กรรมการสิทธิฯ แถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการจำกัดเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชน


เพิ่มเพื่อน    

23 ก.ค.64 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เสนอให้รัฐรับฟังความเห็นที่แตกต่าง ไม่ใช้กลไกทางกฎหมายเล่นงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตามที่ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีนักแสดง นักร้อง และบุคคลสาธารณะออกมาแสดงความคิดเห็นและข้อเรียกร้องผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นำมาซึ่งการร้องทุกข์และการแจ้งความดำเนินคดีกับบุคคลสาธารณะหลายราย

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ติดตามสถานการณ์การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง และมีความห่วงกังวลต่อการใช้กลไกทางกฎหมายมาปิดกั้นเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม

แม้การใช้สิทธิเสรีภาพแห่งการแสดงออกข้างต้นอาจมีข้อจำกัดได้เพื่อการคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อความมั่นคงของรัฐ การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน แต่ข้อจำกัดดังกล่าวต้องทำเท่าที่จำเป็น กสม.เห็นว่า การแสดงความคิดเห็นของบุคคลสาธารณะและประชาชนทั่วไปต่อการบริหารจัดการของรัฐเพื่อควบคุมและบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประชาชนรวมทั้งทุกภาคส่วนในสังคมกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักและต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารพร้อมให้ข้อเสนอแนะต่อฝ่ายบริหาร เป็นการใช้เสรีภาพโดยสุจริต แม้อาจมีถ้อยคำที่สื่อสารด้วยอารมณ์ความรู้สึกตามยุคสมัย แต่มิได้ก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด

นอกจากนี้ เสรีภาพในการแสดงออกถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับสังคมประชาธิปไตย และจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในข้อ 25 ของกติกา ICCPR รัฐบาลจึงพึงรับฟังความคิดเห็นรวมทั้งคำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนและนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการบริหารจัดการปัญหาต่าง ๆให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ กสม.ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ด้วยการไม่ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่สร้างความเกลียดชังโดยควรตรวจสอบข้อมูลที่อาจเป็นเท็จก่อนเผยแพร่ และขอให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลรับฟังความเห็นที่แตกต่างรวมทั้งคำวิพากษ์วิจารณ์ และงดเว้นการใช้กลไกทางกฎหมายที่มีผลเป็นการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสุจริต เพื่อนำไปสู่การร่วมกันแก้ไขวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อันจะทำให้สังคมประชาธิปไตยขับเคลื่อนและฝ่าฟันปัญหาไปได้บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"