ปูพรมสำรวจ 4 พฤติกรรมเสี่ยงคนไทย กำจัดต้นตอ บุหรี่-เหล้า-อาหาร-ขาดกิจกรรมทางกาย เกิดโรค NCDs


เพิ่มเพื่อน    

  ท่ามกลางความกังวลของสังคมไทยเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในขาขึ้นนั้น ประชาชนส่วนใหญ่คงมิได้เข้าถึงเข้าใจว่า ..แท้ที่จริงแล้ว โรคภัยไข้เจ็บที่มองไม่เห็น หรือเป็นภัยเงียบอย่าง  NCDs หรือ non-communicable diseases อันเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตนั้น ทำให้คนเสียชีวิตสูงถึงวันละ 1,000 คน หรือมากกว่าสถิติการตายด้วยไวรัสโควิด-19 หลายสิบเท่า

จากความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ตลอดจนภาคีเครือข่าย เพื่อสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ซึ่งร่วมทำงานกันมานานกว่า 10 ปี เพราะฐานข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ ช่วยให้รู้สาเหตุพฤติกรรมของคนไทย จากนั้นก็นำไปออกแบบแผนและยุทธศาสตร์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อกลุ่มโรค NCDs ในทุกระดับ ทั้งระดับโลก ประเทศ และระดับพื้นที่

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า "ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรค NCDs ราวปีละ 4 แสนราย หรือวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย คิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิตของทั้งหมดของประเทศ และครึ่งหนึ่งเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กลุ่มโรค NCDs ถือเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงกว่าโควิด-19 หลายเท่า ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในบ้านเราวันละ 40-50 คน ก็เป็นเรื่องน่าตกใจกันแล้ว”

                ทุกวันนี้องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ก็ยกให้กลุ่มโรค NCDs เป็นเรื่องสำคัญในการทำงานของสหประชาชาติและของโลก ความร่วมมือกับ สสช.ในครั้งนี้ จะเน้นสำรวจพฤติกรรมคนไทยปูพรมเอกซเรย์ 4พฤติกรรมเสี่ยง “สูบบุหรี่-บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์-กินอาหารที่ไม่เหมาะสม-ขาดกิจกรรมทางกาย” ทุกจังหวัดทั่วประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อหาต้นตอลดพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพสู้ NCDs ทั้งนี้เราพบว่า พฤติกรรมการดื่มเหล้าคนไทยต่างจากการจิบไวน์แบบฝรั่งเศส ถ้าเราไม่ได้รู้ข้อมูลเพียงพอ การขับเคลื่อนสังคมก็จะเป็นไปอย่างจำกัด เมื่อได้ข้อมูลเชื่อมโยง ก็จะสามารถยกระดับ Digital Transformation ได้มากยิ่งขึ้น

“ผมเพิ่งทราบผลสำรวจล่าสุดพร้อมสื่อมวลชน พอใจผลสำรวจทางสถิติพบว่า แนวโน้มการสูบบุหรี่คนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นลดลงจากเดิมทุกปี ปี 2564 เหลือ 17.4% ในขณะที่ปี  2547 เหลือ 23% สอดคล้องกับนโยบายในการลดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ ถ้าวัยรุ่นสูบบุหรี่น้อยลงโอกาสที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และสูบบุหรี่ลดน้อยลงด้วย เป็นกำลังใจอย่างดีให้คนทำงานที่ใช้หลายมาตรการควบคุมยาสูบ ตั้งแต่เรื่องการห้ามโฆษณา ให้ความรู้พื้นฐานกับประชาชนในการตระหนักรู้ต่อสังคม มีปฏิกิริยาต่อคนที่สูบบุหรี่อีกทั้งใช้มาตรการทางภาษีควรจะปรับเปลี่ยนระบบฐานภาษีใหม่ เพราะทุกวันนี้บุหรี่นอกใช้กลยุทธ์การตลาดปรับราคาถูกกว่าบุหรี่ในประเทศ  ทำให้นักสูบบางส่วนหันมาสูบบุหรี่นอก” ดร.สุปรีดากล่าว และว่า

การกำหนดพฤติกรรมสุขภาพปี 2564 ไม่ใช่เรื่องเดียวที่ลงนามความร่วมมือ ในการสำรวจครั้งต่อไปภาคีสสส.มีศูนย์วิชาการสนับสนุนเพื่อนำข้อมูลมาสนธิ 2 องค์กร เปิดฐานข้อมูลเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลนำมาให้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อไปจะมีการสำรวจระดับชาติการสำรวจการตรวจร่างกาย อยู่ระหว่างการพูดคุย เพราะการสำรวจระดับชาติ 8.4 หมื่นตัวอย่างมีไม่มากนักมีเจ้าภาพไม่กี่เจ้า ถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ สสส.ร่วมลงทุนทั้งการชั่ง ตวง วัด ทำ 5 ปี/ครั้ง  2-3 ปี/ครั้ง ทั้งนี้ มีการหารือภาคีทางวิชาการ การทำ q uestionaire สำรวจไปในทิศทางเดียวกันตรวจสอบฐานข้อมูลได้ตรงกัน

“สสส.พร้อมร่วมมือระยะยาวกับสสช.เป็นฐานข้อมูลให้ประเทศ เพื่อติดตามผลเรื่องการลดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์ พฤติกรรมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้เกิดโรค NCDs ตามที่สหประชาชาติตั้งธงในปี 2573 (ค.ศ.2030) มุ่งเน้นที่จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ดร.สุปรีดากล่าว

วันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวถึงสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ว่า สสช.และ สสส.เห็นชอบตรงกันถึงประโยชน์ต่อการดำเนินการตามภารกิจทั้งสองหน่วยงาน จึงได้ตกลงร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ข้อมูลและการสนับสนุนทางเทคนิคฉบับนี้ โดย สสช.รับผิดชอบบริหารจัดการในการดำเนินงานสำรวจทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขในการให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ สสช.ยังได้ตกลงให้ สสส.ใช้ข้อมูลจากสำมะโนและสำรวจที่จัดทำ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จัดเก็บและจัดทำในรูปแบบของข้อมูลที่ไม่เปิดเผยให้รู้ตัวบุคคลหรือข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์แก่ สสส.ในการวิเคราะห์และติดตามภาวะสังคมของประเทศ

วันเพ็ญกล่าวต่อว่า โครงการสำรวจพฤติกรรมกับสุขภาพของประชากรพ.ศ.2564 (สพส.64) เป็นการผนวก 3 โครงการร่วมกับการสำรวจ NCDs ภัยคุกคามเงียบที่เป็นอันตรายต่อชีวิตรักษาไม่หาย ต้องใช้งบประมาณรักษาอย่างมหาศาล 4 แสนคน/ปี หรือเสียชีวิตวันละ 1 พันคน ขณะเดียวกันสสช.สามารถใช้ข้อมูลของ สสส.และภาคีเครือข่ายตามที่ได้ตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ สสส.ได้จัดเก็บและจัดทำในรูปแบบของข้อมูลที่ไม่เปิดเผยให้รู้ตัวบุคคลหรือข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลส่วนบุคคล  เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการให้บริการและการบริหารจัดการตามภารกิจของ สสช.

ทั้งนี้ การนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ อ้างอิง รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนในเชิงสถิติหรือเชิงวิชาการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง สสช. และ สสส. จะเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะภาพรวมเพื่อประโยชน์ทางด้านวิชาการเท่านั้น โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคล เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและองค์กรต่างๆ ทั้งนี้ ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชน จะนำเสนอสรุปผลสำรวจสำคัญได้ภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 รายงานฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จในเดือน ก.ย.

“เราได้รับผลกระทบจากโควิด-19เป็นอุปสรรคสำคัญของนักสำรวจ ไม่สามารถเคาะประตูบ้านได้ ด้วยคำถามว่า “มาทำไม” นักสถิติจะต้องติดต่อประสานงานเพื่อจะบอกเล่าเป็นตัวแทนนำข้อมูลดีๆ มากำหนดนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาสู่ประชาชน”. 

 

 

 

ความร่วมมือสสส.และสสช. ต้องเจาะลึกเป็นรายจังหวัด

 

    

ดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ อยากเห็นความร่วมมือในการทำงานของ สสส.และ สสช.เจาะเป็นรายจังหวัด จนถึงปี 2030 โดยระบุว่า โรค NCDs ถ้าไม่ได้ใช้ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาด้วยการใช้ 3 พลัง พลังความรู้ไม่สามารถแปลงไปสู่นโยบายสำคัญ สู่พลังสังคม เราไม่ชนะ ทุกวันนี้ กม.บุหรี่ กม.แอลกอฮอล์อยู่ในมือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดช่องว่าง ต้องวิเคราะห์สู่การตัดสินใจ จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ด้วยพลังสังคมเติมช่องว่างให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อข้อตกลงร่วมกัน ให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานร่วมกันสู่หนทางปฏิบัติ ทุกภาคีเครือข่ายเคลื่อนไปในทิศทางบวก ยังมีตัวเลขคนไทยบริโภคเกลือมากกว่า WHO กำหนดถึง 2 เท่า

การสำรวจครัวเรือน 20% แรกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงการถือครองทรัพย์สินของครัวเรือน รวมทั้งสำรวจครัวเรือน 20% หลังที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจน โอกาสเสี่ยงมากน้อยในการเกิดโรค NCDs อยากเห็นความร่วมมือในการทำงานของ สสส.และ สสช.เจาะเป็นรายจังหวัด จนถึงปี 2030 ไม่เพียงเฉพาะการทำ MOU ในปี 2564 เท่านั้น เพราะจะต้องมีการสำรวจอีก 3 ครั้งทุกๆ 3 ปี ในปี 2567, 2570, 2573

               

 

ข้อมูลมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบาย

          

 ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เห็นว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับข้อมูลล่าสุดของ สสช.ที่บอกว่าคนไทยสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าด้วย

เป็นเวลาเกือบ 50 ปีที่ใช้ข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลในการใช้มาตรการควบคุมยาสูบ ปี 2519 สำนักงานสถิติสำรวจข้อมูลตัวเลข ผมอยู่เมืองไทย แต่ไม่รู้เรื่องข้อมูลนี้ ปี 2524 ผมเป็นหมอรักษาโรคปอด ผมก็ยังไม่รู้เรื่องตัวเลขของ สสช. เราต้องคิดถึงปัจจุบัน ข้อมูลสื่อไปถึงคนที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร คนที่กุมนโยบายสำรวจ 5 ปี/ครั้ง เห็นตัวเลขน่าตกใจในการทำโครงการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ WHO เคลื่อนไหว ปี 2530 มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดทำข้อมูลระดับโลก มีคนตายปีละ 2-5 ล้านคนจากการสูบบุหรี่ หรือวันละ 700 คนเสียชีวิต มีการคิดแบบสร้างสรรค์ด้วยว่าเท่ากับคนตกเครื่องบิน 747 เสียชีวิตวันละ 70 คน

ในปี 2531 WHO ประกาศเป็นครั้งแรกให้มีวันงดสูบบุหรี่โลกทุกวันที่ 31 พ.ค.ต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ บ้านเรามีข้อมูลเด็กไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ 2 ล้านคน เพื่อให้มีการขับเคลื่อนเรื่องยาสูบ มีการรณรงค์ทุกๆ 2 ปี ในขณะที่สหรัฐ ออสเตรเลีย รณรงค์ทุกปี ในประเทศอังกฤษรณรงค์ทุก 6 เดือน สำรวจจากประชากร 2,000 คน ได้ข้อมูลที่ต้องการเป็นข้อมูลระดับจังหวัด การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาพื้นที่ใช้ข้อมูลกลางคนไม่ได้ให้ความสนใจ 

ปีก่อนผมไปสนามบินดอนเมืองเพื่อเดินทางไปภาคใต้ เพื่อจะพูดเรื่องการแก้ไขปัญหายาสูบในภาคใต้ เจอลูกศิษย์เขาบอกว่าเรื่องบุหรี่จบแล้ว ผมทำงานอยู่ใน รพ.ไม่เห็นคนสูบบุหรี่แล้ว ทั้งบ้านปลอดบุหรี่แล้ว แต่ผมไปสำรวจในพื้นที่ยังมีเด็กสูบบุหรี่กันอยู่เป็นจำนวนมาก ข้อมูลจึงมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบาย สสช.ทำข้อมูลเยอะ แต่เรานำมาใช้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ข้อมูลขับเคลื่อนนโยบายเชิงเศรษฐกิจ นักการเมืองต้องศึกษาว่าภาษีที่เก็บมาได้คุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ครัวเรือนเป็นกุญแจสำคัญเศรษฐกิจครัวเรือน ต้องอาศัยความร่วมมือกัน.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"