'จาตุรนต์' เสนอ 6 แนวทางกระทุ้งรัฐบาลเปลี่ยนยุทธศาสตร์วัคซีน แก้วิกฤตโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

30 พ.ค. 2564  นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ส่งข้อความถึงรัฐบาลให้ เปลี่ยนยุทธศาสตร์วัคซีน  โดยมีเนื้อหาดังนี้

เปลี่ยนยุทธศาสตร์วัคซีน 

ประเทศไทยเจอกับโควิดรอบ 3 ในขณะที่กระจายวัคซีนได้น้อยมาก จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญทั้งเรื่องการรับมือกับโควิด การป้องกันการระบาด และเรื่องวัคซีนไปพร้อมกัน ที่สำคัญคือเรื่องภาพรวม ผมจึงเสนอให้รัฐบาลต้องปรับยุทธศาสตร์ให้ได้ 6 ข้อตามนี้อย่างเร่งด่วน

1.เข้าร่วมกับโครงการ COVAX
ยังไม่สายเกินไปครับที่ประเทศไทยจะร่วมโครงการ COVAX ถึงแม้ว่าตอนนี้หลายประเทศจะดำเนินการไปไกลมากแล้ว แต่ทั่วโลกก็ยังต้องอยู่กับโควิดไปอีกนาน ดังนั้นโครงการนี้จะช่วยให้เรามีโอกาสได้รับวัคซีนได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ที่สำคัญคือเขาให้ความสำคัญอย่างมากกับปัญหาเรื่องความเท่าเทียมในการกระจายวัคซีน จึงจะแนะนำเราได้ในเรื่องการกระจายอย่างเท่าเทียมภายในประเทศ
การร่วมกับ COVAX นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศที่ยากจน โดยจะเห็นว่าประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดีมากหลายประเทศเข้าร่วมโครงการ COVAX เช่นกัน จึงเป็นการเข้าร่วมทั้งช่วยเหลือประเทศอื่น และเป็นประเทศที่ถูกรับการช่วยเหลือกันไปกันมา

2. สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่พรมแดนติดกัน
ความสร้างร่วมมือตั้งแต่ระดับอาเซียน แต่ก็พบว่าไม่มีความร่วมมือเกิดขึ้นเลย ไทยจึงควรขยับลงมาดูความร่วมมือนระดับเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน อย่างมาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา ที่ต้องไปมาหาสู่เชื่อมกัน ดังนั้นตราบใดที่ยังมีโควิดในประเทศใดประเทศหนึ่งอยู่เรื่องก็ไม่จบ
จึงต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเป็นรูปธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน ทั้งในแง่กติกาการข้ามแดน ช่วยฉีดวัคซีนให้กัน ร่วมมือกันในการป้องกัน หรือเรื่องยาและการรักษา

3. หยุดผูกขาด และเร่งเพิ่มจำนวนวัคซีน
ยกเลิกนโยบายผูกขาดวัคซีน และรับรองวัคซีนที่ประเทศที่พัฒนาแล้วใช้อยู่ หรือได้รับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เพิ่มขึ้นอีกหลายยี่ห้ออย่างรวดเร็ว จากนั้นรัฐบาลเองต้องพยายามติดต่อและหาทางนำเข้าวัคซีนให้มากขึ้นกว่าที่วางแผนอยู่

4. ส่งเสริมเอกชนในการนำเข้าวัคซีน
ที่ผ่านมารัฐอ้างว่าผู้ผลิตวัคซีนไม่ต้องการขายให้กับเอกชน ที่สำคัญคือรัฐบาลบอกว่ารัฐบาลมีพอแล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง ซึ่งต้องยอมรับว่าเอกชนก็มีศักยภาพเพราะฉะนั้น รัฐบาลควรส่งเสริมให้เอกชนต้องนำเข้าและฉีดวัคซีนให้ประชาชน
โดยรัฐบาลอาจจะให้เงินสนับสนุนประชาชนที่ไปฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่าน Application ก็ได้ เพื่อที่จะแก้ปัญหาเรื่องการฉีดวัคซีนจะต้องเป็นคนมีตังค์เท่านั้นถึงจะฉีดได้
และทั้งหมดนี้ต้องไม่กลัวว่าวัคซีนจะล้นเกิน เพราะเรายังต้องดูแลประชาชนอีกมากโดยเฉพาะในเวลาที่เราเปิดประเทศ เราสามารถใช้วัคซีนฉีดให้ผู้ที่มาจากต่างประเทศก็ได้ หรือใช้วัคซีนสำหรับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านด้วยก็ได้

5. เปิด Timeline ในการนำเข้าและกระจายวัคซีน
เราก็ต้องทำ Timeline ว่าจะมีวัคซีนเข้ามาช่วงไหน เมื่อไหร่ จำนวนเท่าไหร่ ให้เกิดความชัดเจนเพื่อให้ทั้งระบบสามารถวางแผนได้และประชาชนรู้ได้ว่าจะต้องทำตัวอย่างไร

6. กำหนดหลักเกณฑ์ในการกระจายวัคซีนให้ชัดเจน
อาจจะดูจากเกณฑ์จังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง คนเข้าออกพื้นที่เสี่ยงที่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข บุคลากรที่เป็นด่านหน้าในการทำงานที่พบประชาชน บุคลากรที่เป็นด่านหน้าในพื้นที่เศรษฐกิจท่องเที่ยวหรือเศรษฐกิจแบบบริการ ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยง

มันควรจะต้องมีหลักเกณฑ์ทั่วไปอยู่ชุดหนึ่ง แล้วก็ให้แต่ละจังหวัดเอาไปประยุกต์เข้ากับพื้นที่ที่ต่างกัน แต่เวลานี้แต่ละจังหวัดก็รับวัคซีนในจำนวน วิธีการและหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป บางกรณีไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่ามีหลักเกณฑ์อะไรกันแน่
ทั้งหมดนี้ทำยากถ้าหากว่ายังไม่มีความชัดเจนว่าวัคซีนจะเข้ามาเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นทั้ง 2 เรื่องก็ต้องสัมพันธ์กันคือวัคซีนจะเข้ามาเมื่อไหร่ จะจ่ายด้วยหลักเกณฑ์อย่างไร

ซึ่งเรื่องนี้ถ้ารัฐไม่มีองค์ความรู้พอ ก็ย้อนกลับไปที่ข้อหนึ่งได้ คือขอความร่วมมือและคำแนะนำ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"