ร่วมภาคีรักษ์สิ่งแวดล้อม


เพิ่มเพื่อน    

 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมความตกลงปารีส หรือเป็นกำหนดกฎกติการะหว่างประเทศที่มีความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้นสำหรับการมีส่วนร่วมของภาคีในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเสริมสร้างการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลก ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและความพยายามในการขจัดความยากจน หรือพูดง่ายๆ คือการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอนที่ส่งผลกระทบจนทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีสนั้น ก็มีแผนงานที่ชัดเจนมายิ่งขึ้นในการจัดการเรื่องนี้ โดยหน่วยงานสำคัญของภาครัฐที่มีบทบาทเข้ามาจัดการงานด้านนี้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เนื่องจากการที่จะลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมได้ แนวทางการใช้พลังงานในประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญ

โดยล่าสุดได้ตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาดอยู่ที่ 30% โดยทางกระทรวงพลังงานได้หารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการปรับระบบเศรษฐกิจสู่การเป็นประเทศปลอดคาร์บอนในอนาคต ซึ่งหลายประเทศต่างตระหนักถึงผลกระทบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ โดยล่าสุดประเทศสหรัฐอเมริกาได้กลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีส และทุ่มงบประมาณในการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจสู่สังคมปลอดคาร์บอน หรือประเทศญี่ปุ่น ได้เตรียมประกาศนโยบายปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050

การเปลี่ยนแปลงสำคัญเหล่านี้จะผลักดันให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับวิธีการดำเนินธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับแรงกดดันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า และปรับตัวเพื่อรองรับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาเพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ทั้งนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแนวทางเพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานในรูปแบบเดิม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ต่อไป

โดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดี พพ. กล่าวว่า การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานของโลกที่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เราจำเป็นที่จะต้องปรับตัวกันตั้งแต่วันนี้ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมจะถูกผลักดันให้มุ่งผลิตสินค้าปลอดคาร์บอน และสินค้าที่ผลิตจากแหล่งฟอสซิลจะถูกกีดกัน 0 จากปัจจัยดังกล่าวกรมจึงได้มีแนวทางความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในการส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดปริมาณคาร์บอน และการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด

โดยล่าสุดได้ให้การสนับสนุน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในการจัดงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2021 (ASEW 2021) ซึ่งเป็นเวทีสำคัญระดับภูมิภาคในการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานที่ยั่งยืน รองรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเป็นโอกาสในการระดมความคิด องค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงบทบาทของประเทศไทยในฐานะของประธานกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานของอาเซียน ที่พร้อมจะเป็นผู้นำในการแสวงหาแนวทางความร่วมมือพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อสร้างมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาคอย่างยั่งยืน ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 14-16 ต.ค.64 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

เชื่อว่าการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่ยั่งยืนของพลังงานที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการเติบโตของเมือง ผ่านโครงการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่พอจะมีกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน จะสามารถตอบโจทย์แนวโน้มพลังงานของทั่วโลกที่ไม่เพียงแต่มุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง แต่เรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่มีเพียงหน่วยงานหลักที่สามารถทำได้เท่านั้น ประชาชนทั่วไปในสังคมก็สามารถทำได้เช่นกัน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"