เอกชนผนึกตั้งรพ.สนาม รับผู้ป่วยโควิดต้นส.ค.นี้


เพิ่มเพื่อน    

ภาคเอกชนจับมือกันร่วมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามที่บางนาตราด กม.5 รับผู้ป่วยได้ 450 เตียง เปิดรับผู้ป่วยต้นสิงหาคม เพื่อสอดรับนโยบายภาครัฐ 
     จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 3 ที่ประสบปัญหาผู้ป่วยล้น จนเตียงในโรงพยาบาลทั้งภาคเอกชนและภาครัฐรับผู้ป่วยเต็มหมด ซึ่งภาครัฐก็ได้เร่งจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และได้พยายามขยายงานให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น 
     โอกาสนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จึงได้จับมือกับภาคเอกชนและมูลนิธิก่อตั้งโครงการโรงพยาบาลสนาม ที่ได้มาตรฐานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข  โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอีกหลายหน่วยงาน 
     ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์, MQDC, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค, ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล และมูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์,  มูลนิธิพุทธรักษา   
     โดยแต่ละภาคีเครือข่ายได้ร่วมมือกันด้านการก่อสร้าง ด้านระบบปรับอากาศ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขั้นสูงสุดของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดในศูนย์           และสภาพแวดล้อมโดยรวม และด้านการจัดส่งทีมแพทย์และพยาบาล เพื่อการดูแลรักษาและสาธารณสุขให้แก่ผู้ป่วย 
     ด้านมูลนิธิที่เข้ามาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ได้แก่ มูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์ และมูลนิธิพุทธรักษา จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนต่อไป 
      โรงพยาบาลสนามดังกล่าวตั้งอยู่ที่ซอยวัดปลัดเปรียง ถนนบางนาตราด กม.5 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยตัวโรงพยาบาลจะเป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ ติดระบบปรับอากาศ และระบบระบายอากาศที่ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล จำนวน 6 เต็นท์ผู้ป่วย รวม 450 เตียง โดยจะรับผู้ป่วยสีเขียวและสีเหลืองอ่อน และมีโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ รองรับผู้ป่วยที่อาการเปลี่ยนเป็นหนักขึ้น โดยโรงพยาบาลได้ขยายห้องผู้ป่วย ICU เพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสนาม  
     นพ.อธิวัฒน์ น้อยประสิทธิ์ Chief Performance  Coach, Risk and Quality Officer บริษัท พริ้นซิเพิล  เฮลท์แคร์ จำกัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ  กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามว่า “ถือเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนโดยโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล  เฮลท์แคร์ ได้ร่วมมือกับ MQDC, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค, ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล  และมูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์, มูลนิธิพุทธรักษา โดยมีเทศบาลตำบลบางแก้ว และจังหวัดสมุทรปราการให้การสนับสนุน ตามข้อกำหนดของภาครัฐในการจัดตั้ง โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอีกพื้นที่หนึ่ง      
    โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ตั้งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลสนามเพียง 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 10  นาที และมีการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ อีก 11 สาขาเพื่อร่วมมือด้วย ทั้งด้านเครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์ รับมือสถานการณ์การระบาด โดยเราติดตามอาการของคนไข้ผ่านระบบ TeleHealth อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลในปัจจุบันใกล้เต็มศักยภาพการรองรับ เช่นเดียวกับฮอสพิเทล (Hospitel) 3 แห่ง อีกรวม 400 เตียงที่มีอัตราครองเตียงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา  และยังมีการพักรักษาตัวโดยแยกกักตัวที่บ้าน (Home  Isolation) ตามเกณฑ์ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง (สีเขียว) อีกหลายร้อยคน  
    การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม โดยความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นแห่งแรก และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยชุมชนสังคมในและนอกพื้นที่แล้ว ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และทำให้การตรวจค้นหาเชิงรุกของโรงพยาบาลเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ ในการแยกผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการน้อยออกมารักษาที่โรงพยาบาลสนาม หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือทรุดลงจะดำเนินการรับตัวเข้ามารักษาในโรงพยาบาลทันที ซึ่งโรงพยาบาลได้มีการลงทุนขยายห้องผู้ป่วย ICU เพิ่มขึ้นอีก 60 ห้อง รวมเป็น 85  ห้อง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการรองรับการขยายโรงพยาบาลสนาม ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการทรุดลงและต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะสามารถดูแลรักษาและรองรับผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที  
     นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า  "ในด้านการก่อสร้างลักษณะของอาคารเป็นโครงสร้างประกอบ เพื่อทำให้สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว ภายในจะมีการเพิ่มความปลอดภัยด้านสุขภาพ ทั้งของผู้ป่วยและบุคลากรสนับสนุนในโรงพยาบาลสนาม      อาทิ ใช้สีแบ่งโซนการใช้งานอย่างชัดเจน เช่น โซนแดงคือโซนผู้ป่วย  โซนเขียวคือโซนปลอดภัย สำหรับกลุ่มบุคลากรในช่วงพักผ่อน พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากบริษัทก่อสร้างชั้นนำที่ได้มาตรฐาน จำนวน 8 บริษัทที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเรา อาทิ สี่พระยาก่อสร้าง,  วิศวภัทร์ เป็นต้น การแบ่งพื้นที่ใช้สอยหลักเพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวน   450 เตียง แบ่งเป็นผู้ป่วยชาย 225 ผู้ป่วยหญิง 225 เน้นรับผู้ป่วยสีเขียวเป็นหลัก และได้แบ่งพื้นที่ไว้รองรับผู้ป่วยระดับสีเหลืองอ่อน  จำนวน  20 เตียง พร้อมทั้งอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ระบบ  oxygen ได้จัดเครื่องช่วยหายใจ  (Highflow) ไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักและมีอาการเชื้อลงปอด  
    รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จัดให้มีหุ่นยนต์ส่งของ “ปิ่นโต” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลต่างๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดนี้ จำนวน 12  ตัว ทำหน้าที่รับส่งยา อาหาร เครื่องดื่ม และพัสดุจำเป็นใดๆ แก่ผู้ป่วย  เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 
    นอกจากนี้ ยังได้นำระบบการสื่อสารทางไกลระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย “ไข่ต้ม Hospital”  ซึ่งเป็นระบบ  telemedicine ที่พัฒนาโดยบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น มาช่วยในการสื่อสารและติดตามอาการผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงของบุคคลากร  ประหยัดการใช้อุปกรณ์ป้องกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ 
    "ทาง MQDC ต้องขอขอบคุณโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ  และผู้ร่วมก่อตั้งทุกภาคี รวมถึงทางภาครัฐ คือเทศบาลตำบาลบางแก้ว  จังหวัดสมุทรปราการ และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ให้โอกาสเราได้ร่วมทำโครงการนี้ครับ”. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"