'ยะลา' ล็อกดาวน์! หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 พุ่ง


เพิ่มเพื่อน    

12 มิ.ย.64 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศบค.ยะลา ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 89 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้า - ออกพื้นที่จังหวัดยะลา และมาตรการเกี่ยวกับร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีสาระสำคัญ 2 ข้อ 

คือ มาตรการสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้า – ออกพื้นที่จังหวัดยะลา  งดการเดินทางเข้า - ออกพื้นที่จังหวัดยะลา เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ให้แจ้งต่อหัวหน้าด่านตรวจ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำด่านตรวจ หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านตรวจ เพื่อใช้ดุลยพินิจในการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และให้ผู้ที่เดินทางเข้ามายังพื้นที่จังหวัดยะลาสแกน QR Code (YALA SAFE ALERT) ที่ด่านตรวจรอยต่อพื้นที่จังหวัด และให้รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในพื้นที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมซน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยทันที เพื่อพิจารณากสั่นกรองความเสี่ยง ต่อการแพร่ระบาดของโรค และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน ทั้งนี้ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจสอบยานพาหนะที่เดินทางเข้าจังหวัดยะลาทุกคันและให้ถือปฏิบัติตามแนวทางข้างต้นอย่างเคร่งครัด ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2564

มาตรการเกี่ยวกับร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้ร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ร้านน้ำชา กาแฟ รวมทั้งร้านจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ อื่นๆ   โดยงดมิให้รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มในร้าน โดยให้จำหน่ายในลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น และเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 22:00 น. โดยให้ผู้บริการจัดทำเครื่องหมายการเว้นระยะการเข้าคิว ซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและความแออัดของผู้รับบริการ จัดให้มีจุดบริการล้างมือหรือเจลล้างมือให้ผู้รับบริการก่อนเข้าใช้บริการ และให้ผู้บริการและผู้รับบริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา  ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ทางด้าน นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า สถานการณ์ตัวเลขของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เกิดจากการสัมผัสร่วมกันในชุมชน การจัดงานเลี้ยง รวมถึงการทำกิจกรรมทางศาสนา การเยี่ยมญาติของผู้ที่มาจากต่างจังหวัดมีการกินข้าวสังสรรค์ร่วมกันจึงเป็นเหตุทำให้จังหวัดยะลามีตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งการขอความร่วมมืองดการละหมาด โดยเฉพาะการละหมาดวันศุกร์นั้น ต้องยอมรับว่าการละหมาดในหลายมัสยิดไม่ได้มีการเว้นระยะห่างเหมือนเมื่อก่อน นั่นหมายความว่าประชาชนเริ่มการ์ดตก หรือแม้กระทั่งการอาบน้ำละหมาดก่อนที่จะเข้าไปละหมาดในมัสยิดซึ่งเดิมทีเรากำหนดให้อาบน้ำละหมาดมาจากที่บ้านแล้วจึงเดินทางมาละหมาดที่มัสยิด แต่ขณะนี้กลายเป็นว่าบางส่วนยังกลับไปใช้วิธีการอาบน้ำละหมาดร่วมกันที่มัสยิด

“ช่วงเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ หากเราไม่จบคลัสเตอร์เดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ อาจจะมีคัตเตอร์ใหม่ขึ้นมา เพราะเนื่องจากเดือนหน้าจะมี 3 กิจกรรมใหญ่ๆที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ ประกอบด้วย การเปิดเทอมของนักเรียน การซื้อ-ขายผลไม้ที่จะมีพ่อค้าหรือแรงงานมาจากต่างจังหวัด เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อมารับซื้อทุเรียน และเทศกาลรายอฮัจย์ของชาวไทยมุสลิม ดังนั้นตนเองจึงอยากขอร้องว่า เราต้องรีบให้สถานการณ์โรคกลุ่มเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ให้ได้เสียก่อน” นายแพทย์สงกรานต์ กล่าว

นายแพทย์สงกรานต์ ยังบอกอีกว่า  ต้องฝากเตือนพี่น้องประชาชนว่าเรายังคงต้องขอความร่วมมือยกการ์ดขึ้นมาอีกให้เหมือนเดิม ทั้งเรื่องการเว้นระยะห่าง การรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจเพราะชาวยะลาพยายามที่จะรักษาวินัยการ์ดไม่ตกจนเราเป็นจังหวัดสุดท้ายที่ไม่มีเชื้อ เราปฏิบัติมาด้วยดีโดยตลอดและให้ความร่วมมือมาโดยตลอด.

นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"