ทล.ลุ้น กระทรวงทรัพย์ฯไฟเขียวเข้าพื้นที่สำรวจสร้าง4เลน 'เขาช่องตะโก'


เพิ่มเพื่อน    


16 ก.ค.2564 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 348 และ 3486 ช่วงที่ผ่านพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร (กม.) ว่า โครงการดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายและการผลักดันของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการอำนวยความสะดวก และสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง ทั้งยังสนับสนุนการขนส่งสินค้า 

ทั้งนี้ กรมทางหลวงจึงได้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2565 วงเงิน 95 ล้านบาท เพื่อนำมาสำรวจ ออกแบบรายละเอียด รวมทั้งศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ตลอดเส้นทาง รวมกับเส้นทางโครงการฯ ช่วงที่ตัดผ่านบริเวณเขาช่องตะโก ระยะทาง 3 กม. ด้วย

อย่างไรก็ตามขณะนี้ อยู่ระหว่างการรอความเห็นจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (กอม.) รวมถึงการพิจารณาของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อให้ ทล.เข้าพื้นที่ไปสำรวจและศึกษาความเหมาะสม ถ้ามีมติเห็นชอบให้ ทล.เข้าพื้นที่จะสามารถดำเนินการได้ทันที โดยหาก ทล. ได้รับการอนุมัติให้เข้าพื้นที่ และรับงบประมาณศึกษาแล้ว จะเสนอรายงานอีไอเอไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาอนุมัติแนวทางต่อไป

สำหนับแนวทางการดำเนินการภายหลังผ่านการพิจารณา และการศึกษาความเหมาะสม รวมทั้งอีไอเอแล้วเสร็จนั้น ทล. จะเสนอโครงการฯ ไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างภายในปี 2567 ส่วนจะใช้งบประมาณเท่าไหร่นั้น ต้องขึ้นอยู่ที่ผลการศึกษาโครงการฯ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2568 และแล้วเสร็จภายในปี 2571 เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ลดการสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ทาง นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของประเทศ อีกทั้งเส้นทางดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่มีความสำคัญเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และภาคตะวันออก 

ทั้งนี้ในการดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้น จะใช้รูปแบบที่เหมาะสม อาทิ อุโมงค์ระดับพื้นถนนที่ด้านบนอุโมงค์จะถูกทำเป็นพื้นที่สีเขียวเชื่อมผืนป่า ให้สัตว์ป่าสามารถสัญจรผ่านไปมาได้ รวมถึงอาจจะพิจารณาเจาะอุโมงค์ทะลุเขา เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุรถชนกับสัตว์ป่า อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า จะไม่ให้เกิดผลกระทบกับวิถีชีวิตของสัตว์ป่า และระบบนิเวศน์ หรือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ ภายใต้การพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงคมนาคมควบคู่ไปกับใส่ใจและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าว ทล. เป็นการขยายช่องจราจรจาก 2 ช่องจราจรไป-กลับ เป็น 4 ช่องจราจรไป-กลับ ตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นที่ ทล.3486 กม.0+000-กม.19+941 และ ทล.348 กม.71+625-กม.99+645 ในพื้นที่ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว รวมประมาณ 48 กม. ทั้งนี้ ทล.348 เป็นเส้นทางเชื่อม อ.อรัญประเทศ และ อ.นางรอง มีระยะทางทั้งหมด 140 กม. ปัจจุบันพบว่ามีปริมาณจราจรอยู่ที่ 8,000-10,000 คันต่อวัน 

อย่างไรก็ตามขณะที่ ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ ฯลฯ จะมีรถปริมาณการจราจรเพิ่มเป็น 40,000 กว่าคันต่อวัน ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากเส้นทางช่วงที่ผ่านเขาช่องตะโก มีขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ ไม่มีไหล่ทาง คันทางแคบ ลาดชัน คดเคี้ยว มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ขณะเดียวกันกันได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้เส้นทางมาอย่างต่อเนื่อง 

นายสราวุธ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับโครงการดังกล่าว ทล.ได้เสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาตั้งแต่เมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา หลังจากที่เมื่อปี 2554 ทล. ได้ทำศึกษาอีไอเอ ภายใต้โครงการพัฒนาโครงขยายทางหลวงหมายเลข 3486 และ 348 เชื่อมโยง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว-อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ แต่อยู่ระหว่างการอนุมัติเข้าพื้นที่ของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อสำรวจเก็บข้อมูล 

ทั้งนี้ ทล. และกระทรวงคมนาคมได้ประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เนื่องจากเส้นทางตัดผ่านพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 และอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณเขาช่องตะโก รวมทั้งศึกษารูปแบบในการขยายเส้นดังกล่าว ซึ่งจะใช้ต้นแบบ (โมเดล) ของทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี-อ.ปักธงชัย (โครงการทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก)
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"