'หมอประสิทธิ์' เผยเดือนหน้าจะมีวัคซีนแอสตร้าฯออกมา 10 ล้านโดส ฉีดได้ตามเป้า 3 แสนโดส/วัน


เพิ่มเพื่อน    

15 มิ.ย.64- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ออนไลน์ เกี่ยวกับ COVID-19 Vaccines ในประเด็นสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ใประเทศไทยหลังเริ่มมีการกระจายวัคซีนตลอด 6 เดือน และประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดต่างๆ กับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส COVID-19 

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมใกล้ทะลุ 2 แสนคน และยังคงมีอัตราการเสียชีวิตที่ยังไม่ลดลง ทั้งนี้ได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 6 ล้านโดส เฉลี่ยฉีดวันละ 2.4 แสนโดส จากจำนวนประชากรกว่า 69 ล้านคน คิดเป็น 6.0% ของประชากรที่ได้รับ 1 โดส และ 2.2% ที่ได้รับครบ 2 โดส (ข้อมูล ณ 12/06/2021) ดังนั้น ข้อมูลที่กล่าวมายังคงไม่เห็นประสิทธิภาพของวัคซีน สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนที่ต้องหยุดในช่วงเดือนมิ.ย.64 จากการประเมินสถานการณ์คาดว่าอาจจะต้องรออีก 1-2 สัปดาห์ ที่จะสามารถดำเนินการฉีดได้ พร้อมกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ที่จะผลิตออกมาประมาณ 10 ล้านโดส/เดือน ที่คาดว่าอาจจะเป็นในช่วงเดือนถัดไป เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายวันละ 3 แสนคน/วัน 

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับประเทศไทย ซึ่งพบวิกฤตในช่วงเดือนธ.ค.63 ทำให้เกิดการเร่งฉีดวัคซีนไฟเซอร์ และแอสตร้าสนิก้าต่อเนื่อง โดยฉีดไปแล้วกว่า 70 ล้านโดส ในประชากรประมาณ 67 ล้านคน คิดเป็น 61.5% ได้รับ 1 โดสและได้รับครบโดส 43.7% ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงตัวเลขเมื่อวาน (14/06/2021) เหลือเพียง 12 คน  จากหลักร้อย-หลักพันทุกวัน แต่ผู้ติดเชื้อกลับมาอยู่ในวิกฤตอีกครั้งช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามากถึง 7,000 คน/วัน  โดยเป็นการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า เดลต้า หรือที่รู้จักกันก็คือ สายพันธุ์อินเดีย และยังพบว่ามีการกลายพันธุ์ในสายพันธุ์แอลฟ่า ซึ่งก็คือสายพันธุ์อังกฤษเดิม ที่ทำให้ต้องเลื่อนการผ่อนคลายมาตรการต่างๆออกไป 

ภาพรวมในส่วนสถานการณ์ของโลก นพ.ประสิทธิ์ เผยว่า โดยรวมดีขึ้นซึ่งมีปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นการฉีดวัคซีนโควิด -19 ในจำนวนมากและเร็ว โดยวัคซีนที่มีการใช้มากที่สุดคือ แอสตร้าเซนเนก้า ใน 102 ประเทศ รายงานจากสหราชอาณาจักร จนถึงวันที่ 2 มิ.ย.64 ที่ผ่านมา มีรายงานการเกิดลิ่มเลือดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำขึ้นใน 372 คนในผู้ได้รับวัคซีนรวม 24.5 ล้านคน (0.0015% หรือ 15 คนต่อผู้ได้รับวัคซีน 1 ล้านคน) หากคิดตามจำนวนโดสหรือจำนวนครั้งของการฉีดพบเกิด 372 ครั้ง หรือ0.0009% หรือ 9 ครั้งต่อการฉีด 1 ล้านครั้ง ในจำนวนนี้เสียชีวิตรวม 66 คน (ประมาณ 2.7 คนต่อผู้ได้รับวัคซีน 1 ล้านคน) หน่วยงานของสหราชอาณาจักรที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของยา / วัคซีน( Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA)) เสนอให้มีการวิจัยเพื่อหาสาเหตุการเกิดลิ่มเลือด และภาวะเกร็ดเลือดต่ำหลังการฉีดวัคซีนนี้ อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวสรุปว่าวัคซีนนี้มีความปลอดภัยสูงมากเมื่อเทียบกับความเสี่ยงของเชื้อ COVID-19 ติด

สำหรับวัคซีน Sinovac ที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ใช้แบบภาวะฉุกเฉิน (EUL) เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.64 ที่ผ่านมา การประเมินและรับรองผลข้างเคียงที่พบคือปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน (13-21%) อ่อนเพลียถ่ายเหลวปวดกล้ามเนื้อทั่วไปอาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 2 วัน สำหรับไข้พบน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่นข้อสรุปขององค์การอนามัยโลกคือสามารถฉีดได้ในคนสูงอายุ (ไม่ จำกัด อายุสูงสุดที่จะได้รับวัคซีนนี้) ประสิทธิภาพต่อเชื้อสายพันธุ์ P.1 (Brazil or Gamma Variant) ในการป้องกันการเกิดอากประมาณ 50%

 คณบดีแพทยฯ กล่าวเสริมอีกว่า ในหลายประเทศที่ประชากรได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดสมากกว่า 50% ข้อมูลแสดงให้เห็นชัดเจนถึงการลดลงของอัตราการเสียชีวิต รวมถึงการลดลงของจำนวนผู้ป่วยใหม่ในแต่ละวัน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกแสดงให้เห็นว่าอย่างน้อย 25% ของประชากรในประเทศใดประเทศหนึ่งได้รับการฉีดวัคซีนจะเริ่มเห็นผลบวกของการฉีดวัคซีน    แม้ว่า ในขณะนี้ประชากรโลกได้รับวัคซีนแล้วรวมกว่า 25% (ประชากรโลก 7,674 ล้านคนในปี พ.ศ. 2562 และวัคซีนขณะนี้ฉีดแล้วกว่า 2,303 ล้านโดส) แต่การกระจายของวัคซีนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูงประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อยยังมีอัตราการได้รับวัคซีนค่อนข้างต่ำ

การผ่อนคลายมาตรการโควิด-19  คณบดีแพทยฯ ระบุว่า ในต่างประเทศบางประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี เช่น อิสราเอล (ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนของประชากรสูงสุด) รัฐบาลออกประกาศผ่อนมาตรการควบคุม / ป้องกันโควิด 19 เช่นยกเลิกการใส่หน้ากากเฉพาะเวลาอยู่นอกอาคารแล้ว หรือในสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำสำหรับประชาชนว่า หน้ากากยังมีความจำเป็นกับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภายในอาคารสาธารณะที่มีการเข้าออกของคนจำนวนมาก สำหรับนอกอาคาร หากประชาชนฉีดวัคซีนหลังจาก 2 สัปดาห์ที่ฉีดครบ 2 โดส สามารถไม่ใส่หน้ากากได้ ยกเว้นในพื้นที่งานเลี้ยงต่างๆ หรือสนามกีฬา ที่มีคนจำนวนมาก และคนที่ยังฉีดไม่ครบโดสจะยังคงต้องใส่หน้ากาก

“สำหรับประเทศไทย ก็จะต้องมีการประเมินสภาพแวดล้อมการติดเชื้อในแต่ละพื้นที่  ในการผ่อนคลายบ้างบางรายการ ทั้งนี้กระบวนการผ่อนคลายไม่น่ากลัวเท่า หากในปีนี้ยังมีการเล็ดรอดของบุคคลที่เดินทางลักลอบเข้ามาในเส้นทางธรรมชาติ เพราะจากที่มีการเข้ามาในครั้งก่อนๆทำให้เราพบโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ย้ำว่าสุขภาพยังไงก็ต้องมาก่อน แล้วเศรษฐกิจก็จะแข็งแรง” คณบดีแพทยฯ ทิ้งท้าย  

 



เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"