เอกชนเห็นด้วยเข้มงวดคุมโรคระบาด แต่ต้องช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้อยู่รอด ทั้งลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า


เพิ่มเพื่อน    

 

28 มิ.ย.2564 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยถึงมาตรการกึ่งล็อกดาวน์กรุงเทพมหานครที่รัฐบาลออกมาล่าสุดว่าเป็นการเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นและเพิ่มความสามารถในการควบคุมโรคได้มากขึ้น แต่ยังไม่ถึงกับล็อกดาวน์ปิดพื้นที่ เพื่อลดความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งภาคเอกชนและประชาชนจะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพื่อควบคุมการระบาดให้ได้ แต่ทั้งนี้หากยังไม่ได้ผล รัฐบาลก็อาจจะขยายไปสู่การล็อกดาวน์บางธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ภาคเอกชนจะต้องเตรียมรับมือกับมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดขึ้น

“ในวันนี้มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มขยายไปจนควบคุมไม่อยู่ หากรัฐไม่เข้ามาเข้มงวดก็จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก จึงต้องออกมาตรการที่เข้มงวดนี้ ซึ่งหากควบคุมได้ก็จะช่วยลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ หากมาตรการนี้คุมไม่ได้ ก็อาจจะต้องยกระดับไปสู่การล็อกดาวน์บางธุรกิจ เพื่อไม่ให้การระบาดขยายตัวจนคุมไม่ได้”นายสุพันธุ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการครั้งนี้ เช่น คนงานในแคมป์ก่อสร้าง และลูกจ้างร้านอาหาร ให้อยู่รอดต่อไปได้ รวมทั้งมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ต้องหยุดดำเนินงาน เช่น การช่วยเหลือการเงินเสริมสภาพคล่อง การช่วยชดเชยค่าแรง รกลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ส่วนห้างสรรพสินค้าหรือเอกชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่เช่า ก็ควรช่วยเหลือลดค่าเช่า หรือด้านอื่น ๆ ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัดจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ หากเป็นธุรกิจที่มีหลักฐานจดทะเบียนถูกต้องควรได้รับความช่วยเหลือทันที ส่วนธุรกิจที่ไม่ได้ขึ้นทะเบีบนหากมีผู้ยืนยันตัวตนได้จริง ก็ควรได้รับความช่วยเหลือ

“รัฐควรเข้าไปเจรจาหรือหาแนวทางให้ธุรกิจก่อสร้างที่ต้องปิดแคมป์คนงานตามคำสั่งของรัฐไม่ต้องถูกปรับจากการส่งมอบงานล่าช้า รวมทั้งภาคก่อสร้างที่เป็นงานของเอกชนก็จะต้องอะลุ่มอล่วยยืดเวลาส่งมอบงานตามความเป็นจริง ประคับประคองให้ผ่านช่วยลำบากนี้ไปได้” นายสุพันธุ์ กล่าว

ส่วนมาตรการป้องกับการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรม มองว่าเป็นมาตรการที่ดี ผู้ประกอบการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพราะกลับกระทบต่อการผลิต รวมทั้ง ส.อ.ท. ยังได้ออกคู่มือให้กับโรงงานต่าง ๆ รับมือหากพบผู้ติอโควิด-19 ก็จะช่วยป้องกันการระบาดได้มาก แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังคงคาดหวังกับวัคซีนตาม ม.33 ของกระทรวงแรงงาน ที่จะต้องเร่งเข้ามาฉีดให้กับแรงงานเร็วที่สุด ขณะที่วัคซีนทางเลือกที่ ส.อ.ท. ไปเจรจามา ก็เริ่มทะยอยอฉีดไปบ้างแล้ว ซึ่งหากฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมแรงงานในโรงงานได้เร็ว ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการประคองเศรษฐกิจไทย เพราะภาคการผลิตเพื่อส่งออกเป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจเดียวที่เหลืออยู่ หากเครื่องจักรนี้เดินต่อไปไม่ได้ ก็จะยิ่งซ้ำเติบเศรษฐกิจไทยให้เลวร้ายลงไปอีก

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"