รวมพล...คนรักคลองลาดพร้าวเดินหน้าสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม-บ้านประชารัฐริมคลอ


เพิ่มเพื่อน    

รัฐบาลเดินหน้าจัดระเบียบพื้นที่ริมคลองลาดพร้าว  เร่งสร้างเขื่อนระบายน้ำคลองลาดพร้าวเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯสร้างบ้านประชารัฐรองรับประชาชนที่รุกล้ำลำคลอง  ‘เสธ.ไก่อูนำทัพทีมประชาสัมพันธ์ลงพื้นที่ชุมชนริมคลองสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนเพื่อเปิดพื้นที่สร้างเขื่อน-สร้างบ้าน  จัดกิจกรรม On Ground ลงพื้นที่เสาร์ที่ 2 มิถุนายนนี้  ขณะที่การสร้างเขื่อนฯ คืบหน้า 35.15 %  สร้างบ้านแล้ว 29  ชุมชน รวม 2,656  ครัวเรือน

จากเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2554  ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการระบายน้ำในคลองสายหลักในเขตกรุงเทพฯ ไม่มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากมีบ้านเรือนปลูกสร้างรุกล้ำลงไปในคลองเป็นจำนวนมาก รัฐบาล คสช. โดยคณะกรรมการอำนวยการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะ ซึ่งมีพลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ  เป็นประธาน  จึงมีนโยบายจัดระเบียบสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะ เริ่มที่คลองลาดพร้าวเป็นแห่งแรก 

โดยมอบหมายให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบการสร้างเขื่อนระบายน้ำคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วมในคลองลาดพร้าว  ระยะทาง (ทั้งสองฝั่ง) 45.3 กิโลเมตร  ความกว้างของแนวเขื่อน 25 - 38 เมตร  และขุดลอกคลองให้ลึกกว่าเดิม 4 เมตร  มีเป้าหมายแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน  2562

ขณะที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ  ‘พอช.’ จัดทำแผนงานรองรับชาวชุมชนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนรุกล้ำที่ดินราชพัสดุและรุกล้ำคลองลาดพร้าว  ตามแผนงาน บ้านประชารัฐริมคลองลาดพร้าว เพื่อสนับสนุนการสร้างบ้านใหม่รองรับประชาชน รวมทั้งหมด 50 ชุมชน จำนวน  7,069 ครัวเรือน  

เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน  5,101 ครัวเรือน ยังไม่เข้าร่วม  1,740  ครัวเรือน ทำให้โครงการดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามแผนงาน  เนื่องจากยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ให้ความร่วมมือ  ไม่ยอมรื้อย้ายบ้านออกจากแนวก่อสร้างเขื่อนฯ  ทำให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างเขื่อนฯ เข้าไปตอกเสาเข็มไม่ได้  ขณะที่การสร้างบ้านในชุมชนเดิมก็มีความล่าช้าเพราะต้องปรับผังชุมชนใหม่เพื่อสร้างบ้านใหม่  แต่ติดขัดบ้านเรือนที่ยังไม่เข้าร่วม

เสธ.ไก่อูนำทัพลงพื้นที่ดึงประชาชนร่วมพัฒนาคลองลาดพร้าว 

พลโทสรรเสริญ­  แก้วกำเนิด หรือเสธ.ไก่อู

รักษาราชการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์  ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการรณรงค์และสร้างการรับรู้  การบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะ  จึงลงพื้นที่เพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับชาวชุมชนริมคลอง  เพื่อให้ประชาชนที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการเห็นความสำคัญ­ของการพัฒนาคลอง  เห็นประโยชน์ของส่วนรวม  รวมถึงประโยชน์ของครอบครัวและอนาคตของลูกหลานในการรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวคลอง  เพื่อก่อสร้างบ้านใหม่

ที่มั่นคง  สวยงาม  มีสั­­ญญาเช่าระยะยาวและถูกต้องจากกรมธนารักษ์ในฐานะหน่วยงานเจ้าของที่ดิน

โดยเริ่มที่ชุมชนรุ่นใหม่พัฒนา  เขตบางเขน  และชุมชนชายคลองบางบัว  เขตหลักสี่  เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา  พร้อมด้วยผู้อำนวยการเขตหลักสี่  ผอ.เขตบางเขน นายธนัช  นฤพรพงศ์ 

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอชเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารชุดมวลชนสัมพันธ์  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขต  และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร  ฯลฯ  ประมาณ 100 คน  ร่วมชี้แจงสร้างความเข้าใจกับประชาชน

นอกจากนี้ในวันที่  2 มิถุนายนนี้   กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เช่น กรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  ตำรวจ  ทหาร ฯลฯ จัดกิจกรรม ‘On Ground’ ครั้งที่ 1 คืนความสุขให้คนคลอง  คืนสายคลองให้คนเมืองที่ชุมชนรุ่นใหม่พัฒนา เขตบางเขน เพื่อให้ประชาชนเห็นประโยชน์และความสำคั­ญของการพัฒนาคลองลาดพร้าว โดยจะมีกิจกรรมตั้งแต่เวลา 14.00-18.30 เช่น  ดนตรีกลางคลอง  มีศิลปินแห่งชาติแม่ขวั­จิต  ศรีประจันต์’ , ‘โฉมฉาย  อรุณฉาน วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์แสดงบนแพลากจูง 

การล่องเรือตรวจเยี่ยมโครงการ  จากวัดบางบัว-ชุมชนรุ่นใหม่พัฒนา  มีผู้ว่า กทมรักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์  ผู้บริหาร พอชผู้แทน คสชตำรวจ  กรมธนารักษ์ ฯลฯ เข้าร่วม  มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดในชุมชน ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ตัดผมฟรี เวทีเสวนา การแข่งขันพายเรือหรรษา ร่วมรับประทานอาหารเย็น ฯลฯ  คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน

พลโทสรรเสริญ­  แก้วกำเนิด  กล่าวว่า  ที่ผ่านมามีนักการเมืองบางคนไปบอกกับชาวบ้านชุมชนริมคลองลาดพร้าวว่า  คนที่สร้างบ้านเรือนบุกรุกแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับเงินชดเชยจาก กทม.รายละแสนกว่าบาท  แต่คนที่อยู่ริมคลองไม่ได้รับเงินชดเชย  ถือว่าเป็นความเหลื่อมล้ำ  แต่ข้อเท็จจริงคนที่บุกรุกแม่น้ำเจ้าพระยามีประมาณร้อยกว่าราย  ส่วนชุมชนริมคลองมีการบุกรุกกว่า 1,600  คลอง  มีผู้บุกรุกกว่า  30,000 ครอบครัว  หากจะจ่ายชดเชยต้องใช้เงินกว่า 6,000 ล้านบาท  ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล  ต้องดึงเอามาจากภาษีรายได้เพื่อพัฒนาประเทศ  ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

เดิมพื้นที่ริมคลองเป็นที่ดินราชพัสดุ  ไม่อนุ­ญาตให้ใครอยู่อาศัย  แต่ตอนนี้รัฐบาลจะให้ประชาชนอยู่อย่างถูกกฎหมาย  เสียค่าเช่าประมาณปีละ  100 บาท  และมีเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 147,000 บาท  เพื่อใช้ในการรื้อย้าย  สร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว  เป็นค่าเดินทางไปทำงาน  และสร้างบ้านใหม่  โดยมีสินเชื่อให้กู้รายละ 330,000-360,000 บาท  และผ่อนเดือนละ 1,000-3,000 บาทต่อเดือน  เพื่อให้ประชาชนมีบ้านใหม่ที่สวยงาม  เป็นการสร้างอนาคตให้ลูกหลาน  แต่ผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือก็จะต้องเข้าร่วมโครงการ  หากไม่เข้าร่วมก็จะอยู่ไม่ได้  เพราะผิดกฎหมาย  และจะต้องถูกดำเนินคดีด้วย”  พลโทสรรเสริญ­กล่าว

 

กรมธนารักษ์แจ้งความดำเนินคดีรุกล้ำที่สาธารณะแล้ว  73 ราย

ส่วนผู้ที่ยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เข้าร่วมโครงการรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวคลองเพื่อเปิดพื้นที่ให้การก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำและก่อสร้างบ้านใหม่นั้น  มีทั้งหมด  1,740  ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ชุดมวลชนสัมพันธ์และผู้นำชุมชนเข้าเจรจาเป็นรายครัวเรือน  ทำให้มีผู้เปลี่ยนใจเข้าร่วมรวม 55 ราย  

ส่วนผู้ที่เป็นแกนนำขัดขวางการดำเนินงาน  เนื่องจากมีผลประโยชน์  เช่น  เป็นเจ้าของบ้านเช่า  หอพัก  ร้านค้า  ร้านอาหาร ฯลฯ  กรมธนารักษ์ในฐานะเจ้าของที่ดินราชพัสดุได้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว  73  ราย  ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตราโดยการเข้าไปยึดถือครองที่ดินของรัฐ  ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน  เช่น  ที่ริมตลิ่ง  ทางน้ำ คลอง ฯลฯ  มีโทษตามกฎหมายที่ดินและกฎหมายอา­จมีอัตราโทษจำคุก  3 - 5 ปี

ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการในชั้นอัยการ  และจะดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่อีกประมาณ 78 ราย

ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม  ระยะทาง  2  ฝั่ง  รวม 45.3  กิโลเมตร  บริษัทริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง  จำกัด ประมูลงานได้ในวงเงิน  1,645 ล้านบาท  ขณะนี้มีความคืบหน้าประมาณ  35.15 %  โดยบริษัทตอกเสาเข็มเพื่อเป็นรากฐานเขื่อนไปแล้วเป็นระยะทาง 15.85    กิโลเมตร  จำนวนเสาเข็มที่ตอกแล้ว  21,091  ต้น   จากจำนวนเสาเข็มทั้งหมดประมาณ 60,000 ต้น   ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่าแผนงาน  

อย่างไรก็ตาม  คณะอนุกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ริมคลองลาดพร้าว ซึ่งมีพลเอก

เฉลิมชัย  สิทธิสาท  ผู้บั­ชาการทหารบกเป็นประธานฯ  ได้เดินทางมาตรวจพื้นที่โครงการในเขตสายไหมเมื่อวันที่ 15 .. ที่ผ่านมา และเร่งรัดให้บริษัทรับเหมาตอกเสาเข็มให้ได้อีก 5,500 ต้น  หรือคิดเป็นระยะทางประมาณ  4,133  เมตร  ภายในเดือนสิงหาคมนี้  

ทั้งนี้การก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตระบายน้ำจะเริ่มจากบริเวณอุโมงค์เขื่อนพระราม 9  (ใกล้คลองแสนแสบ  เขตวังทองหลาง) ไปยังประตูระบายน้ำคลองสองสายใต้  เขตสายไหม  ความยาวทั้งหมด (ทั้งสองฝั่ง) ประมาณ 45 กิโลเมตร  ความกว้างของเขื่อน 25 - 38 เมตร นอกจากนี้ก็จะขุดลอกคลองให้ลึกกว่าเดิมอีก 4 เมตร เพื่อให้การระบายน้ำคล่องตัว 

ตามแผนงานจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน  2562  ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จน้ำในคลองลาดพร้าวจะไหลเข้าสู่อุโมงค์เขื่อนพระราม 9 และอุโมงค์ลอดใต้คลองบางซื่อ  เพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและไหลลงสู่ทะเลต่อไป   โดยสำนักการระบายน้ำ กทม.ระบุว่าจะทำให้ประสิทธิภาพในการระบายน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 1 เท่าตัว..!!            

คลองลาดพร้าวมีความยาวประมาณ  22 กิโลเมตร  เชื่อมกับคลองแสนแสบบริเวณอุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9 เขตวังทองหลาง (ใกล้ทางด่วนเอกมัย-รามอินทราตลอดเส้นทางที่คลองลาดพร้าวไหลผ่านจะมีชื่อเรียกต่างกันตามย่านที่มีวัดหรือชุมชนตั้งอยู่  เช่น  เมื่อผ่านวัดลาดพร้าวเรียกว่าคลองลาดพร้าว”  ผ่านชุมชนวังหิน (เขตจตุจักร) เรียกว่า คลองวังหินผ่านวัดบางบัว (เขตบางเขน) เรียกว่า

คลองบางบัว”  จนไปบรรจบกับคลองสอง  เขตสายไหม

 

รากเหง้าชุมชนคนริมคลองลาดพร้าว 

ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคลองลาดพร้าวขุดขึ้นมาในสมัยใด  แต่สันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับการขุดคลองแสนแสบ  (คลองแสนแสบเริ่มขุดในปี พ..2380  ในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงทัพในสงครามระหว่างสยามกับ­ญวน  เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับบางปะกงโดยเฉพาะหากพิจารณาจากการตั้งถิ่นฐานของบ้านเรือนและวัด  ซึ่งส่วนให­ญ่มักจะสร้างอยู่ริมแม่น้ำและลำคลอง  พบว่า  วัดบางบัวที่ตั้งอยู่ริมคลองลาดพร้าว (เขตบางเขน) สร้างขึ้นในราวปี 2380  และวัดลาดพร้าวสร้างขึ้นในปี 2410

ในขณะที่แรงงานในการขุดคลองแสนแสบ (รวมถึงการขุดแก้คลองพระโขนงและคลองซอยต่างๆ) ซึ่งมีทั้งแรงงานที่ถูกกองทัพสยามกวาดต้อนเข้ามาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์  เช่น  ชาวจาม (มุสลิม) จากเขมร  ชาวลาว  ชาวมลายูจากปัตตานี  และแรงงานรับจ้างชาวจีน   เมื่อการขุดคลองเสร็จในอีก 3 ปีถัดมา (..2383-2384)  ทางราชการจึงให้แรงงานเหล่านี้ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ริมคลอง  โดยเฉพาะชาวมุสลิม  ไล่ตั้งแต่ชุมชนบ้านครัว (ชาวจามจากเขมร) ริมคลองแสนแสบย่านมหานาค  ลงมาจนถึงคลองตัน  บางกะปิ  มีนบุรี  และหนองจอก  รวมทั้งในย่านคลองตันเชื่อมกับคลองพระโขนง  และคลองลาดพร้าวก็มีชุมชนมุสลิมตั้งกระจายอยู่ตลอดแนวคลองเช่นกัน

จากประวัติของชุมชนมุสลิมสามอิน  เล่าสืบทอดกันมาว่า  ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์   ผู้นำชาวมุสลิมจำนวนหนึ่งได้นำครอบครัวจากปัตตานีและกรุงศรีอยุธยาบางส่วนมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ที่ริมคลองแห่งหนึ่ง (คลองสามอิน) ซึ่งเป็นคลองย่อยที่เชื่อมกับคลองตัน  ซึ่งต่อมาเรียกว่า บ้านสามอิน  มีสุเหร่าสามอิน (มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม) เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ (ปัจจุบันอยู่ในซอยสุขุมวิท 71  เขตวัฒนา  อยู่ใกล้คลองตัน-คลองพระโขนง)  

ส่วนคำว่าสามอิน แผลงมาจากคำว่า

สะมะอีน  ซึ่งเป็นชื่อของผู้นำมุสลิมคนแรกของที่นี่ โดยผู้คนที่เดินทางผ่านไปมา  เมื่อผ่านทางนี้และทักทายกัน  ถามว่าไปไหน  ก็จะบอกว่าไปบ้านสะมะอีน”  จนกลายเป็นสามอินต่อมาเมื่อมีผู้คนอยู่อาศัยกันหนาแน่น  ชาวมุสลิมจากบ้านสามอินจึงได้ขยายครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองแสนแสบ (ซอยนวลน้อยคลองตัน  คลองลาดพร้าว  คลองจั่น  และคลองซอยต่างๆ ซึ่งในสมัยเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน  พื้นที่แถบนี้ก็คือ  ‘ทุ่งบางกะปิที่กว้างใหญ่­่นั่นเอง

      

ชุมชนมุสลิมในคลองลาดพร้าว

ฮาซัน  แสงจันทร์ อายุ 62 ปี  ผู้นำชุมชนริมคลองลาดพร้าวประชาอุทิศ เขตห้วยขวาง (ใกล้แยกเหม่งจ๋าย) เล่าว่า  ชาวมุสลิมที่นี่ส่วนใหญ­่มีพื้นเพมาจากชุมชนสามอิน   เชื้อสายชาวปัตตานี  ตนเองเกิดที่นี่  พ่อแม่และปู่ย่าตายายก็เกิดที่นี่  อยู่อาศัยต่อเนื่องมานานไม่ต่ำกว่า  100 ปี  เมื่อสมัยก่อนที่นี่ยังเป็นทุ่งนา  ชาวบ้านส่วนใหญ­่มีอาชีพทำนา  แต่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง  ต้องเช่านาทำ  หรือเป็นลูกจ้างทำนา  ได้ค่าจ้างเป็นข้าวเปลือกปีละ 10-15 ถัง และหาปลาในคลองลาดพร้าว  เพราะเมื่อก่อนน้ำในคลองยังสะอาด  อาบน้ำในคลอง  น้ำกินก็ใช้น้ำคลองตักใส่ตุ่มแล้วเอาสารส้มมากวนปล่อยให้ตกตะกอน  หรือรองน้ำฝนเอาไว้กิน

เมื่อก่อนชาวบ้านจะหาปลาด้วยการยกยอในคลอง  ปลาที่มีมาก  คือปลาหมู  กุ้งก้ามกราม  ปลาช่อนก็มีเอาไปขายที่ตลาดห้วยขวางกิโลฯ ละ 6 บาท  พอปี 2515-2516  น้ำในคลองเริ่มเน่าเสีย  เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งโรงงานอยู่แถวซอยลาดพร้าว 80 แล้วปล่อยน้ำเสียลงคลอง ทำให้น้ำในคลองเริ่มเน่า  ปลาจึงหายไป  ส่วนการทำนาก็เลิกทำประมาณช่วงปี 2526 เพราะที่ดินเริ่มแพง

เจ้าของจึงขายที่นา  อีกอย่างก็คือ  หนูนามันเยอะ  ทำนาสู้หนูไม่ได้  จึงต้องเลิกทำ ลุงฮาซันเล่าย้อนอดีต

ครอบครัวของลุงฮาซันที่ชุมชนริมคลองลาดพร้าวประชาอุทิศ เป็นตัวอย่างหนึ่งของชาวมุสลิมที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ริมคลองลาดพร้าว  ปัจจุบันมีชุมชนมุสลิมตั้งอยู่หลายชุมชน  เช่น  ชุมชนลาดพร้าว 80 (มัสยิดอีมาร่อตุ๊ดดิน) ชุมชนร่วมมิตรแรงศรัทธา ใกล้ตลาดยิ่งเจริญ­ (เขตดอนเมืองฯลฯ  รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000  ครัวเรือน

 

จากทุ่งนากลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร

นอกจากชุมชนมุสลิมในคลองลาดพร้าวที่ตั้งรกรากมานานนับร้อยปีแล้ว  มีหลายชุมชนในคลองลาดพร้าวที่มีชาวไทยพุทธปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่มานานไม่น้อยกว่ากัน  โดยเฉพาะชุมชนที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดลาดพร้าวและวัดบางบัวซึ่งเป็นวัดที่ปลูกสร้างมานานไม่ต่ำกว่า 150 ปี  เช่น  ชุมชนหลัง ว..จันทรเกษม (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)

คุณตาแฉล้ม  วงศ์ขวั­ อายุ 79 ปี  เล่าว่า  ตนเองเกิดที่ริมคลองลาดพร้าว  พ่อแม่อยู่ที่นี่มานานไม่ต่ำกว่า  100  ปี  ครอบครัวเช่าที่ดินทำนามาตั้งแต่ตนจำความได้  เมื่อก่อนใช้ควายไถนา น้ำในคลองยังสะอาด  กุ้ง  ปลายังสมบูรณ์  มีมากมาย  ทั้งตะเพียน  ปลาช่อน  ปลาหลด  ปลาหมอโค้ว  กุ้งก้ามกรามขนาด 3 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม  ผักก็หาได้จากในคลอง  เช่น  ผักบุ้ง  หากินได้ไม่อดอยาก  เวลามีงานบุญ­ประเพณีหรือเทศกาลสำคั­ญทางศาสนา  ชาวบ้านจะพายเรือไปทำบุญ­ที่วัดลาดพร้าวหรือวัดบางบัวเพราะมีระยะทางพอๆ กัน  เมื่อก่อนยังมีเรือพาย  เรือสำปั้นมาขายผลไม้ในคลอง  แต่ตอนหลังก็หายไป  เพราะมีตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้น  การเดินทางด้วยรถยนต์สะดวกกว่า  เรือจึงค่อยๆ หายไปจากคลอง

ผมเลิกทำนาประมาณปี 2520 เพราะที่ดินแถวนี้เจริ­ญขึ้น  มีหมู่บ้าน  มีหอพักนักศึกษาเกิดขึ้น  เจ้าของจึงขายที่นาออกไป  อีกทั้งการทำนาก็ไม่ค่อยได้ผล  เพราะพื้นที่รอบๆ กลายเป็นตึกหมดแล้ว  น้ำในคลองก็เริ่มเน่าเสีย  เพราะน้ำจากท่อระบายน้ำ  ท่อน้ำทิ้งต่างๆ ก็ไหลลงคลอง  ปูปลาจึงหนีไปอยู่ที่อื่น  คุณตาแฉล้มเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ปัจจุบันย่านลาดพร้าว-โชคชัย 4-วังหิน  ซึ่งเมื่อก่อนเป็นทุ่งนาทั้งแถบ  วันนี้กลายเป็นย่านพักอาศัย  มีหมู่บ้านจัดสรร  คอนโดฯ  อาคารพาณิชย์  ร้านอาหาร  แหล่งบันเทิง  ฯลฯ เกิดขึ้นหนาแน่น  จนมองไม่เห็นสภาพทุ่งนาในอดีตอีกต่อไป ..!!

สำเนียง  บุญ­ลือ  อายุ 62 ปี  ผู้นำชุมชนร่วมใจพิบูล  2  (ตั้งอยู่ด้านหลังโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์-ถนนลาดพร้าว) เขตห้วยขวาง  เล่าว่า  ครอบครัวของตนเมื่อก่อนก็ทำนาเหมือนกัน  สมัยก่อนในคลองลาดพร้าวยังมีโรงสีรับซื้อข้าวอยู่ 2 โรง   ตอนหลังเมื่อมีหมู่บ้านจัดสรรมากขึ้น  ที่นาเปลี่ยนมือ  โรงสีจึงเลิกไป 

สมัยก่อนบ้านเรือนริมคลองลาดพร้าวยังไม่หนาแน่น  ชุมชนพิบูลยังมีบ้านไม่กี่หลังคาเรือน  คนที่ปลูกบ้านอยู่ก็จะเป็นคนดั้งเดิม  เป็นชาวนา  ปลูกบ้านอยู่ริมคลอง  แต่ตอนหลังแถบห้วยขวาง-ลาดพร้าวเจริญ­ขึ้น  คนที่มีบ้านอยู่ริมคลองก็ชักชวน­ญาติพี่น้องจากที่อื่นเข้ามาอยู่  บางคนแต่งงานก็ขยายครอบครัวออกไปปลูกบ้านใหม่ขึ้นมา  บ้างก็เป็นคนจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ตอนหลังจึงเริ่มมีบ้านเช่า  ชุมชนของผมเริ่มมีบ้านเรือนหนาแน่นตั้งแต่ช่วงปี 2526-2527  เป็นต้นมาลุงสำเนียงเล่าถึงการเติบโตของชุมชนฯ

ปัจจุบันชุมชนร่วมใจพิบูล มีบ้านเรือนทั้งหมด  224 ครัวเรือน  จำนวนชาวบ้านประมาณ  1.200  คน  ส่วนให­ญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป  พนักงานบริษัท-ห้างร้าน  มอเตอร์ไซค์รับจ้าง  และค้าขายเล็กๆ น้อยๆ

ชุมชนร่วมใจพิบูล  2  เป็นตัวอย่างหนึ่งของการขยายตัวของชุมชนริมคลองลาดพร้าว  บางชุมชนปลูกสร้างบ้านเรือนมาก่อนปี 2500  ซึ่งสมัยนั้นกรมชลประทานยังดูแลที่ดินริมคลอง  เพราะคลองลาดพร้าวขุดเพื่อการเกษตรและชลประทาน  แต่เมื่อการทำนาหมดไป  กรมชลประทานจึงไม่ได้ดูแลพื้นที่ริมคลอง  ที่ดินริมคลองปัจจุบันเป็นที่ดินราชพัสดุอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์

จากชุมชนเล็กๆ จนขยายกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ­่ที่มีบ้านเรือนปลูกสร้างเรียงรายไปตามลำคลอง  บางชุมชนที่มีพื้นที่คับแคบ  คนที่มาอยู่ทีหลังหรือมีครอบครัวขยายจึงปลูกสร้างบ้านรุกล้ำลงไปในคลอง  ทำให้ลำคลองแคบลง   ปัจจุบันคลองลาดพร้าวมีชุมชนต่างๆ ตั้งเรียงรายอยู่ใน 8 เขต  คือ  เขตวังทองหลาง  ห้วยขวาง  ลาดพร้าว  จตุจักร  บางเขน  หลักสี่  ดอนเมือง  และสายไหม  รวม  50  ชุมชน  ประมาณ 7,069 ครัวเรือน

      

    

(พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อน และบ้านริมคลองที่เขตสายไหม เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา)

 

พอช.หนุนสร้างบ้านประชารัฐริมคลองลาดพร้าว 50 ชุมชน 7,069 ครัวเรือน  สร้างเสร็จแล้ว 2,656 ครัวฯ

ธนัช  นฤพรพงศ์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’  กล่าวถึงแผนงานโครงการ ‘บ้านประชารัฐริมคลอง’ ว่า  ตามแผนงานรองรับชาวชุมชนที่ต้องรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวก่อสร้างเขื่อนฯ ในคลองลาดพร้าว  ซึ่งชาวบ้านปลูกบ้านเรือนอยู่ในที่ดินราชพัสดุและบางส่วนปลูกสร้างรุกล้ำลงไปในคลอง  มีทั้งหมด 50 ชุมชน  จำนวน  7,069   ครัวเรือน  อยู่ในพื้นที่  8 เขต   คือ  วังทองหลาง  ห้วยขวาง  ลาดพร้าว  จตุจักร  บางเขน  หลักสี่  ดอนเมือง  และสายไหม 

เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559    โดยมี  42 ชุมชนที่อยู่อาศัยในที่ดินเดิมได้หลังจากที่รื้อย้ายบ้านออกจากแนวก่อสร้างเขื่อนฯ  ขณะนี้บางชุมชนก่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว   ส่วนอีก 8 ชุมชนมีพื้นที่ไม่พอเพียงจึงต้องจัดซื้อที่ดินใหม่  เป็นที่ดินเอกชนอยู่ในเขตสายไหม  และที่ดินของบริษัทบริหารสินทรัพย์  กรุงเทพพาณิชย์  จำกัด (มหาชน)  -ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

“ตอนนี้มีบ้านที่ก่อสร้างเสร็จทั้งในชุมชนเดิมและชุมชนที่ซื้อที่ดินใหม่  รวม 29  ชุมชน  จำนวน  2,656 ครัวเรือน  คิดเป็น  37.57 % ของจำนวนบ้านทั้งหมด ของจำนวนบ้านทั้งหมด ก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 1,223 ครัวเรือน และมีเป้าหมายภายในเดือนธันวาคม 2561 จะก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จอีก   27 โครงการ   รวม 1,660  ครัวเรือน  ส่วนที่เหลือจะดำเนินการในปีต่อไป”  ธนัชกล่าว

ยึดชาวบ้านเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหา 

โครงการบ้านประชารัฐริมคลองดำเนินแนวทางตามโครงการบ้านมั่นคงของ พอช.  ซึ่ง พอช.ทำโครงการบ้านมั่นคงเพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยมาตั้งแต่ปี 2546  หลักการสำคัญคือ ให้ชาวชุมชนริมคลองรวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหา   เป็นการพัฒนาแนวใหม่  ไม่ใช่รูปแบบของการสงเคราะห์หรือหน่วยงานรัฐเข้าไปสร้างบ้านให้ชาวบ้านแบบให้เปล่า  แต่ให้ชุมชนหรือชาวบ้านมีส่วนร่วมและเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหา 

เช่น  รวมกลุ่มกันโดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา  เพื่อสำรวจข้อมูลปัญหาและความต้องการ  ช่วยกันออกแบบบ้าน  วางผังชุมชน   จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และสหกรณ์เคหสถานเพื่อเป็นทุนในการสร้างบ้านหรือจัดซื้อที่ดิน  และร่วมกันบริหารโครงการ  ฯลฯ  โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนด้านความรู้และความช่วยเหลือ  เช่น  พอช.ส่งสถาปนิกเข้าไปให้คำแนะนำแก่ชุมชน  เรื่องการออกแบบบ้าน  ออกแบบผังชุมชน  กรมส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปให้ความรู้เรื่องการจัดตั้งสหกรณ์เคหสถาน  ฯลฯ

ส่วนรูปแบบในการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐริมคลอง  คือ  1. หากชุมชนใดสามารถอยู่ในที่ดินเดิมได้  (หลังจากสำรวจและวัดแนวเขตว่าพ้นจากแนวเขื่อนฯ แล้ว) จะต้องทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ ระยะเวลาช่วง แรก 30 ปี (สามารถต่อสัญญาได้ครั้งละ 30 ปีตามระเบียบของกรมธนารักษ์) อัตราค่าเช่าประมาณ 1.25 - 4  บาท/ตารางวา/เดือน (ขึ้นอยู่กับทำเล) และเนื่องจากพื้นที่ชุมชนริมคลองมีจำกัด  ดังนั้นครอบครัวใดที่เคยครอบครองที่ดินมากก็จะต้องเสียสละแบ่งปันที่ดินให้ครอบครัวอื่นๆ ได้อยู่อาศัยร่วมกัน  โดยการแบ่งที่ดินให้แต่ละครอบครัวเท่ากัน  ขนาดบ้านประมาณ  4x6 - 4x8 ตารางเมตร  มีทั้งบ้านชั้นเดียวและ  2  ชั้น  (บางชุมชนมี 3 ชั้น) ขึ้นอยู่กับความต้องการของชาวบ้านและความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อ

โดย พอช.จะสนับสนุนเรื่องสินเชื่อไม่เกิน 330,000 บาท/ครัวเรือน (กรณีสร้างบ้านในชุมชนเดิม) ระยะเวลาผ่อน 20 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 4 บาทต่อปี รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณสร้างสาธารณูปโภคครัวเรือนละ 75,000 บาท เงินอุดหนุนและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบครัวเรือนละ 72,000 บาท  รวมเป็นเงิน 147,000 บาท/ครัวเรือน   โดยใช้วิธีการจ่ายผ่านสหกรณ์เคหสถานที่ชาวบ้านร่วมกันจัดตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารโครงการ

               2. หากชุมชนใดมีพื้นที่ไม่เพียงพอ  ชาวบ้านอาจจะรวมตัวกันไปหาที่ดินแปลงใหม่ที่อยู่ไม่ไกลจากชุมชนเดิม เพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพ การเดินทาง สถานศึกษา เช่น ที่ดินของบริษัทในสังกัดกระทรวงการคลัง หรือที่ดินเอกชน โดย พอช.จะให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินและสร้างบ้านครัวเรือนละไม่เกิน 360,000 บาท และช่วยเหลือเหมือนกับข้อ 1

               3.หากไม่มีที่ดินที่เหมาะสม พอช.จะประสานกับการเคหะแห่งชาติเพื่อหาที่อยู่อาศัยรองรับชาวชุมชน  เช่น  โครง การบ้านเอื้ออาทร แฟลตการเคหะ  ฯลฯ

                ส่วนการสร้างบ้านนั้น  ชุมชนจะคัดเลือกบริษัทหรือผู้รับเหมามาสร้างบ้านทั้งชุมชน  มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา  เพื่อแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ  เช่น  สืบราคา  จัดซื้อวัสดุ  ตรวจสอบ  จัดทำบัญชี  ฯลฯ  เพื่อให้การก่อสร้างบ้านและบริหารโครงการเป็นไปด้วยความโปร่งใส

                สำหรับชาวชุมชนที่ไม่มีรายได้  ผู้ด้อยโอกาส  หรือผู้สูงอายุ  ที่ไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระเพื่อก่อสร้างบ้านใหม่นั้น   ธนัชกล่าวว่า  ที่ผ่านมามีหลายชุมชนที่ชาวบ้านร่วมกันลงขันครัวเรือนละ 1,000  บาท  เพื่อก่อสร้างบ้านกลางให้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ด้อยโอกาส  เช่น  ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ  ชุมชน กสบ.หมู่ 5  เขตสายไหม  ชุมชนหลัง ว.ค.จันทรเกษม  เขตจตุจักร  ฯลฯ

“ดังนั้นหากชุมชนใดมีผู้ด้อยโอกาสก็จะต้องปรึกษาหารือกันว่าจะช่วยเหลือกันอย่างไร  ส่วน พอช.ก็จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่  เช่น  อาจจะประสานหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆ  ที่มีกิจกรรม CSR  หรือคืนกำไรสู่สังคมเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้   ตามหลักการของกระทรวง พม.และ พอช.  คือ ‘เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’  ยิ่งจน  ยิ่งเดือดร้อน  เราก็จะต้องช่วยเหลือ”  ธนัชกล่าว

สานพลังประชารัฐสร้างบ้านริมคลอง

การสนับสนุนให้ประชาชนเป็นแกนหลักในการบริหารจัดการบ้านประชารัฐและพัฒนาพื้นที่ริมคลองนั้น  ไม่ใช่ พอช.จะมีบทบาทเพียงหน่วยงานเดียว  แต่ยังมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมสนับสนุนการพัฒนา  ไม่ต่ำกว่า 16  หน่วยงาน  เป็น การสานพลังประชารัฐ  ตามนโยบายของรัฐบาล  เช่น  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  กองทัพบก และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ส่งเจ้าหน้าที่ชุดมวลชนสัมพันธ์เข้าไปสร้างความเข้าใจกับชาวชุมชนริมคลอง 

(รูป 10)

การประปานครหลวง  การไฟฟ้านครหลวง  สนับสนุนการติดตั้งระบบประปา-ไฟฟ้าในชุมชน  กรมส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปสนับสนุนการจัดตั้งและบริหารสหกรณ์เคหสถาน  กรุงเทพมหานคร  โดยสำนักงานเขตต่างๆ สนับสนุนการพัฒนาชุมชนริมคลอง  อำนวยความสะดวกในขั้นตอนขออนุญาตก่อสร้างบ้าน   กรมธนารักษ์สนับสนุนการให้ชุมชนเช่าที่ดินระยะยาวเพื่อสร้างบ้าน  โดยคิดอัตราผ่อนปรน   การเคหะแห่งชาติ  สนับสนุนเรื่องที่อยู่อาศัย  ธนาคารอาคารสงเคราะห์สนับสนุนงบประมาณการพัฒนาในชุมชน   ฯลฯ

ตัวอย่างที่ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ  เขตสายไหม  เป็นชุมชนริมคลองแห่งแรกที่สร้างบ้านเสร็จทั้งชุมชนจำนวน 65 หลังในช่วงต้นปี 2560   โดยมีหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของชาวชุมชน  ส่วนบริษัทเอกชน  เช่น  บริษัทอิตาเลี่ยน-ไทย, บริษัทเสนา  ดีเวลลอปเม้นท์  จำกัด, บริษัทซีพี,  อารียา  พรอพเพอร์ตี้  ฯลฯ เข้ามาให้การสนับสนุนสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียภายในชุมชน  ติดตั้งไฟฟ้าโซล่าเซลล์บริเวณพื้นที่ริมคลอง  มอบต้นไม้เพื่อปรับภูมิทัศน์ชุมชน  มอบสีทาบ้าน  มอบอุปกรณ์การออกกำลังกาย  สนามเด็กเล่น  จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ชุมชน  ฯลฯ

นอกจากนี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้ร่วมกับชาวชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญและชุมชนริมคลองต่างๆ  จัดทำโครงการ ‘ประชารัฐร่วมใจ  สร้างวินัยการจัดการขยะชุมชนริมคลอง’  โดยส่งเสริมให้ชาวชุมชนริมคลองคัดแยกขยะ  เพื่อลดปริมาณขยะ  นำไปขายเป็นขยะรีไซเคิล  หรือนำกลับมาใช้ใหม่  และที่สำคัญคือ  การสร้างวินัยไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในคลอง  เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม  และป้องกันไม่ให้ขยะไปกีดขวางทางเดินของน้ำ  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การระบายน้ำในคลองไม่มีประสิทธิภาพ

 

‘11  ขั้นตอน’  สร้างบ้านประชารัฐริมคลอง 

สร้างบ้านตามใจผู้อยู่ บ้านหรูไม่เกิน 360,000 บาท

แต่ไหนแต่ไรมา  เมื่อรัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐจะนำที่ดินของรัฐที่มีประชาชนเข้าไปรุกล้ำปลูกสร้างบ้านเรือนเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์  ส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการขับไล่  หรือจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ที่ห่างไกลจากชุมชนเดิมมาก  ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการทำมาหากิน  มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น   ลูกหลานต้องหาที่เรียนใหม่ ฯลฯ  โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการทำมาหากิน   เพราะคนจนที่อาศัยอยู่ในเมืองส่วนใหญ่มีอาชีพที่เกี่ยวพันกับสังคมเมือง  เช่น  เป็นลูกจ้างทั่วไป  เป็นกรรมกร  ช่างก่อสร้าง  ขับแท็กซี่  มอเตอร์ไซค์รับจ้าง  ขายอาหาร  หาบเร่  แผงลอย  เก็บของเก่า  ฯลฯ 

                สมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  กล่าวว่า ‘โครงการบ้านประชารัฐริมคลอง’ เป็นรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ชาวชุมชนสามารถอยู่อาศัยในชุมชนเดิมได้  คือหากชุมชนใดมีพื้นที่เหลือจากแนวก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำ  และรื้อย้ายบ้านออกจากแนวเขื่อนและแนวคลองแล้ว  จำเป็นที่จะต้องมีการปรับผังชุมชนใหม่  เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถอยู่อาศัยในชุมชนเดิมได้ทั้งหมด   โดยชาวชุมชนจะต้องรวมตัวกันและจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เคหสถานเพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล  แล้วทำสัญญาเช่าที่ดินอยู่อาศัยอย่างถูกต้องกับกรมธนารักษ์   ระยะเวลาช่วงแรก 30 ปี

อย่างไรก็ตาม  การจัดทำโครงการบ้านประชารัฐริมคลองนี้  ไม่ใช่ พอช.ไปสร้างบ้านให้ชาวบ้าน  แต่เป็นการใช้หลักการของ ‘บ้านมั่นคง’ ที่ พอช.ทำมาตั้งแต่ปี 2546  นั่นคือ “ให้ชุมชนหรือผู้ที่เดือดร้อน  รวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหา  โดยมี พอช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน”  โดยชุมชนจะต้องแต่งตั้งตัวแทนชาวบ้านขึ้นมาเป็นคณะทำงาน    มีกระบวนการทำงาน 11 ขั้นตอน  ดังนี้

1.สร้างความเข้าใจโครงการ  โดยการชี้แจงสร้างความเข้าใจกับชาวชุมชน  มีคณะกรรมการชุมชน  เจ้าหน้าที่ พอช. เจ้าหน้าที่ชุดมวลชนสัมพันธ์  ทหาร  ตำรวจ  เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต  กรมส่งเสริมสหกรณ์  กรมธนารักษ์  สำนักการระบายน้ำ  ฯลฯ  ร่วมกันจัดประชุมชี้แจงเป็นกลุ่ม  หรือใช้วิธีพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ

2.ร่วมกันสำรวจข้อมูล  รับรองข้อมูล  พิจารณาสิทธิ์  เพื่อให้ได้ข้อมูลครัวเรือน  ผู้อยู่อาศัย  ขนาดพื้นที่ของชุมชน  และความต้องการที่อยู่อาศัย  เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนการสร้างบ้านและออกแบบผังชุมชน  หลังจากนั้นจะมีการพิจารณาสิทธิ์และรับรองสิทธิ์  เพื่อให้ชาวชุมชนช่วยกันยืนยันว่า  เจ้าของบ้านหลังนี้มีตัวตนและอาศัยอยู่จริง  เพื่อไม่ให้มีการสวมสิทธิ์ 

3.ตั้งกลุ่มออมทรัพย์  เพื่อให้ชาวชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำหรับก่อสร้างบ้าน  บางชุมชนกำหนดเงินออมขั้นต่ำ 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน  บางชุมชนอาจมากกว่า  แล้วแต่ข้อตกลงของแต่ละชุมชน  หากมีเงินออมมาก  ยอดเงินที่จะขอกู้จาก พอช.ก็จะลดน้อยลง  (พอช.กำหนดให้ครัวเรือนและชุมชนที่จะขอใช้สินเชื่อต้องมียอดเงินออมรวมไม่ต่ำกว่า 10 % ของยอดเงินกู้)

4.จดทะเบียนเป็นสหกรณ์เคหสถาน เพื่อให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล  และบริหารโครงการ   เช่น  ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์  เสนอใช้สินเชื่อและงบสนับสนุนจาก พอช.  บริหารการก่อสร้างบ้าน  ฯลฯ

5.จัดการเรื่องที่ดิน  โดยการแบ่งปันและเสียสละ  คนที่เคยมีที่ดินและบ้านหลังใหญ่  จะต้องเสียสละให้คนที่รุกล้ำแนวคลองสามารถขึ้นมาอยู่บนฝั่งได้  โดยเฉลี่ยแปลงที่ดินที่จะสร้างบ้านให้มีขนาดเท่ากัน  และ 1 ครอบครัวได้ 1 สิทธิ์  หรือตามข้อตกลงของชุมชน  เช่น  ครอบครัวที่มีผู้อยู่อาศัยเกิน 8 คน  จะได้รับสิทธิ์ขยายเพิ่ม 1 สิทธิ์

6.ร่วมกันออกแบบบ้าน  ออกแบบผังชุมชน  นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจชุมชนและครัวเรือนมาออกแบบผังชุมชนและออกแบบบ้าน  โดยมีสถาปนิกและเจ้าหน้าที่ของ พอช.เป็นพี่เลี้ยง  เพื่อให้ได้แบบบ้านและผังชุมชนที่ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน

7.เสนอโครงการและงบประมาณต่อ พอช. เมื่อผ่านกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าวแล้ว   ชุมชนจะต้องยื่นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยในนามสหกรณ์เคหสถานมายัง พอช.เพื่อพิจารณาอนุมัติ 

8.วางแผน  ขออนุญาตก่อสร้าง  และรื้อย้าย  ชุมชนจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ พอช.  สถาปนิกและวิศวกร  วางแผนการก่อสร้าง  แผนการรื้อย้าย  และจัดเตรียมเอกสารเพื่อขออนุญาตก่อสร้างจากกรมธนารักษ์และสำนักงานเขต

9.ทำนิติกรรมสัญญา  และเบิกจ่ายงบประมาณ  เมื่อ พอช.อนุมัติโครงการแล้ว  ชุมชนจะต้องส่งตัวแทนในนามของสหกรณ์เคหสถานที่จดทะเบียนเอาไว้ไปทำนิติกรรมสัญญาเพื่อเบิกจ่ายงบประมาณ 

10.กระบวนการก่อสร้างบ้าน  เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก พอช.แล้ว  ชุมชนจะมีการคัดเลือกผู้รับเหมา    มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน  เช่น  จัดทำบัญชี  ตรวจสอบการเงิน  และตรวจสอบการดำเนินการก่อสร้าง  ฯลฯ

11.พัฒนาคุณภาพชีวิต  เมื่อก่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว  ชุมชนจะร่วมกับ พอช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ  เช่น  เรื่องอาชีพ  มีการวางแผนการจัดตลาดนัด  ตลาดน้ำชุมชน  เรือโดยสารในคลอง  ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ,  พัฒนาสิ่งแวดล้อม  เช่น  ปลูกต้นไม้  ปลูกผักสวนครัว  การคัดแยกขยะ  การบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนก่อนปล่อยลงคลอง,  จัดกิจกรรมเด็กและเยาวชน  พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ  กลุ่มแม่บ้าน  ฯลฯ 

ทั้งหมดนี้คือกระบวนการสร้างบ้านประชารัฐริมคลอง  “เป็นบ้านที่มากกว่าคำว่าบ้าน” เพราะชุมชนมีส่วนร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันบริหารโครงการ  และเมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วชาวบ้านก็จะร่วมกันพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่  โดยมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมให้การสนับสนุน  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชุมชนและลูกหลานให้มีอนาคตที่สดใสและมั่นคงต่อไป

เสียงจากคนริมคลอง

ลุงฮาซัน  แสงจันทร์   ชุมชนริมคลองลาดพร้าวประชาอุทิศ  เขตห้วยขวาง  บอกว่า  ปลูกบ้านริมคลองมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่  บ้านเรือนก็ผุพัง  เพราะสร้างมานาน  เมื่อก่อนก็มีข่าวว่าทางราชการจะมาไล่ที่  จะเอาไปทำถนนเลียบคลอง  ชาวบ้านก็อยู่ไม่สุข  ไม่อยากจะซ่อมบ้าน  เพราะซ่อมไปแล้ว  ไม่รู้จะโดนไล่วันไหน 

“ตอนแรกที่มีโครงการบ้านประชารัฐริมคลองนี้   ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ  กลัวจะโดนหลอก  พอมีเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานเข้ามา   ทั้ง พอช.  เจ้าหน้าที่เขต  ทหาร  ทำให้ชาวบ้านเริ่มเชื่อ  จึงร่วมทำโครงการฯ  ใช้เวลาสร้าง 6 เดือน  ตกแต่งอีก 2  เดือน  จึงย้ายเข้ามาอยู่  ตอนนี้ไม่ต้องนอนผวาแล้ว  เพราะเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์  บ้านก็สวยงาม  ผ่อนเดือนละ 2,700  บาท  ถ้าอยากอยู่สุขสบายก็ต้องดิ้นรนหารายได้มาผ่อนบ้าน”  ลุงฮาซันบอก

 

ประภัสสร  ชูทอง  ประธานชุมชนหลัง ว.ค.จันทรเกษม  เขตจตุจักร  บอกว่า “เมื่อก่อนชุมชนอยู่กันอย่างไม่เป็นระเบียบ  เอาบ้านหันหลังลงคลอง  ส้วมก็ลงในคลอง  เด็กๆ ไม่กล้าพาเพื่อนมาเที่ยวที่บ้าน  แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป  ชุมชนดูสวยงาม  ช่วยกันปลูกต้นไม้  ปลูกผักสวนครัวหน้าบ้าน  มีห้องประชุม  มีห้องสมุดชุมชนให้เด็กเข้าไปใช้  ต่อไปเราจะทำร้านค้าชุมชน เพื่อนำรายได้มาพัฬฒนาชุมชน”

วิลัย  เรืองมา  ประธานชุมชนรุ่นใหม่พัฒนา  เขตบางเขน  บอกว่า “อยากฝากถึงคนที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการว่า  ให้ถามตัวเองว่า  ตอนนี้เราปลูกบ้านอยู่บนที่ดินของใคร  ใช่ที่ดินของเราหรือเปล่า  รัฐบาลเข้ามาช่วยขนาดนี้แล้ว  ถ้ายังไม่เข้าร่วม  อนาคตลูกหลานเราจะเป็นอย่างไร  จะไปอยู่ที่ไหน  ถ้าจะบอกว่าไม่มีเงินผ่อนบ้าน  ไม่อยากเป็นหนี้  แล้วเราเป็นหนี้เพื่อใคร  เพื่อลูกหลานจะได้มีบ้าน  มีอนาคตที่ดีหรือเปล่า”

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"