เอกชนผนึกกำลังจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบางนาตราด กม.5 รับผู้ป่วยได้ 450 เตียง


เพิ่มเพื่อน    

จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 3 ที่ประสบปัญหาผู้ป่วยล้น จนเตียงในโรงพยาบาลทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ รับผู้ป่วยเต็มหมด ซึ่งภาครัฐก็ได้เร่งจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และได้พยายามขยายงานในการให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จึงได้จับมือกับภาคเอกชนและมูลนิธิ เพื่อก่อตั้งโครงการโรงพยาบาลสนามที่ได้มาตรฐานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอีกหลายหน่วยงาน

ทั้งนี้ ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์, MQDC, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค, ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล  และมูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์ และมูลนิธิพุทธรักษา 

โดยแต่ละภาคีเครือข่ายได้ร่วมมือกันด้านการก่อสร้าง ด้านระบบปรับอากาศ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขั้นสูงสุดของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดในศูนย์และสภาพแวดล้อมโดยรวม และด้านการจัดส่งทีมแพทย์และพยาบาล เพื่อการดูแลรักษา และสาธารณสุขให้กับผู้ป่วย ขณะที่มูลนิธิที่เข้ามาร่วมเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ได้แก่ มูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์ และมูลนิธิพุทธรักษา จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนต่อไป

สำหรับโรงพยาบาลสนามดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ซอยวัดปลัดเปรียง ถนนบางนาตราด กม.5 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยตัวโรงพยาบาลจะเป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ ติดระบบปรับอากาศ และระบบการระบายอากาศ ที่ปลอดภัยทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอก จำนวน 6 เต็นท์ผู้ป่วย รวม 450 เตียง โดยจะรับผู้ป่วยสีเขียว และสีเหลืองอ่อน และมีโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ รองรับสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนเป็นหนักขึ้น โดยโรงพยาบาลได้ขยายห้องผู้ป่วย ICU เพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสนาม

นพ.อธิวัฒน์ น้อยประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ  กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามว่า นับเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนได้ร่วมมือกัน โดยมีเทศบาลตำบลบางแก้ว และทางจังหวัดสมุทรปราการ ให้การสนับสนุนตามข้อกำหนดทางภาครัฐในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดพื้นที่หนึ่ง    

ขณะเดียวกันโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ตั้งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลสนาม เพียง 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 10 นาที และมีการสนับสนุนบุคลากรการแพทย์จากโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ อีก 11  สาขาร่วมมือด้วย ทั้งด้านเครื่องมือและบุคลากรการแพทย์เพื่อรับมือสถานการณ์การระบาด โดยติดตามอาการของคนไข้ผ่านระบบ TeleHealth อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลในปัจจุบันใกล้เต็มศักยภาพการรองรับ เช่นเดียวกับฮอสพิเทล  3 แห่งอีกรวม 400 เตียงที่มีอัตราครองเตียงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา และยังมีการพักรักษาตัวโดยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ตามเกณฑ์ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง(สีเขียว) อีกหลายร้อยคน

การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม โดยความร่วมมือภาคเอกชนเป็นแห่งแรก และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยชุมชนสังคมในและนอกพื้นที่แล้ว ยังเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และทำให้การตรวจค้นหาเชิงรุกของโรงพยาบาลเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ในการแยกผู้ป่วยไม่มีอาการ หรืออาการน้อยออกมารักษาที่โรงพยาบาลสนาม หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือทรุดลงจะดำเนินการรับตัวเข้ามารักษาในโรงพยาบาลทันที ซึ่งทางโรงพยาบาลได้มีการลงทุนขยายห้องผู้ป่วย ICU เพิ่มขึ้นอีก 60 ห้อง รวมเป็น 85 ห้อง  ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการรองรับการขยายโรงพยาบาลสนามในกรณีที่ผู้ป่วยอาการทรุดลง และต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะสามารถดูแลรักษาและรองรับผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า ในด้านการก่อสร้างลักษณะของอาคารเป็นโครงสร้างประกอบ เพื่อทำให้สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว  ภายในจะมีการเพิ่มความปลอดภัยด้านสุขภาพ ทั้งของผู้ป่วย และบุคลากรสนับสนุนในโรงพยาบาลสนาม อาทิ ใช้สีแบ่งโซนการใช้งานอย่างชัดเจน  เช่น โซนแดง คือโซนผู้ป่วย โซนเขียว โซนปลอดภัย สำหรับกลุ่มบุคลากร ในช่วงพักผ่อน 

พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากบริษัทก่อสร้างชั้นนำที่ได้มาตรฐาน จำนวน 8 บริษัทที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเรา อาทิ สี่พระยาก่อสร้าง วิศวภัทร์   เป็นต้น  การแบ่งพื้นที่ใช้สอยหลักเพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวน 450 เตียง แบ่งเป็นผู้ป่วยชาย 225 เตียง ผู้ป่วยหญิง 225 เตียง  เน้นรับผู้ป่วยสีเขียวเป็นหลัก  และได้แบ่งพื้นที่ ไว้รองรับสำหรับผู้ป่วยระดับสีเหลืองอ่อนจำนวน  20 เตียง พร้อมทั้งอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ระบบ oxygen ได้จัดเครื่องช่วยหายใจ ไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และมีอาการเชื้อลงปอด

ขณะเดียวกันยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จัดให้มีหุ่นยนต์ส่งของ “ปิ่นโต” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลต่างๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดนี้ จำนวน 12 ตัว ทำหน้าที่รับส่งยา อาหาร เครื่องดื่ม และพัสดุจำเป็นใดๆแก่ผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

อย่างไรก็ตาม ยังมีการนำระบบการสื่อสารทางไกลระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย “ไข่ต้ม Hospital”  ซึ่งเป็นระบบ telemedicine ที่พัฒนาโดยบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น มาช่วยในการสื่อสารและติดตามอาการผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงของบุคคลากร  ประหยัดการใช้อุปกรณ์ป้องกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่อีกด้วย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"