ปศุสัตว์บุรีรัมย์ เสนอประกาศ เขตประสบภัย


เพิ่มเพื่อน    

 ปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์เตรียมเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศเป็นเขตประสบพิบัติภัยโรคระบาดสัตว์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี สกิน หลังพบโคป่วยและตายจำนวนมาก ย้ำเนื้อโคที่ผ่านโรงฆ่าสัตว์ปลอดภัย บริโภคได้ และโรคนี้ไม่ติดสู่คน

    นายอภิชาติ สุวรรณชัยรบ ปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโคและกระบือ พร้อมร่วมกันหารือระเบียบ เตรียมเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ในการประกาศเป็นเขตประสบภัยพิบัติโรคระบาดสัตว์ และวางแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าว
    สถานการณ์โรคลัมปี สกิน ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ ขณะนี้พบการแพร่ระบาดใน 23 อำเภอของจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2564 มีสัตว์ป่วยสะสม 3,742 ตัว รักษาหายป่วยแล้ว 183 ตัว สัตว์ตาย 148 ตัว สัตว์ป่วยคงเหลือ 3,559 ตัว เกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,067 ราย ในพื้นที่ 23 อำเภอ 188 ตำบล และขณะนี้ปศุสัตว์แต่ละอำเภอลงพื้นที่สำรวจและรายงานเข้ามา เพื่อที่จะสรุปข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้งโดยเฉพาะจำนวนสัตว์ที่ป่วยหรือเสียชีวิต
    ในส่วนมาตรการต่างๆ ปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้า เพื่อป้องกัน ควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่รักษาพยาบาลสัตว์ป่วย การอบรมให้ความรู้เกษตรกร การจัดกิจกรรม Kick off รณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน  ในโค-กระบือ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและการฉีดพ่นยากำจัดแมลงพาหะ การสนับสนุนเวชภัณฑ์ สารกำจัดแมลงและอื่นๆ ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในทุกท้องที่
    จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศเขตโรคระบาดทั้งจังหวัด ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค-กระบือ ลดการแพร่เชื้อโรค การปิดตลาดนัดโค-กระบือ ซึ่งการประกาศเขตภัยพิบัติและประกาศเขตช่วยเหลือเยียวยาเพื่อชดเชย เยียวยากรณีสัตว์ตายด้วยโรคระบาด ซึ่งจะเริ่มเปิดให้เกษตรกรยื่นคำขอหลังจากการประกาศเขตภัยพิบัติ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานและอัตราการชดเชยตามจริงแต่ไม่เกินรายละ 2 ตัว เป็นเงินสด ผ่านบัญชีเงินฝากเกษตรกร
    สำหรับอัตราเงินชดเชยรายได้ให้เกษตรกรเจ้าของโค-กระบือตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัว เป็นเงินสดผ่านบัญชีเงินฝากเกษตรกร สัตว์อายุน้อยกว่า 6 เดือน โคจ่ายเงินเยียวยา 6,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 8,000 บาทต่อตัว จ่ายตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัวต่อราย, อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 12,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 14,000 บาทต่อตัว, อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 16,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 18,000 บาทต่อตัว, อายุมากกว่า 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 20,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 22,000 บาทต่อตัว
    อย่างไรก็ตาม ขอเน้นย้ำว่าสัตว์ที่เป็นโรคนี้ แม้ดูจากภายนอกแล้วจะน่ากลัว เพราะเป็นตุ่ม เป็นแผล ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาหาย เนื้อกินได้ และไม่ติดคน เป็นเฉพาะในโค-กระบือเท่านั้น และที่สำคัญเนื้อโคทุกตัวที่จะเข้าโรงฆ่าสัตว์นั้นจะต้องได้รับการตรวจโรคและสุขภาพ เพราะฉะนั้นอยากให้ประชาชนมั่นใจว่าเนื้อปลอดภัยบริโภคได้ และอยากฝากถึงพี่น้องเกษตรกร หากพบว่าโค-กระบือของตัวเองเริ่มป่วย โดยมีอาการซึม ไม่ค่อยกินหญ้า ควรรีบแยกตัวออกจากฝูง หากเป็นไปได้ให้กางมุ้ง เพื่อที่จะไม่เป็นพาหะไปยังตัวอื่น และใช้ยาทาป้องกันทุกตัว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"