กทม.เร่งค้นหาผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ 2,016 ชุมชนให้เสร็จภายใน 31 ก.ค.นี้ เผยมีคนไร้บ้าน1-2พันรายต้องฉีดวัคซีน


เพิ่มเพื่อน    

21 ก.ค.64 -กรุงเทพมหานคร แถลงข่าวสรุปการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ร.ต.อ. พงศกร  ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร เผยว่า  ขณะนี้การระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่ในเกณฑ์เพิ่มขึ้น ไปจนถึงทรงตัว โดยยอดสูงขึ้น ในวันนี้ (21ก.ค.)อยู่ที่ 2,500 ราย ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมาตรที่เข้มข้นขึ้น ในช่วง 14วันที่ผ่านมา ในภาพรวม กทม. มีการพบคลัสเตอร์ทั้งหมด 105 คลัสเตอร์ และ  28 คลัสเตอร์ที่ไม่พบผู้ป่วยแล้ว จึงต้องเร่งในการค้นหาผู้ป่วยให้ได้เร็วที่สุดเพื่อทำการกักตัว ด้วยการตรวจเชิงรุกถึงบ้าน สำหรับแผนในการรักษาระดับปฐมภูมิ จะนำมาในศูนย์พักคอย  แบ่งเป็น กรณีที่คนไม่สามารถอยู่บ้านแล้วทำการกักตัวเองได้ เป็นผู้ป่วยสีเขียว กรณีที่ 2 คือ มีที่กักตัวแต่ดูแลตัวเองไม่ได้ เช่น เด็กเล็ก และกรณีที่ 3 ที่ผู้ป่วยสีเหลือ หรือสีแดง ต้องมีการดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ เบื้องต้นก็จะการรักษาด้วยเครื่องออกซิเจน และจ่ายยาอย่างรวดเร็ว 

โฆษก กทม. กล่าวต่อว่า จากที่มีทีมตรวจเชิงรุกโควิด19 กทม. ที่ตรวจด้วย ชุดทดสอบแบบรวดเร็ว (Rapid Antigen test) แต่ไม่มีผล RT-PCR ยืนยัน ทาง กทม.จะมีการบริการรถตรวจเคลื่อนที่ในแต่ละเขตเพื่อตรวจซ้ำยืนยันเป็นผล RT-PCR ให้ สำหรับแผนการรับวัคซีนในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตามแผนจะได้รับวัคซีนเดือนละ 2.5 ล้านโดส จำนวน 2 เดือน ตั้งเป้าหมายการฉีดให้ได้ 2.5 ล้านโดส/เดือน ซึ่งการฉีดในโรงพยาบาลได้เต็มที่ประมาณ 15,000-30,000 คน/วัน ซึ่งตัวเลขที่ลงผ่านระบบหมอพร้อม ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 ประมาณ 900,000 คน จึงยังขาดวัคซีนอยู่อีกประมาณ 4 ล้านโดส เนื่องจาก ปัญหาที่วัคซีนไม่มาตามกำหนด ทั้งนี้ก็จะดำเนินการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป พร้อมกับฉีดคู่ขนานไปกับประชาชน และในกรณีคนไร้บ้านในพื้นที่ กทม. จากการสำรวจมีจำนวน 1,000-2,000 คน ได้ร่วมมือกับทาง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ฉีดวัคซีนในกลุ่มคนไร้บ้าน และจะทำการตรวจเชิงรุกให้ได้มากขึ้น 

“สำหรับมาตรการล็อคดาวน์กิจการใดที่ดำเนินการปิดอยู่ในสถานที่เสี่ยง ให้ดำเนินการปิดต่อ และปฏิบัติตามศบค. ให้มีการให้ปิดเพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของร้านตัดผม สวนสาธารณะ ร้านอาหาร และธุรกิจอื่นๆ ที่เบื้องต้นทางกรุงเทพฯไม่ได้มีประกาศปิดก็ยังเปิดได้  ในส่วนของร้านอาหารในห้างก็ต้องดำเนินการปิดทั้งหมด และคลินิกเวชกรรม ยังคงสามารถเปิดได้” โฆษก กทม. กล่าว 

พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กล่าวว่า เมื่อประชาชนลดการเดินทางและต้องอยู่บ้านมากขึ้น ดังนั้นรัฐก็มีบริการให้ความรู้เกี่ยวกับดูแลป้องกันตัวเอง  เนื่องจากการแพร่เชื้อได้เข้าเป็นถึงคนในครอบครัว โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุ หรือประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ทีมตรวจโควิดเชิงรุกของกทม. ที่มีจิตอาสาร่วมด้วยก็ได้มีการตรวจโดยใช้ Rapid Antigen test สำหรับในสถานพยาบาลซึ่งประชาชนก็จะเข้าถึงการตรวจมากยิ่งขึ้น และคาดว่าจะมีผลสรุปอีกครั้งในอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ว่าจะสามารถซื้อไปตรวจในครัวเรือนได้

 พญ.ป่านฤดี กล่าวเสริมว่า ดังนั้นเมื่อพบว่าติดเชื้อจะเข้าสู่ระบบการดูผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation : HI) ปัจจุบันผู้ป่วย HI ของสำนักอนามัยดูแลมีจำนวน 1,500 คน และการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ถึงที่บ้าน ซึ่งจะมีการเร่งตรวจเชิงรุกใน 2,016 ชุมชน ให้เสร็จสิ้นภายใน 31 กรกฎาคม 2564  โดยมีผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางไปฉีดวัคซีนได้เอง ได้เข้ารับวัคซีนกับทางทีมแล้วกว่า 17,000 คน สำหรับกทม. ภาพรวมการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1  ในกลุ่มผู้สูงอายุได้รับวัคซีนแล้วกว่า 600,000 ราย และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับวัคซีนกว่า 400,000 ราย 

ด้านนพ.สุขสันต์  กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า สำหรับการเพิ่มศักยภาพเตียงผู้ป่วยสีแดง เหลือง เขียว เบื้องต้นได้เพิ่มจำนวนเตียงที่โรงพยาบาลหลัก โดยเฉพาะ รพ.ราชพิพัฒน์  ได้มีการปรับสภาพให้เป็นเตียงสีเหลือง 150 เตียง และได้เพิ่มห้องไอซียูโมดูลาร์ได้เต็มที่จำนวน 4 ยูนิต รวม 40 เตียง แล้วเสร็จวันนี้ 2 ยูนิต โดยจะเปิดให้ใช้งานในพรุ่งนี้(22 ก.ค.64) เพื่อรองรับผู้ป่วยสีแดง  และรพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน มีเตียงไอซียูทั้งหมด 16 เตียง และได้ความร่วมมือจาก รพ.เอกชนในการเพิ่มจำนวนเตียงอีก 16 เตียง และได้ปรับเตียงสีเขียวเป็นเตียงสีเหลือง 70 เตียง รวมมีเตียงสีเหลือง 140 เตียง ในอนาคตจะมีการปรับให้เป็นเตียงสีเหลืองทั้งหมด สำนักการแพทย์ได้เพิ่มเตียงเหลืองและเตียงแดงในรพ.กลาง  รพ.ตากสิน  รพ.เจริญกรุง รวมทั้ง 3 แห่งประมาณ 100 เตียง ส่วน Hospital ที่มีรองรับกว่า 8,000 เตียง ทั้งนี้ได้มีการปรับเกณฑ์ให้สามารถดูแลผู้ป่วยสีเหลืองได้จำนวนหนึ่ง เช่น โรงแรงแรมพลาซ่า และศูนย์พักคอย ที่จะมีการยกระดับในแต่ละกลุ่มเขต ให้เป็นโรงพยาบาลสนาม 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"