัฒนาตัวเองด้วยซ้ำ

        ทั้งเทคโนโลยี ความต้องการ ตลาด และข้อจำกัดต่างๆ  ก็เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา หากเข้าสู่วงจรไม่ทัน มันก็เป็นเรื่องที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมรายใหญ่ที่มีกำลังก็จะอยู่รอด ส่วนรายย่อยๆ ไม่มีความรู้ ไม่มีกำลังก็จะวนเวียนอยู่ในตลาดเดิมๆ ใครสู้ไม่ไหวก็หายไป ใครไม่เจ๋งพอก็จะไม่ได้รับความสนใจ

        แต่ยังดีที่รัฐบาลชุดนี้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย จึงจี้ให้หลายๆ หน่วยงานให้ความสนใจกับกลุ่มนี้ จนออกแคมเปญออกมามากมายอย่างที่บอก แต่การที่จะหยิบยื่นความใส่ใจให้ไม่ใช้เพียงแค่เอาตัวอย่างมาให้ดู และยื่นเงินให้ ต้องเข้าใจก่อนว่าคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เสมือนนักลงทุนใหม่ อาจจะมีความรู้ที่น้อย ไม่เข้าใจเทคโนโลยี ไม่เข้าใจตลาดเนื่องจากติดกับรูปแบบเดิมๆ ซึ่งจุดสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาคือการเข้าไปสอนและให้ความรู้ในทุกๆ ขั้นตอน

        โค้ชหรือพี่เลี้ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญ เข้าไปช่วยให้ตรงจุด รวมถึงกระจายตลาดให้เกิดการรับรู้ของสินค้าหรือบริการ แก้ปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน ควบคู่ไปกับการผลักดันให้เข้าถึงเงินทุนจนเอสเอ็มอีสามารถดันตัวเองขึ้นมาจากจุดเดิมๆ  ได้

        และก็ต้องยอมรับว่าโครงการ “Train the Coach” ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่ตอบโจทย์ในการพัฒนา โดยจะต้องพัฒนาโค้ช หรือที่ปรึกษาด้านธุรกิจออกมาให้เพียงพอต่อความต้องการเอสเอ็มอีก่อน โดยเน้นไปในด้านเทคโนโลยี เนื่องจากยังเป็นจุดบอดของผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อวางรากฐานพัฒนาธุรกิจให้มีการปรับเปลี่ยน (Transforming) และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 ผ่านหน่วยงานต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าถึงเอสเอ็มอีได้ดีที่สุด

        โดย นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สสว.  มีความภูมิใจกับโครงการนี้อย่างมาก โดยออกมากล่าวว่าโครงการดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเอสเอ็มอี ที่ในอนาคตจะช่วยสร้างระบบฐานข้อมูลโค้ชของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางทั้งให้คำปรึกษาและจับคู่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีแต่ละพื้นที่ได้โดยตรง ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายในช่วง 3 ปี จะผลิตโค้ชมากกว่า 2,200 ราย และพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 10,000 ราย

        ขั้นตอนการดำเนินการแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก โดยกลุ่มแรกจะเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงธุรกิจทั่วไป เพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหาทั่วไปทางธุรกิจ และปูพื้นเอสเอ็มอีสู่ 4.0 กลุ่มที่สองเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเทคนิคเฉพาะด้าน และกลุ่มที่สาม เป็นผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดย สสว.ตั้งเป้าหมายจะมีผู้เข้าร่วมพัฒนาตัวเองให้เป็นโค้ช 1,570 รายในปี 2561 นี้

        โครงการนี้ถือเป็นโครงการตัวอย่างที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะถือว่ามีการแก้ปัญหาที่ถูกจุด เพราะอย่างที่บอกว่าจะยื่นเงินให้เอสเอ็มอีอย่างเดียวก็จะหวั่นเป็นหนี้เน่าค้างระบบหาใครมารับผิดชอบไม่ได้อีก เพราะอย่างนั้นไม่ใช่การยื่นเครื่องมือให้ แต่เป็นการยื่นผลผลิตให้เลย โดยเอสเอ็มอีก็จะมีความรู้เท่าเดิม สังคมเท่าเดิม รายได้เท่าเดิม และตายจากไปในบางราย แต่การให้ความรู้ ให้วิชา เป็นเหมือนการเสริมเกราะให้เดินต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง และมันก็เป็นโครงการดีๆ ที่น่ายกย่อง อะไรดีก็ต้องชื่นชมกันบ้าง.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"