"หมอนคร"เตือน ไทยต้องเตรียมแผนรับมือ หาวัคซีนเพิ่มเติม เหตุแอสตร้า ฯอาจส่งไม่ครบเดือนละ 10 ล้านโดส


เพิ่มเพื่อน    

 

2 ก.ค.64 กระทรวงสาธารณสุข จัดเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปอย่างไร” โดยนพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ(สวช.)ได้กล่าวถึงสถานการณ์การจัดหาวัคซีนว่า การจัดหาวัคซีนมีอยู่ 2 ส่วนคือการวางแผนจัดหา และจำนวนวัคซีนที่ได้รับจริง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน ได้มีการจัดหาวัคซีนซิโนแวคได้รวม 9.5 ล้านโดส และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ส่งมอบ 6 ล้านโดสในเดือนมิถุนายน ซึ่งได้มีการวางแผนในการส่งมอบวัคซีนร่วมกับบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนกรกฎาคมและเดือนต่อๆไปเฉลี่ยเดือนละ 10 ล้านโดส รวม 61 ล้านโดส/ปี สถานะการผลิตของแอสตร้าเซนเนก้าอยู่ที่ประมาณ 180 ล้านโดส/ปี โดยเฉลี่ย 15  ล้านโดส/เดือน ซึ่งในจำนวนที่สยามไบโอ ผลิตได้จะต้องส่งมอบให้ต่างประเทศด้วย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายบริษัท แอสตร้าฯ ทำให้เฉลี่ยไทยแล้วจะได้รับวัคซีนเดือนละประมาณ 5- 6 ล้านโดส 
างประเทศ


" สัดส่วนของไทยจะได้รับวัคซีนเดือนกรกฎาคม-กันยายน ประมาณ 5-6 ล้านโดส/เดือน จึงต้องมีการจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่นเข้ามาควบคู่ด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการฉีดวัคซีนได้ 10 ล้านโดส/เดือน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ที่เป็นการผลิตและส่งมอบไปด้วย "ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติกล่่าว


นพ.นครกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของการเจรจากับทางผู้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์ที่มีการจองไปเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ที่จะได้รับในไตรมาสที่ 3 ก็อาจจะเป็นไปได้ยาก จึงคาดว่าจะได้รับการส่งมอบวัคซีนในไตรมาสที่ 4 ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จำนวนประมาณ 20 ล้านโดส โดยอาจจะมีการเฉลี่ยฉีดในกลุ่มเยาวชน และการร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมอีก  อย่างวัคซีนของประเทศคิวบา ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดซับยูนิตโปรตีน คล้ายกับวัคซีนโนวาแวกซ์ ของอเมริกา โดยตัวแรกที่ผลิตออกมาประสิทธิผลป้องกันโรคถึง 92% ก็เป็นตัวที่น่าสนใจ และในปีหน้าจะจัดหาวัคซีต่อไวรัสโควิด19 กลายพันธุ์ให้มากขึ้น

นพ.นคร  แสดงความเห็นเพิ่มว่า สำหรับแผนหากในเดือนสิงหาคมมีการติดเชื้อเดลต้าเพิ่มขึ้น ก็ได้มีการวิจัยการฉีดวัคซีนแบบบูสเตอร์โดส ถึงระยะเวลาที่เหมาะสม การเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกัน  ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนวัคซีนซ้ำ เช่น หากวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดส แล้วฉีดซ้ำอีก 1 โดส หรือฉีดซิโนแวค 2 โดสแล้วฉีดเพิ่มด้วยแอสตร้าอีก 1 โดส หรือฉีดซิโนแวค 2 โดสแล้วฉีดด้วย mRNA 1 โดส เพื่อดูว่ามีระดับภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นพอที่จะสู้กับสายพันธุ์เดลต้าได้หรือไม่ โดยผลการศึกษาใช้เวลาประมาณ กรกฎาคม-สิงหาคม 

นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวถึงประสิทธิผลของวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยว่า  วัคซีนซิโนแวค เป็นวัคซีนเชื้อตัวตายจากประเทศจีน ประเทศไทยก็ได้มีการนำเข้ามาฉีดเฉพาะกิจตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ในส่วนของคุณภาพวัคซีนที่มีการเก็บข้อมูลศึกษาวิจัยในไทย พบว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันโรค 71-91%  สำหรับคนที่ฉีดแล้วแต่มีการติดเชื้อก็จะมีอาการน้อย อย่างในประเทศบราซิล ที่มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ P1 ได้มีการฉีดวัคซีนซิโนแวค 80-90% ในเมืองหนึ่งซึ่งมีประชากร 7-8 หมื่นคน ปรากฏว่าอัตราการตายลดลงถึง 95% หรือในประเทศอินโดนีเซีย ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีข้อมูลว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดซิโนแวคสามารถลดการตาย แต่เมื่อเร็วๆนี้พบว่ามีแพทย์บางคนที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้วเสียชีวิต ซึ่งพบว่ามาจากการแพร่ระบาดของเชื้อเดลต้า ซึ่งก็จะต้องทำการศึกษาต่อถึงผลของวัคซีน 

นพ.ทวี กล่าวต่อว่า ซึ่งข้อมูลวัคซีนซิโนแวคกับสายพันธุ์เดลต้าในประเทศจีน รายงานว่า เมืองกวางโจวมีคนไข้ทั้งหมด 166 คน พบมีการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าทั้งหมด ที่ฉีดวัคซีนแล้ว และมีการติดตามสังเกตผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดปรากฏว่าลดการติดเชื้อในผู้สัมผัสถึง 69% ลดการเป็นปอดอักเสบ 73% ลดการเป็นโรครุนแรงและเสียชีวิต 95% ส่วนการฉีดวัคซีนซิโนแวคกับสายพันธุ์เบต้าหรือ South Africa ยังไม่พบข้อมูลรายงาน ดังนั้นวัคซีนซิโนแวคทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถใช้ได้ในการป้องกันการป่วยและเสียชีวิต

ในส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นพ.ทวี บอกว่า น่าจะเป็นวัคซีนตัวหลักของประเทศไทย ที่มีประสิทธิผลต่อสายพันธุ์แอลฟ่าถึง 70-90% และผลกับเดลต้า พบว่าจากการศึกษาหลายแห่งโดยเฉพาะในช่วงที่อินเดียมีการระบาดของสายพันธุ์นี้หนัก พบว่าวัคซีนนี้มีประสิทธิผลกับประชากรในเมืองหนึ่งถึง 97% ลดการตายและป่วยไปมาก ดังนั้นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าสามารถใช้ได้ดีกับสายพันธุ์เดลต้า แต่การใช้กับสายพันธุ์เบต้ามีประสิทธิผลเพียง 10.4% ซึ่งจะต้องมีการจับตาดูต่อไป และวัคซีน mRNA ที่มีผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีมากสูงถึง 94% ของโมเดอร์นา และ 95% ของไฟเซอร์ แต่ปัญหาในปัจจุบันคือ ตัวแปรการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีวัคซีน CureVac ซึ่งเป็น mRNA ของประเทศเยอรมัน จากผลการศึกษาในอาสาสมัครยุโรปกับลาตินอเมริกาทั้งหมด 40,000 คน พบผลการป้องกันลดลงไปเหลือเพียง 48% ซึ่งน่าจะมาจากสาเหตุของเชื้อโควิดที่มีการกลายพันธุ์ แต่ยังคงลดการตายและการป่วย 100% จึงต้องมีการติดตามและศึกษาผลของวัคซีน และเชื้อที่มีการแพร่ระบาดในประเทศนั้นๆ รวมไปถึงการใช้จริงในคน 

“สำหรับการฉีดวัคซีนในเด็ก ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มประชากรที่มีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าผู้ใหญ่ และมีการแสดงอาการน้อย แต่ที่กังวลคือเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนหากฉีดในเด็ก แม้ว่าในจีนจะเป็นประเทศแรกที่มีการฉีดวัคซิโนแวคและซิโนฟาร์มในเด็กตั้งแต่ 3 ขวบ -17 ปี หรือประเทศอินโดนีเซียที่กำลังจะมีการฉีดวัคซีนในเด็กเช่นกัน และเมื่อไม่นานนี้เอกสารกำกับยาของวัคซีนไฟเซอร์ มีข้อความที่ระบุว่า หากฉีดในกลุ่มวัยรุ่นอาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในเข็มสองมักจะเกิดในเด็กผู้ชายในอัตราเกิด 2 ต่อ 1 แสนโดส กุมารแพทย์อาจจะต้องมีการพิจารณาการใช้วัคซีนอย่างละเอียดขึ้น” นพ.ทวี บอกถึงการใช้วัคซีนในเด็ก

นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า  ในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในการแพร่ระบาดของสายพันธุ์แอลฟ่าทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 50 คน ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดลงความเห็นตรงกันว่าสถานการณ์จะแย่กว่าเดิมหากมีสายพันธุ์เดลต้าเข้ามาแพร่ระบาดด้วย ซึ่งจากข้อมูลของกรุงเทพฯพบว่าสายพันธุ์เดลต้าตรวจพบแล้ว 40% และคาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม อาจจะเป็นพบการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าทั้งหมด ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีการติดเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์แอลฟ่าถึง 1.4 เท่า ดังนั้นหากในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตทั้งเดือน 992 คน อาจจะเป็นไปได้ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมถึง 1,400 คน เดือนสิงหาคมพุ่งขึ้นไปถึง 2,000 คน และในเดือนกันยายน 2,800 คน จะส่งผลทำให้ระบบสาธารณสุขเดินต่อไปได้ยาก เครื่องมือในการป้องกันที่สำคัญคือวัคซีน ที่ทางรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาคือ จากเดิมที่ยุทธศาสตร์เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ คือ ฉีดวัคซีนแบบปูพรมให้คนไทยได้วัคซีน 70% ซึ่งนักวิชาการออกมาบอกไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะอังกฤษก็มีการปูพรมฉีด แต่ภายหลังก็มีผู้ติดเชื้อ ดังนั้นการฉีดวัคซีนแบบปูพรมอาจจะต้องให้คนในประเทศได้รับวัคซีนถึง 90% และต้องใช้วัคซีนที่ดีมากๆ 

“ไทยอาจจะต้องมีการปรับการใช้ยุทธศาสตร์ทางเลือกที่ 1 คือมุ่งเป้าฉีดไปที่คนสูงอายุและกลุ่มเสี่ยงที่ต้องการให้จบภายใน 2 เดือน(ก.ค.-ส.ค.) แต่เนื่องจากความต้องการเยอะมาก และต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกิจกรรมในประเทศ แต่ต้องประกอบด้วยเงื่อนไขคือ 1.มีวัคซีนไม่จำกัด 2.ขีดความสามารถในการฉีดที่เร็ว แน่นอนว่าไม่มีประเทศไหนที่มีวัคซีนแบบไม่จำกัด ซึ่งขีดความสามารถในการฉีดวัคซีนที่ไทยไม่มีปัญหา แต่ในการฉีด 10 ล้านโดสที่ผ่านมา คนสูงอายุได้รับวัคซีนเพียง 10% หากเป็นแบบนี้ไปทุกเดือนอาจจะต้องใช้เวลาถึง 7-8 เดือนกว่าจะป้องกันครอบคลุมผู้สูงอายุได้ ส่วนทางเลือกที่ 2 ทาง คือ การนำวัคซีนทั้งหมดที่มีอยู่ ทำข้อตกลงทั้งภาครัฐ ส่วนจังหวัด ภาคประชาสังคม มุ่งเป้าหมายแรกฉีดวัคซีนในคนสูงอายุ กลุ่มเสี่ยงและผู้ที่มีโรคประจำตัวให้ได้ที่มีอยู่ขณะนี้ 17.5 ล้านคน พบฉีดวัคซีนไปได้แล้ว 2 ล้านคน หากนำวัคซีนมาฉีดจำนวนที่เหลือกว่า 15 ล้านคน ก็จะสามารถฉีดให้จบได้ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้และจะลดอัตราการตายลงด้วย” นพ.คำนวณ  เสนอทางออก

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"