ผลโพลวัยรุ่นพบส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างเล่นโซเชียลฯ


เพิ่มเพื่อน    

30 มิ.ย.2564 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็นทางสังคม สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “Gen Z มีอะไรจะบอกต่อสังคมไทย”  ทำการสำรวจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 จากเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเสศ จำนวน 4,472 หน่วยตัวอย่าง 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามเด็กและเยาวชนถึงเรื่องที่ได้ทำในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ 61.29% ได้ทำในเรื่องการดูแลสุขภาพ (อาหารการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน) รองลงมา 59.79% การพัฒนาตนเอง  56.64% การทำกิจกรรมร่วมกันกับบุคคลในครอบครัว 37.16% การออมหรือการลงทุน 36.09% การทำกิจกรรมจิตอาสา เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ 15.88% มีการสังสรรค์ที่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 2.33% มีการทะเลาะ วิวาท ทำร้ายร่างกาย หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ส่วนการใช้เวลาว่าง พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ 78.67% เล่นสื่อโซเชียลมีเดีย รองลงมา 69.48% นอนพักผ่อน 69.12% ดูหนัง/ฟังเพลง/อ่านหนังสือ 52.15% พบปะเพื่อนฝูง 49.78% เล่นเกม เช่น เกมออนไลน์  46.18% ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา 28.40% ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม 25.81% ท่องเที่ยว/กิจกรรมสันทนาการ  14% เล่นดนตรี 11.23% ทำงานศิลปะ วาดภาพ ระบายสี/งานฝีมือ และ 0.51% ระบุอื่น ๆ เช่น ทำงานพิเศษ ขายของออนไลน์ ทำขนมและอาหาร ทำงานบ้าน ทำงานจิตอาสา ตกปลา และเลี้ยงสัตว์  

สำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ 70.82% ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา รองลงมา 39.07% ร่วมกิจกรรมจิตอาสา/สาธารณประโยชน์ในชุมชน 37.90% ร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมกับชุมชนท้องถิ่น 21.44% ร่วมกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน 12.57% ร่วมกิจกรรมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. หรือ เทศบาล) 6.40% ร่วมกิจกรรมของ To Be Number One 5.34% ร่วมกิจกรรมทางการเมือง และ 0.89% ระบุอื่น ๆ เช่น ร่วมกิจกรรมในโบสถ์คริสต์ในวันเสาร์-อาทิตย์

เมื่อถามถึงไอดอล (Idol) บุคคลต้นแบบที่ยึดถือและปฏิบัติตาม พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ 42.06% มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้นแบบ (โดยระบุ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ทั้งพ่อและแม่ 33.17% อันดับ 2 แม่  30.62% และอันดับ 3 พ่อ 19.88%) รองลงมา 19.43% มีครู/อาจารย์เป็นบุคคลต้นแบบ 15.47% มีญาติหรือคนรู้จักเป็นบุคคลต้นแบบ 11.27% มีบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นต้นแบบ (โดยระบุ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 นักร้อง K-POP เช่น วง BTS, วง Blackpink, วง GOT 7 19.64% อันดับ 2 ดารานักแสดง เช่น หยิ่น อานันท์ หว่อง, ชมพู่ อารยา, ญาญ่า อุรัสยา 18.06% และอันดับ 3 เน็ตไอดอล เช่น พิมรี่พาย 9.13%) สำหรับ 9.17% มีเพื่อนเป็นบุคคลต้นแบบ และ 2.59% ไม่มีไอดอล (Idol) บุคคลต้นแบบที่ยึดถือและปฏิบัติตามเลย

เมื่อถามต่อว่าหากมีบุคคลต้นแบบอยากเลียนแบบในเรื่องใด พบว่า ส่วนใหญ่ 64.38% อยากเลียนแบบในเรื่องแนวคิด ทัศนคติ รองลงมา 60.73% ในเรื่องการใช้ชีวิต 31.24% ในเรื่องบุคลิกภาพ ท่าทาง 27.84% ในเรื่องการแต่งกาย และ 2.77% ระบุอื่น ๆ เช่น เรื่องความสามารถ ความขยัน ความอดทน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความฉลาด และอุปนิสัย

สำหรับบุคคลที่จะเลือกปรึกษาเมื่อมีปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 42.2% ระบุว่า พ่อแม่/ผู้ปกครอง อันดับ 2 31.03% ระบุว่า เพื่อน และอันดับ 3 19.57% ระบุว่า ครู/อาจารย์  ส่วนทักษะที่อยากจะพัฒนามากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 37.12% อยากพัฒนาด้านภาษา อันดับ 2 22.78% อยากพัฒนาด้านเทคโนโลยี และอันดับ 3 17.04% อยากพัฒนาด้านอาชีพ ในด้านกิจกรรมที่อยากจะทำร่วมกับครอบครัวมากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 35.22% รับประทานอาหารร่วมกัน อันดับ 2 30.77% ไปท่องเที่ยว/ชอปปิงร่วมกัน และอันดับ 3 17.98% ดูหนัง ฟังเพลงร่วมกัน

เมื่อถามถึงการถูกทำร้ายจิตใจด้วยวาจา (Bullying) ทั้งต่อหน้าหรือในสื่อออนไลน์ พบว่า ส่วนใหญ่ 62.92% ระบุว่า เคยถูกทำร้าย 37.08% ระบุว่า ไม่เคย โดยมีที่ระบุว่าเคยถูกทำร้ายมีวิธีการรับมือ ได้แก่ นิ่งเฉย 60.77% รองลงมา ตอบโต้ เช่น ตอบโต้ด้วยวาจา การใช้กำลัง ถ่ายคลิป 22.99% แจ้งครู/ผู้ปกครอง/เพื่อน 14.39 %และแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายแก่ผู้กระทำ 1.85%

สำหรับเป้าหมายในชีวิตของเด็กและเยาวชน 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 38.29% ระบุว่า เรียนจบมีงานทำ อันดับ 2 18.74% ระบุว่า ประสบความสำเร็จและมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และอันดับ 3 15.78% ระบุว่า มีครอบครัวที่สมบูรณ์ และเมื่อถามต่อว่ามีความกังวลต่อสังคมไทยในเรื่องใดมากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 31.02% ระบุว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ อันดับ 2 18.92% ระบุว่า ปัญหาโรคระบาด และอันดับ 3 16.08% ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง  

ส่วนเรื่องที่เด็กและเยาวชนอยากให้คนไทยพัฒนามากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 24.46% ระบุว่า ความมีระเบียบวินัย/เคารพกฎหมาย อันดับ 2 21.73% ระบุว่า ความซื่อสัตย์สุจริต และอันดับ 3 15.77% ระบุว่า ความมีจิตสำนึกต่อสาธารณะ/การรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อถามถึงสิ่งที่เด็กและเยาวชนอยากเห็นในประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 26.82% อยากให้เศรษฐกิจดีขึ้น อันดับ 2 19.11% ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน และอันดับ 3 15.26% อยากให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต พบว่า ส่วนใหญ่ 35.70% ควรพัฒนาระบบการศึกษาให้มีความเท่าเทียมและทันสมัยมากยิ่งขึ้น รองลงมา 23.33% ควรส่งเสริมเรื่องสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นให้แก่เด็กและเยาวชน 7.5%ควรส่งเสริมเรื่องความสามัคคีให้แก่เด็กและเยาวชน 6.39% ควรปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและการรักษาประโยชน์ส่วนรวมให้แก่เด็กและเยาวชน และควรส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตในสังคมและทักษะการประกอบอาชีพที่จำเป็นให้แก่เด็กและเยาวชน ในสัดส่วนที่เท่ากัน และ 5.69% ควรส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"