ชวน NGO สรรหาบอร์ด กกพ.


เพิ่มเพื่อน    

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ชุดปัจจุบัน ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดที่ 4 ตั้งแต่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน 2550 กำลังจะต้องหมดวาระตามกฎหมายกำหนดเมื่อดำรงตำแหน่งครบ 3 ปี ในปลายเดือนกันยายนที่จะถึง โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการออกจากตำแหน่งกึ่งหนึ่ง หรือจำนวน 3 คน ประกอบด้วย นางอรรชกา สีบุญเรือง, นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ และนายพีรพงษ์ อัจฉริยะชีวิน สำนักงาน กกพ.จึงต้องเร่งกระบวนการสรรหาเพื่อทดแทนทั้ง 3 ที่พ้นจากตำแหน่งให้ครบ กระบวนการสรรหาก็น่าจะเสร็จสิ้นได้ในราวเดือนกันยายน 2564 เช่นกัน

                หลังสิ้นสุดกระบวนการสรรหา ก็จะต้องนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาก่อนที่จะทูลเกล้าฯ พระมหากษัตริย์ เพื่อทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

                อย่างไรก็ตาม กระบวนการสรรหา กกพ. เริ่มต้นจากคณะกรรมการสรรหาที่มาจากบุคคลภายนอก ที่มุ่งเน้นเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหา กกพ.ตั้งแต่ต้นทาง โดยกำหนดให้คณะกรรมการสรรหาเพื่อทำหน้าที่คัดเลือก กกพ. จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย 1) อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน 2) ปลัดกระทรวงการคลัง 3) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 4) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม 6) ผู้แทนสภาวิศวกร 7) ผู้แทนอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ 8) ผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ หรืออีกนัยหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อของ NGO องค์กรพัฒนาภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

                การกำหนดให้องค์กรพัฒนาภาคเอกชน และภาคประชาสังคม หรือ NGO เป็น 1 ในคณะกรรมการสรรหา ที่เป็นไปตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจเป็นกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ.2553 ซึ่งกำหนดให้สำนักงาน กกพ.จัดทำประกาศโดยให้มีการคัดเลือกผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจจำนวน 1 คน โดยปิดประกาศไว้ที่สำนักงาน เว็บไซต์ของสำนักงาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน ไม่น้อยกว่า 7 วัน

                พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อมวลชนตามสมควร เพื่อให้องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ ที่ประสงค์ขึ้นทะเบียนเข้าร่วมคัดเลือกผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจเสนอชื่อบุคคลจำนวน 1 คนเป็นผู้แทนองค์กรเพื่อเข้ารับการคัดเลือก โดยในกระบวนการนี้จะเป็นการเปิดกว้างให้ NGO และภาคประชาสังคมได้มีโอกาสคัดเลือกตัวแทนของกันและกันเองเพียงหนึ่งเดียว เพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงในชั้นของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ถึงความโปร่งใส และปลอดจากการแทรกแซง หรือการ “ล็อกสเปก”

                นอกจากนี้องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนเข้าร่วมการคัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลภายในสิบห้าวันนับจากวันประกาศของสำนักงาน กกพ. โดยต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ระบุในประกาศกระทรวงพลังงานฉบับดังกล่าวด้วย

                สำคัญยิ่งกว่าอื่นใด คือกระบวนการต้นทางของการสรรหาคณะกรรมการ กกพ. ที่เริ่มต้นจากการมีส่วนร่วม โดยการเฟ้นหาคณะกรรมการสรรหาที่มีความโปร่งใส มีกรอบกติกาและข้อกำหนดชัดเจน ย่อมสะท้อนเจตนารมณ์ของการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผ่านการสรรหาผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการในการสรรหาคณะกรรมการ กกพ. เพื่อมาทำหน้าที่กำกับกิจการพลังงานของไทยต่อไป

                อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ กกพ.นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะบทบาทสำคัญมีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของประชาชน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าและก๊าซ ดังนั้นการสรรหาบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งจึงจำเป็นต้องมีคุณภาพทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ที่สำคัญต้องมีคุณธรรม ไม่ทุจริตคดโกง.

บุญช่วย ค้ายาดี

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"