ตั้งทีมชำแหละพรบ.งบฯ อัดพรก.ซอฟต์โลนทิพย์


เพิ่มเพื่อน    

 

"วิษณุ" เผยรัฐบาลส่งร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านเข้าสภา 27 พ.ค.นี้ ไปอภิปรายหลัง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ยอมรับหากถูกคว่ำต้องยุบสภาตามธรรมเนียม ประชาธิปัตย์คึกคักตั้งทีม  ส.ส.อภิปรายงบฯ 13 คน ปชป.ไม่ไว้หน้า อัด พ.ร.ก.ซอฟต์โลน รัฐบาลจะทำตัวเป็นผู้รู้ทุกอย่างไม่ได้

    เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทว่า คาดว่าอาจจะส่งให้สภาบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมในช่วงวันที่? 27-28 พ.ค.นี้ โดยสามารถพิจารณาต่อจากร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ซึ่งวันที่จะพิจารณาก็แล้วแต่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ จะกำหนด? ความจริงมีความสำคัญก่อนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯด้วยซ้ำไป เพราะในรัฐธรรมนูญใช้คำว่า เสนอในโอกาสแรก แต่เผอิญร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ได้จัดคิวไว้แล้ว และส่งวาระแล้ว? ตอนนี้เสียเวลาไปแล้ว 15 วัน ดังนั้น?เมื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เสร็จแล้ว จะพิจารณา พ.ร.ก.เงินกู้เลย ไม่ถือว่าล่าช้า
    เมื่อถามว่า ทางฝ่ายค้านท้วงติงมาว่าหากพิจารณากฎหมายทั้ง 2 ฉบับติดกันจะทำให้เหลือเวลาดูรายละเอียดน้อย รองนายกฯ ตอบว่า ก็ด้วยเหตุผลอันนี้ หากรัฐบาลรีบส่งร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทเลยจะทำให้ประธานสภาฯ ลำบากใจในการบรรจุวาระการประชุม เพราะหากส่งเร็วต้องบรรจุเร็ว และเมื่อบรรจุเร็วจะไม่ได้ทำการบ้าน ดังนั้น? คาดว่าจะส่งไปให้สภาบรรจุในวาระภายใน 1-2 วันนี้ เมื่อขอบรรจุไปแล้วจะไปต่อกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2565 โดยสภาจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ วันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. จากนั้นจะเป็นวันหยุด หากสะดวกและพร้อมพิจารณาต่อในวันที่ 4 มิ.ย.ได้เลย แต่ถ้าไม่พร้อมก็แล้วแต่
    ซักว่าการผ่านหรือไม่ผ่านร่าง พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ถือว่ามีผลกับรัฐบาลหรือไม่ นายวิษณุแจงว่า ถ้าผ่านก็มีผล? ถ้าไม่ผ่านก็ไม่มีผล ซึ่ง พ.ร.ก.ที่ผ่านไปก็มีผลบังคับใช้แล้ว เพียงแต่ว่าหากสภาไม่อนุมัติหรือไม่เห็นชอบ ?แปลว่าต้องหยุด
    ถามว่า หากร่าง พ.ร.ก.กู้เงินไม่ผ่านต้องยุบสภาหรือไม่? นายวิษณุกล่าวว่า "ใช่ ถูก โดยธรรมเนียม"
    ขณะที่นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผลการประชุม ส.ส.ของพรรคว่า พรรคได้รับการจัดสรรเวลาให้อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 138 นาที มี ส.ส.แจ้งความประสงค์อภิปรายหลายคน ซึ่งจะมีนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ, นายกนก วงษ์ตระหง่าน, นายเกียรติ สิทธีอมร นำทีม ส.ส.รวม 13 คน ในการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ และยึดประโยชน์ของประชาชนและประเทศเป็นสำคัญ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่จะได้อภิปรายเพื่อใช้ประโยชน์ในชั้นกรรมาธิการในวาระ 2 ต่อไป
    นายราเมศกล่าวด้วยว่า สำหรับ ส.ส.ของพรรคที่จะเป็นกรรมาธิการงบประมาณฯ นั้น มีจำนวน 6 คน ประกอบด้วย น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม, นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายสาคร เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่, นายชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช, นายเดชอิศม์ ขาวทอง ส.ส.สงขลา และ น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ กรรมการบริหารพรรค
      ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลจะใช้ภาษีประชาชนอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ การอ้างเรื่องการฟื้นฟูและเยียวยา เป็นเพียงวาทกรรมเท่านั้น แต่การเลี่ยงการตรวจสอบจากตัวแทนประชาชน คือเท่ากับว่าไม่ให้เกียรติประชาชน
     "การใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านที่ผ่านมา รัฐบาลใช้เงินกู้เพื่อสร้างระบอบประยุทธ์ ผ่านการซื้อเสียงล่วงหน้า ตามโครงการของรัฐบาล ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าเงินกู้ 500,000 ล้านบาท จะนำไปสร้างโครงการประชานิยม ขยายฐานเสียงทางการเมืองให้กับรัฐบาล รวมทั้งเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องนายทุนที่ใกล้ชิดระบอบประยุทธ์ ได้ประโยชน์มหาศาล มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่นำไปช่วยเหลือประชาชน นี่คือผลของระบอบประยุทธ์ มองผลประโยชน์ตัวเอง มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน สร้างหายนะให้ประเทศ ขยายความเหลื่อมล้ำในสังคม จนยากที่จะฟื้นฟูในอนาคต" ส.ส.น่านกล่าว
    ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันเดียวกันนี้ นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุมพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ซอฟต์โลน) โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการตรา พ.ร.ก.ดังกล่าวว่า สืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ความเสี่ยงด้านเครดิตการเงินของประเทศปรับสูงขึ้นมาก ที่ผ่านมาแม้ภาครัฐจะให้การช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาผลกระทบ แต่ผู้ประกอบการต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูกิจการนาน จึงต้องมีมาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลก และลดภาระหนี้ มาตรการต่างๆ ต้องทำโดยเร่งด่วนเพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก.ฉบับนี้    
    รมว.การคลังกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ประกอบด้วย 2 มาตรการคือ 1.มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสม และ 2.มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิซื้อทรัพย์สินนั้นคืนในภายหลัง (มาตรการพักหนี้) วงเงิน 1 แสนล้านบาท
     ขณะที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า รัฐบาลจะทำตัวเป็นผู้รู้ทุกอย่างไม่ได้ แต่ต้องฟังทุกภาคส่วน การปล่อยกู้ผ่านสถาบันการเงิน เราไม่มีการกำหนดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเชิงนโยบาย จึงไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ แต่เป็นนโยบายของแต่ละธนาคารที่กำหนดเอง และแม้ว่าการแก้ไขปัญหาเฉพะหน้าเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ แต่ต้องมองระยะยาวต่อไปในวันข้างหน้าด้วย
     นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยออก พ.ร.ก.ซอฟต์โลน มาแล้ว แต่ไม่ตอบโจทย์ ครั้งนี้เป็นรอบที่ 2 แต่กลับไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการอธิบายว่า อยากเห็นการปล่อยกู้เท่าไหร่อย่างไร มีแต่การบอกวัตถุประสงค์คร่าวๆ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการกำกับธนาคารต่างๆ ให้ปล่อยกู้ตามเป้าหมาย ธปท.ต้องเพิ่มมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ธนาคารต่างๆ ในการปล่อยสินเชื่อ เช่น ให้มีค่าธรรมเนียมพิเศษกรณีลูกหนี้ขอวงเงินต่ำกว่า 2 ล้านบาท ให้สถาบันการเงินของรัฐมีความเข้มแข็งมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ ตั้งคอลเซ็นเตอร์รวมถึงโครงการคลินิกช่วยกู้ เพื่อรับเรื่องให้คำปรึกษาระหว่างเอสเอ็มอีกับสถาบันการเงิน
    น.ส.วรรณวรี ตะล่อมสิน ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า เท่าที่ทราบและพูดคุยกับผู้ประกอบการมา ได้ยินถึงขนาดว่าคนที่เดินเข้ามาหาแบงก์เพื่อขอกู้  ร้อยทั้งร้อยแทบไม่มีใครได้กู้ ได้ยินแล้วพูดตรงๆ ว่าฟังแล้วทั้งเจ็บ ทั้งจุก ครั้งแล้วครั้งแล้ว ที่ธุรกิจเล็กๆ ธุรกิจที่เดือดร้อน ไม่มีโอกาสได้เข้าถึงวงเงินเยียวยาจริงๆ รัฐบาลสู้อุตส่าห์เตรียมวงเงินสูงถึง 350,000 ล้าน เพื่อพยุงธุรกิจ เขียน พ.ร.ก.อย่างสวยหรู อ่านแล้วดูดีมีความหวัง แต่มันไม่สำคัญ ในความเป็นจริงแบงก์ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามได้อย่างที่เขียน ขอให้นิยามซอฟต์โลนฉบับใหม่นี้ว่าซอฟต์โลนทิพย์
    ด้านนายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เชื่อว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวยังไม่สามารถทำให้สถาบันการเงินคลายความกังวลในการปล่อยกู้ได้ อีกทั้งการประกอบธุรกิจขณะนี้ พบว่าเกิดลักษณะซอมบี้ คอมปานี หรือธุรกิจผีดิบ ที่ไม่เติบโต และไม่ตาย เชื่อว่าธนาคารจะไม่ปล่อยเงินให้กู้ ซึ่งจากการติดตามของกรรมาธิการ พบว่ามีกลุ่มธุรกิจรายย่อยมาร้องเรียนกับกรรมาธิการ และเมื่อกลับไปยังภูมิลำเนา พบว่าธนาคารปฏิเสธไม่ร่วมทำการค้าด้วย ดังนั้นความคิดและทัศนคติของธนาคารไม่เหมาะสม.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"