สทนช.ลุยวางระบบจัดการท่วม-แล้ง ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบฯ


เพิ่มเพื่อน    

 

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช. ให้ความสำคัญและเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเสนอความเห็นในการกำหนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำระดับพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการจัดเวทีปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference) ณ โรงแรมโนโวเทลหัวหินชะอำบีช รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดเพชรบุรี ก็เพื่อให้ภาคส่วนเกี่ยวข้องรับทราบถึงผลการศึกษา หลังจาก สทนช.ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ และจะรวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ก่อนสรุปผลการศึกษาที่สมบูรณ์ ตามกระบวนการของ SEA ซึ่งเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมต่อการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่ เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย แผน หรือแผนงาน ตั้งแต่การพัฒนาทางเลือก การประเมินและคัดเลือกทางเลือกของการพัฒนาที่สอดคล้องกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จึงเป็นการเสริมการวางแผนในลักษณะมองจากล่างขึ้นบน ทำให้ได้ทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพ ข้อจำกัด และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเปรียบเทียบทางเลือกในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

 

 

สำหรับผลการศึกษาในเบื้องต้นแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1.ทิศทางการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำ คือ การพัฒนาแบบผสมผสาน ระหว่างการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ร่วมกับการพัฒนาด้านการเกษตรที่ยังคงไว้ซึ่งระบบเพาะปลูกแบบเดิม หรืออาจปรับระบบเพาะปลูกในบางลุ่มน้ำสาขาให้สอดคล้องกับศักยภาพของดินและน้ำ 2.แผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ตามทิศทางการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโดยมีโครงการทั้งสิ้น 2,431 โครงการ ส่งผลให้มีการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น 451 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทานเกือบ 300,000 ไร่ พร้อมช่วยลดพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมที่รอบปีการเกิดซ้ำ 25 ปี แบ่งเป็น ในเขตเมืองเพชรบุรีประมาณ 216 ตร.กม. และอ.บางสะพานประมาณ 8 ตร.กม. และ 3. จัดทำแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 5 ปี (ปี 2566-2570) รวมถึงฐานข้อมูลโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับคณะกรรมการลุ่มน้ำและหน่วยงานด้านบริหารจัดการน้ำ นำไปขับเคลื่อนแผนงานในปีต่อ ๆ ไป ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีแผนงานโครงการทั้งสิ้น 973 โครงการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนน้ำฯ 20 ปี อาทิ ด้านน้ำอุปโภคบริโภค ประชาชนได้รับประโยชน์ 6,277 ครัวเรือน การสร้างความมั่นคงน้ำภาคการผลิต พื้นที่ได้รับประโยชน์ 132,000 ไร่ เป็นต้น

 

 

“ด้วยสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ มีความหลากหลาย ทั้งภูเขา ป่าไม้ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ตลอดจนชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ทำให้มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวมากมาย เป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจและแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ มะพร้าว มะนาว สับปะรด อ้อย ปาล์มน้ำมัน จึงมีปริมาณการใช้น้ำส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตร รองลงมาเป็นภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว โดยสภาพปัญหาด้านน้ำจะพบปัญหาขาดแคลนน้ำใน 4 อำเภอ จ.เพชรบุรี ได้แก่ อ.เมืองเพชรบุรี อ.เขาย้อย อ.บ้านลาด และ อ.ท่ายาง และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.หัวหิน ขณะที่ปัญหาอุทกภัยส่วนใหญ่เกิดจากการระบายน้ำไม่ทัน โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ และอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุน  ดังนั้น จำเป็นต้องเร่งรัดวางแผนบริหารจัดการอุทกภัยทั้งระบบ จัดการความต้องการน้ำตามการพัฒนาของเมือง เนื่องจากการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ทำได้ยากขึ้น สร้างสมดุลระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว รองรับการพัฒนาเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย” ดร.สมเกียรติ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"