อีกความหวัง!“วัคซีนใบยา”จุฬาฯเตรียมทดลองในคนก.ย.นี้  เผยทำรุ่นเชื้อกลายพันธุ์แล้ว คาดได้ฉีดกลางปี 65  


เพิ่มเพื่อน    

 

20ก.ค.64- เภสัชฯ จุฬาฯ เตรียมทดสอบ “วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19วัคซีนสัญชาติไทยแท้โดย “ใบยาไฟโตฟาร์ม”สตาร์ท อัพสังกัดจุฬาฯสร้างต้นแบบโรงงานผลิตวัคซีนจากพืชสำหรับใช้ในมนุษย์แห่งแรกในเอเชีย วางแผนพิสูจน์ประสิทธิภาพกับอาสาสมัครภายในเดือนกันยายน 2564พร้อมกับวิจัยวัคซีนรุ่น 2 รองรับไวรัสกลายพันธุ์

“วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 ผลิตจากใบพืชเป็นผลงานสตาร์ทอัพแห่งจุฬาฯ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด(ภายใต้ CU Enterprise) โดยสองนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โดยวัคซีนใบยาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด subunit vaccine ซึ่งต่างประเทศมีการผลิตวัคซีนชนิดนี้มานานแล้วโดยผลิตจากหลายแหล่งเช่น พืช แมลง ฯลฯ ขณะที่หลายประเทศผลิต subunit vaccine จากใบพืช เช่น แคนาดา และเกาหลีใต้

ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ


 ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา CEO และ Co-founder บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด เผยว่า วัคซีนใบยาใช้ใบยาสูบสายพันธุ์ดั้งเดิมจากออสเตรเลียทำหน้าที่เสมือนโรงงานผลิตชิ้นส่วนของไวรัสซึ่งเป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรคเมื่อฉีดวัคซีนใบยาเข้าไปในร่างกาย วัคซีนจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเราหากติดเชื้อโควิด-19 ก็จะป้องกันได้  โดย Timeline วัคซีนใบยา  พร้อมทดสอบกันยายนนี้ ภายหลังได้รับวัคซีนต้นแบบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนใบยากับสัตว์ทดลอง เช่น หนูขาวและลิง  ซึ่งแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2563 โดยพบว่าวัคซีน  สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ผลสูงหลังจากนั้น ในเดือนตุลาคม 2563 จึงเริ่มสร้างโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนที่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2564 โรงงานเนื้อที่ 1,200 ตร.ม. มีกำลังการผลิตวัคซีนเดือนละ 1 - 5 ล้านโดส 


“สิงหาคม 2564 เราจะเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18- 60 ปีโดยอาสาสมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนการทดสอบวัคซีนจะเริ่มในเดือนกันยายนอาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนสองเข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกเสร็จเราก็จะทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครกลุ่มอายุ 60–75 ปี ต่อไป” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรากล่าว และคาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565ในราคาต้นทุนโดสละ 300 - 500 บาท

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนใบยารุ่นที่ 2เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อ โควิด-19ซึ่งคาดว่าจะพร้อมทดสอบกับอาสาสมัครปลายปี 2564โดยจะปรับปรุงศักยภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วยวัคซีนใบยาโดยนักวิจัยไทยเพื่อคนไทย
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา ย้ำทิ้งท้ายถึงคุณค่าของโครงการวิจัยนี้นั่นคือวัคซีนใบยาเป็นวัคซีนฝีมือคนไทยโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้นักวิจัยคนไทยกว่า 50 ชีวิตและผู้สนับสนุนอีกนับร้อย 


“การผลิตวัคซีนโควิดได้เองส่งผลให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านสุขภาพสามารถต่อยอดงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์เพื่อประชาชนได้และเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยด้วย” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าว

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ สองนักวิจัยวัคซีนใบยา จากจุฬาฯ


ร่วมบริจาคเพื่อพัฒนาวัคซีนใบยาผู้สนใจบริจาคเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนใบยาโปรดดูรายละเอียดได้ที่https://www.cuenterprise.co.th/ หรือ Facebook: CUEnterprise


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"