พาณิชย์ชี้ช่องสินค้า 'ชุดชั้นใน' มีโอกาสเจาะตลาดจีนได้เพิ่มขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

 

27 พ.ค. 2564 นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ หาโอกาสส่งออกให้กับผู้ประกอบการไทยตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และล่าสุดได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว ถึงโอกาสในการส่งออกสินค้าชุดชั้นในของไทยเจาะเข้าสู่ตลาดจีน เพราะปัจจุบัน ตลาดชุดชั้นในจีนมีการเติบโตสูงมาก โดยมีการประเมินว่าในปี 2021 ตลาดจะมีมูลค่าสูงถึง 537,300 ล้านหยวน หรือประมาณ 2.53 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.52% ซึ่งผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย สามารถที่จะเข้าไปช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดได้

ทั้งนี้ ตลาดชุดชั้นในสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1.ชุดชั้นในสตรี เป็นชุดชั้นในที่ครองส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุด ประกอบด้วยเสื้อชั้นใน และกางเกงใน 2.ชุดชั้นในชาย ประกอบด้วย กางเกงใน ชุดชั้นในสำหรับฤดูหนาว และชุดลำลองสำหรับใส่นอนหรือใส่อยู่บ้านสำหรับผู้ชาย 3.ชุดชั้นในเด็ก หมายถึงชุดชั้นในสำหรับเด็กอายุ 0–16 ปี ประกอบด้วยชุดชั้นในสำหรับฤดูหนาว กางเกงในเด็ก และชุดลำลองสำหรับใส่นอนหรือใส่อยู่บ้านสำหรับเด็ก และ 4.สปอร์ตบรา ซึ่งเป็นตลาดที่เริ่มเข้ามาแข่งขันในตลาดชุดชั้นในมากขึ้น

นางสาวชนิดา อินปา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า สำหรับชุดชั้นในสตรี มีการแข่งขันที่รุนแรง แบรนด์ของจีนมีมากกว่า 3,000 แบรนด์ ชุดชั้นในชาย ก็มีแบรนด์จีนหลายแบรนด์ ชุดชั้นในเด็ก มีแนวโน้มเติบโตสูง เพราะผลจากนโยบายลูกคนที่ 2 และสปอร์ตบรา ก็เริ่มเติบโต เพราะคนจีนนิยมออกกำลังกาย ในที่นี้เป็นผู้หญิง 40% จึงมีความต้องการเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาการแข่งขันในแต่ละประเภท พบว่า ชุดชั้นในสตรี ชุดชั้นในชาย และชุดชั้นในเด็ก มีการกระจุกตัวของบริษัทแบรนด์ค่อนข้างต่ำ จึงมีการแข่งขันสูง แต่สำหรับสปอร์ตบรามีการกระจุกตัวค่อนข้างมาก จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้ผลิตชุดชั้นในประเภทอื่นที่จะเข้าไปแข่งขันและแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มชุดชั้นในประเภทสปอร์ตบรา

อย่างไรก็ตาม แม้การแข่งขันในตลาดชุดชั้นในในตลาดจีนจะมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ยังมีโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะพิจารณาขยายตลาดเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด เนื่องจากยังมีการกระจุกตัวของแบรนด์ที่ยังไม่สูงมากนัก และผลการสำรวจผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างในปี 2020 ของบริษัท iiMedia บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยการตลาดชื่อดังของจีน พบว่า ผู้บริโภค 45.4% ยอมรับราคาชุดชั้นในหนึ่งชิ้นที่มีราคาเฉลี่ยระหว่าง 100–200 หยวน หรือประมาณ 470–940 บาท ผู้บริโภค 25.3% ยอมรับราคา 50–100 หยวน หรือประมาณ 235–470 บาท และผู้บริโภค 16.7% ยอมรับราคา 200–300 หยวน หรือประมาณ 940–1,410 บาท ขณะที่ผู้หญิงจะให้ความสำคัญในการเลือกซื้อชุดชั้นในตามขนาดของร่างกาย จึงให้ความสำคัญกับขนาดเป็นอันดับแรก และให้ความสำคัญกับรูปแบบ วัสดุที่ใช้ในการผลิต และความเป็นเอกลักษณ์ของชุดชั้นในเป็นปัจจัยที่รองลงมา

“ผู้ประกอบการไทยที่จะเข้ามาทำตลาดในจีน ต้องศึกษาความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนยุคใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาชุดชั้นในที่มีเอกลักษณ์ มีคุณสมบัติ และคุณภาพที่เหมาะสมกับสรีระและผิวพรรณของผู้สวมใส่ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหนุ่มสาวชาวจีนได้มากที่สุด และควรใช้ช่องทางการค้าออนไลน์ และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เป็นช่องทางในการเริ่มต้นเพื่อเจาะตลาดจีน ขณะเดียวกัน ควรร่วมมือกับผู้ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นทั้ง KOL และ KOC ให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนนอกจากจะให้ความสำคัญกับการดูไลฟ์สตรีมมิ่งของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ตนเองชื่นชอบแล้ว ยังสนใจที่จะการอ่านคอมเมนต์ และการรีวิวของผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งาน หรือผู้ซื้อคนก่อนหน้า เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อด้วย หากผู้ประกอบการสามารถจับจุดเด่นและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวจีนทุกเพศทุกวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแน่นอน”นางสาวชนิดากล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"