สสส.ไทยพร้อม “ไทยพร้อม” ขับเคลื่อนผักผลไม้เป็นวาระชาติ คนไทยทุกวัยต้องได้กินเพียงพอ


เพิ่มเพื่อน    

 ก.เกษตรฯ-สสส.-ภาคีองค์กรเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ประกาศ “ไทยพร้อม” ขับเคลื่อนผักและผลไม้เป็นวาระชาติ ยกระดับสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2573 ตั้งเป้าให้คนไทยกินผักผลไม้เพียงพอ-ปลอดภัย หนุนพลิกโฉมระบบอาหารประเทศไทย สานพลังบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน กำหนดให้หน่วยงานเฉพาะที่ดูแลด้านอาหารปลอดภัยและโภชนาการและเด็กวัยเรียนเร่งดำเนินงานส่งเสริมการเข้าถึงและกินผักผลไม้ที่ปลอดภัยและเพียงพอ

 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมจัดเวทีหารือสาธารณะ (National Dialogue) ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ การออกแบบ “ไทยพร้อม”สู่การขับเคลื่อนผักและผลไม้เป็นวาระแห่งชาติ (Reshaping Thailand’s readiness to Encourage Vegetable and Fruit Intake as National Agenda) ผ่านทางออนไลน์ระบบ ZOOM เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564

โดยมี ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ประสานงานของประเทศไทย สำหรับ UNFSS The National Convenor) ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส.และรักษาการ ผอ.สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. มร.วอร์เรน ที เค ลี เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านโภชนาการและระบบอาหาร สำนักงาน FAO ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก พญ.เรณู การ์ก เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ (โรคไม่ติดต่อ) สำนักงานผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผอ.สำนักการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ปลูกผัก เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) สถาบันวิจัยและการศึกษา ตลาดค้าปลีก-ส่ง หน่วยงานด้านโลจิสติกส์ และธุรกิจอาหารกว่า 300 คนเข้าร่วม เพื่อเตรียมความพร้อมของไทยสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit 2021: UNFSS2021) ทั้งนี้ มีล่ามแปล ชนิดา แบมฟอร์ด อารยา อัมระปาล

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส.และองค์กรภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ศูนย์พืชผักโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคีเครือข่ายภาควิชาการ และภาคประชาสังคม สนับสนุนให้รัฐบาลกำหนดให้การกินผักผลไม้ที่ปลอดภัยและเพียงพอของคนไทย เป็นเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับชาติ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เพื่อกระตุ้นให้คนไทยกินผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น และได้ปริมาณที่เพียงพอตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยคนไทยอายุ15ปีขึ้นไป ควรกินผักผลไม้ให้ได้อย่างน้อย400กรัมต่อวัน พร้อมทั้งกำหนดให้หน่วยงานเฉพาะที่ดูแลด้านอาหารปลอดภัยและโภชนาการ และเด็กวัยเรียน เร่งดำเนินงานส่งเสริมการเข้าถึงและกินผักผลไม้ที่ปลอดภัยและเพียงพอ

“สสส.และภาคีเครือข่ายจึงได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายส่งเสริมผักผลไม้ปลอดภัย โดยใช้กลไกมาตรการทางกฎหมายและนวัตกรรมเชิงนโยบาย (policy innovation) อาทิ การใช้นโยบายทางภาษี เพื่อจูงใจการขายอาหารที่ดีต่อสุขภาพ กำหนดจำนวนสินค้าอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (รวมผักและผลไม้) ขั้นต่ำที่ร้านอาหารต้องขาย การให้ร้านอาหารติดข้อมูลแสดงค่าพลังงานอาหารบนเมนู เป็นต้น โดยกรณีตัวอย่างนโยบายในประเทศอังกฤษพบว่า หากภาครัฐใช้นโยบายอุดหนุนทางราคาผักผลไม้ร้อยละ 10 จะช่วยให้ประชาชนโดยรวมกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น 0.25 ส่วน ขณะที่หากใช้นโยบายอุดหนุนทางราคาผักผลไม้ร้อยละ 30 กับกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย จะช่วยให้ประชาชนกลุ่มนี้กินผักผลไม้เพิ่มขึ้น 0.53 ส่วน และนโยบายทั้งสองนี้ถูกประเมินว่า มีความคุ้มค่าในการลงทุนทั้งจากมุมด้านนโยบายและสังคม” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว

ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ประสานงานของประเทศไทย สำหรับ UNFSS (Thai National Convener) กล่าวว่า จะนำข้อเสนอและข้อถกแถลงจากเวทีหารือสาธารณะในครั้งนี้ โดยเฉพาะปัจจัยด้านนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากรัฐที่ควรประกาศให้การผลิต และบริโภคผักผลไม้เป็นวาระสำคัญแห่งชาติ เชื่อมโยงสู่รูปธรรมปฏิบัติการระบบอาหารที่มีการดำเนินการในสังคมไทย พัฒนาเชิงโครงสร้าง และกลไกสนับสนุนภาคเกษตร และระบบอาหารของไทย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs ภายในปี 2573

โดยจะเชื่อมร้อยกับข้อเสนอจากผู้ที่มีบทบาท และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการผลิตอาหารและการเกษตรของประเทศไทย นำไปเสนอในเวทีประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหาร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แสดงความประสงค์ต่อสหประชาชาติที่จะเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและอาหารจากทั่วโลก (pre-summit) 26-28 กรกฎาคม 2564 ณ กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี และการประชุมระดับผู้นำประเทศและนายกรัฐมนตรี ในช่วงเดือนกันยายน 2564 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและอาหารจากทั่วโลก เร่งหารือและจัดทำนโยบายแผนงานการปฏิรูประบบอาหารและการเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืน

มาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก การรณรงค์ให้เกษตรกรผลิตสินค้าปลอดภัย เรื่อง organic เป็น Trend นโยบายการลดหย่อนภาษีใช้ตลาดนำการผลิตเป็นเรื่องที่กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ร่วมมือกันเป็นอย่างดี มี platform on line นำข้อเสนอแนะเพื่อนำสู่แนวปฏิบัติ

                สำหรับผู้ที่สนใจสามารถร่วมติดตามรายละเอียดและสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบอาหารที่ยั่งยืนของประเทศไทย ได้ที่เว็บไซต์ https://thfoodsystems.com/ และสามารถดาวน์โหลดเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย "ขับเคลื่อนโยบายและมาตรการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการ และระบบอาหารของประเทศ" ได้ที่เว็บไซต์ สสส. http://ssss.network/ka8t3

                พญ.เรณู การ์ก เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ (โรคไม่ติดต่อ) สำนักงานผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวถึงเป้าหมายโภชนาการเพื่อสุขภาพและนโยบายธรรมาภิบาล นำเสนออาหารไทยมากด้วยโซเดียม ส้มตำไก่ย่าง 1,800 มิลลิกรัม ต้มยำกุ้ง 2,200 มิลลิกรัม ทำให้เด็กไทยได้รับปริมาณโซเดียมมากและสั่งสมจนถึงวัยผู้ใหญ่โอกาสเกิดโรค NCDs มีผู้เสียชีวิต 4 แสนราย/ปี ด้วยโรค NCDs เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือตายทุกนาที ดังนั้นต้องมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในอันที่จะรักษาสุขภาพ ด้วยการเก็บภาษีความหวาน น้ำอัดลม อาหาร junk food และลดราคาผักผลไม้อินทรีย์ 10-30% การใช้มาตรการระบบภาษีเข้าไปดำเนินการ เน้นให้ผู้บริโภครับประทานอาหาร Green Food ให้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเข้าไปดูแลอาหารกลางวันในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กนักเรียนอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต ควรควบคุมให้ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ เพิ่มผักผลไม้ ลดอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น งดน้ำอัดลม ขณะนี้ WHO และ FAO ผลักดันให้เป็นวาระสำคัญในภูมิภาค

                อนึ่ง ในที่ประชุมมี Workshop : จากดาวเด่นในเวทีไทยสู่การออกแบบโครงสร้างและกลไกสนับสนุน “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” ในเวทีโลก (Global Concept) Show case 1 : ระบบอาหารยั่งยืน ดร.เพ็ญ สุขมาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Show case 2 : โมเดลธุรกิจอาหาร ผู้ประกอบการสีเขียว อรุษ นวราช ผู้บริหารโรงแรมสวนสามพราน ผู้พัฒนาสามพรานโมเดล Show case 3 : การสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ วรางคนางค์ นิ้มหัตถา ผู้จัดการโครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

 

 

 

นำเสนอโมเดลธุรกิจอาหารบ้านสวนผักกูดทอง (อินทรีย์) ภูเก็ต ได้มาตรฐาน Organic Thailand

เป็นกิจกรรมทำร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

                                   อรุษ นวราช

       ผู้บริหารโรงแรมสวนสามพราน

            ในฐานะที่ทำงานด้านธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ต้องซื้อผักผลไม้มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ทำงานอยู่ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค เรามีบทบาทขับเคลื่อนอาหารยั่งยืนในวันนี้ เราเริ่มต้นเมื่อ 10 ปี เพื่อช่วยผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ผ่านมาได้เชิญชวนโรงแรม Grand Mercure ขับเคลื่อนอาหารยั่งยืน            การขับเคลื่อนสามพรานโมเดลเกื้อกูลสังคม สังคมอินทรีย์ระบบอาหารยั่งยืน โดยมี สสส.สนับสนุนตลอด 7 ปี ให้เกษตรกรหยุดการใช้สารเคมีมีภาคีเครือข่ายทำงานกันเป็นกลุ่ม 

การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ  ไม่สามารถทำงานเดี่ยวๆได้ เดินต่อไปได้ด้วยหุ้นส่วนทีดีๆหลายคน การขับเคลื่อนระบบอาหารยั่งยืน เกษตรกรเป็นหนี้ เพราะใช้ปุ๋ยสารเคมีลงในดิน ความไม่เท่าเทียมทางสังคมเกษตรกรและผู้บริโภคไม่เคยได้พบกัน เพราะเป็นการซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลางโดยตลอด ผมทำธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ซื้อผักผลไม้จากพ่อค้าคนกลาง ผู้บริโภครับประทานผักผลไม้ที่เต็มไปด้วยสารเคมี เราขับเคลื่อนเพื่อหาทางออกเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ด้วยการเชื่อมเกษตรกรโดยตรง ลดการใช้สารเคมี เป็นโอกาสเกษตรกรที่กำหนดราคาได้โดยตรง บ้านสวนผักกูดทอง ภูเก็ตขายผักกูด ใบเหลียง ให้กับเจ้าของโรงแรมโดยไม่ผ่านคนกลาง ททท.เชิญสื่อมวลชนจากนิวยอร์กมาร่วมงานเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์

                ขณะนี้ 180 ครอบครัวที่นครปฐม จังหวัดใกล้เคียงลุกขึ้นมาทำเกษตรอินทรีย์ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไป 6-7 แสนบาท ถึงกลุ่มเกษตรกรโดยตรง  ถ้าผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหารพร้อมใจกันลุกขึ้นมาทำตรงนี้ เงินถึงมือเกษตรกรเป็นหมื่นล้าน ผู้ประกอบการควรพบกับเกษตรกรเชื่อมโยงให้เขาปรับตัวในการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี ที่ผ่านมานั้นผู้ประกอบการซื้อผ่านพ่อค้าคนกลางเป็นเรื่องง่าย อยากได้อะไรก็บอกไปก็ได้ตามนั้น แต่ถ้าเราเป็นหุ้นส่วน เข้าใจเห็นใจกัน ช่วยกันแก้ไขพัฒนาช่วยกันยกระดับ การจัดการขยะอาหาร 11 ตัน นำมารีไซเคิลเป็นปุ๋ยอินทรีย์นำมาเลี้ยงเป็ด ไส้เดือน ตลอด 3-4 ปี ไม่ต้องทิ้งขยะอาหาร ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้อปุ๋ยหมัก ขยะรีไซเคิลพลาสติก นำขวดเฟรชทำเป็นเส้นใยเป็นผ้า Souvenir สวนสามพราน การทำงานช่วยกันขยายผลการเรียนรู้ในสิ่งที่ทำเพื่อแชร์ไปยังผู้ประกอบการอื่นๆ

                ขณะนี้มีโรงแรมดุสิตธานี Rose Garden สวนสามพราน Riwa Surya  Anantara สุโกศล Sivatel ศูนย์ประชุม Bitec ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ห้องอาหารสีฟ้า ฯลฯ เข้าร่วมโครงการ ใช้การท่องเที่ยวยั่งยืนสู่ระบบอาหารยั่งยืน ททท.ร่วมสนับสนุนเมื่อ 3 ปีก่อน ต่อไปจะเป็น Organic Tourism เป็นเฟสต่อไป สมาคมผู้บริโภคอาหารอินทรีย์ไทย เริ่มต้นจากผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร เชื่อมโยงเกษตรกรโดยตรงมากขึ้น เป็นการตัดสินใจรวมกลุ่มกับสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) มีศิลปิน นภ พรชำนิ สสส. พร้อมภาคีเครือข่าย รวมตัวกันเป็นตลาดใหญ่ให้กับเกษตรกร

                โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ประกอบการ 20 รายมารวมตัวกัน ด้วยเส้นทางการเดินทางไปด้วยกัน เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนสู่อนาคต มีทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจัดทำ Digital Platform เปลี่ยนแปลงการผลิตดูแลรักษา การจัดทำกิจกรรมในฟาร์ม บันทึกสร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ โชว์ห่วงโซ่อาหารจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ สร้างความเชื่อมั่นตลอดห่วงโซ่ พัฒนาอย่างต่อเนื่องดึงนักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเป้าหมาย เราอยากสร้าง Active Consumer ผลักดันให้มีผู้ผลิตมากขึ้น สร้างความตระหนักรู้อย่างยั่งยืน เมื่อลูกค้ามาพักที่โรงแรม ร้านอาหาร ได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษด้วยพื้นฐานการมีสุขภาพที่ดี การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นการเกื้อกูลสังคม ส่งผลให้ผู้บริโภค นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการทำสิ่งดีๆ เพื่อสังคม ช่วยกันสร้างนักท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

                มหาวิทยาลัยราชภัฏหลายแห่งเข้ามาฝึกอบรมทำสารอินทรีย์ GPS ในภาคเหนือ ภาคอีสาน มีการโชว์เมนูอาหารที่มีใบรับรองเกษตรอินทรีย์ให้กับผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ TOCA PLATFORM ให้แต้มกับผู้บริโภคเริ่มต้นที่ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ให้นักท่องเที่ยวอุดหนุนโรงแรม ร้านอาหาร ได้แต้มแลกแต้ม เราสร้างเครือข่าย ทั้งหมดนี้เป็นการตอบโจทย์วาระแห่งชาติ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การทำเกษตรอินทรีย์เป็นสิ่งที่ไม่ฝืนธรรมชาติ การกำจัดขยะอาหารด้วยการหมุนเวียนทรัพยากรในฟาร์มให้มากที่สุด การขับเคลื่อน Organic เป็นการตอบโจทย์ทุกคนเข้าถึงวัตถุดิบอินทรีย์ในราคาเป็นธรรม

                การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร ยำผักกูดอินทรีย์มีกุ้ง ไข่ นำไปขายในตลาดที่จัดเตรียมไว้ถึงมือผู้บริโภค ผู้ประกอบการมองเห็นเกษตรกรคือหุ้นส่วนสำคัญที่มีความเข้าใจต่อกันอย่างดี เกษตรกรอินทรีย์เป็นจุดขายที่ดี ผู้บริโภคสนใจเกษตรอินทรีย์จริงๆ ไม่ใช่แค่เกษตรอินทรีย์แต่ชื่อเท่านั้น เป็นการตอบโจทย์องค์การสหประชาชาติจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 17 ข้อ (มุ่งหวังแก้ไขปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน “ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ทำให้สำเร็จภายในปี 2030) เป็นหุ้นส่วน สสส. ปตท. การได้ทำงานร่วมกับรองปลัด (กระทรวงเกษตรฯ) ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ถือว่าเป็นหุ้นส่วนสำคัญ การทำงานขับเคลื่อนนำโดยภาคธุรกิจการท่องเที่ยวนำสู่อาหารที่ยั่งยืน

                “เงินทุกบาททุกสตางค์อุดหนุนเกษตรกรเดือนละ 6-7 แสนบาทโดยตรง รัฐบาลควรพิจารณาลดหย่อนภาษีเหมือนกับธุรกิจรถยนต์รายใหญ่ที่ผลิตจากชิ้นส่วนภายในประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยว อาหารการเกษตร 30% ของ GDP อีกทั้งหยุดใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรสนับสนุนให้มีตลาด” อรุษ นวราช นำเสนอโมเดลธุรกิจอาหารต่อที่ประชุม.

 

 

นำเสนอระบบอาหารที่ยั่งยืน

ดร.เพ็ญ สุขมาก สถาบันนโยบายสาธารณะ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ด้วยทุกขภาวะโภชนาการของคนภาคใต้ เจ็บป่วยด้วยโรค NCDs 1.2 ล้านคน/ปี มีการนำเข้าข้าวมายังพื้นที่ภาคใต้ 5.5 แสนตัน/ปี ผักผลไม้มีสารเคมีตกค้าง 69% ความไม่มั่นคงทางอาหาร ปัจจัยการผลิต ขาดแรงงาน ทำให้คนใต้พึ่งพาตัวเองลำบากในเรื่องผักผลไม้ พื้นที่ภาคใต้เป็นพื้นที่อาหาร 44.2 ล้านไร่ ทำการเกษตร 21.7 ล้านไร่ น้อยกว่า 30% เนื่องจากพื้นที่สวนใหญ่ปลูกยางพาราและทำปาล์มน้ำมัน พื้นที่จำนวน 1.1 แสนไร่ใช้สารอินทรีย์ ส่วนใหญ่ใช้วิถีการเกษตรเชิงเดี่ยว เหตุนี้คนใต้จึงอยู่ในภาวะทุโภชนาการสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ อาหารกลางวันยังไม่ได้มาตรฐาน ระบบอาหารเกษตรปลอดภัยน้อยมาก การเพิ่มบริโภคผักผลไม้ในกลุ่มประชากร สร้างความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย การดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ลดรายจ่าย จัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เพื่อเข้าถึงแหล่งอาหารในชุมชน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทะเล

            สถาบันจัดการระบบสาธารณะทำเรื่องอาหารเมื่อปี 2557 แบ่งเป็น 5 ระยะ เครือข่ายทำระบบอาหาร วางรากฐานสร้างพื้นที่ต้นแบบพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระดับพื้นที่ ขยายผลไม้ไปยังพื้นที่ต่างๆ สร้างพื้นที่ต้นแบบให้ได้ ขยายคนระดับภาค เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนท้องถิ่นระดับพื้นที่มีกลไกกองทุนหลักประกันท้องถิ่นภาคใต้มีงบประมาณเป็นพันล้านบาท ขาดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอแต่ยังไม่มีงบประมาณ การผลักดันระบบอาหารสู่ภารกิจหน่วยงานปกติ แผนปฏิบัติการระดับจังหวัด ภาค มุ่งสร้างกระบวนการกลไกการทำงานใหม่ๆ การสร้างรูปธรรมระบบอาหาร ชุมชนท้องถิ่นเป็นภาคปฏิบัติการ เกษตรจังหวัด หน่วยงานกระทรวงมหาดไทย รวบรวมทีม ม.สงขลาฯ สังเคราะห์องค์ความรู้ขยายผลสู่เชิงนโยบาย องค์ความรู้ขยายผลเสนอต่อหน่วยงานในเชิงกว้างทำให้งานมีปัจจัยความสำเร็จ มีทีมสนับสนุนการสร้างหลักสูตร พัฒนาพื้นที่ต้นแบบเน้นการสื่อสารในพื้นที่ ใช้กลไกวิชาการทำให้การทำงานยั่งยืนภาคใต้ประสบความสำเร็จ ด้วยคน สภาพแวดล้อม ระบบกลไกเข้าถึงอาหาร ความปลอดภัยทางอาหาร มีคุณค่าทางโกชนาการ สนับสนุนกระบวนการผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาความยากจนในพื้นที่

            ขณะนี้ภาวะวิกฤติโควิดระบาด อุทกภัยทางภาคใต้ ได้รับผลกระทบจากความมั่นคงทางอาหาร เป็นความจำเป็นในการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืน ปศุสัตว์ ประมง การแปรรูปสมุนไพร ปี 2557 ปลูกยางพาราควบคู่กับการปลูกเนียง ปี 2558 ปลูกพืชร่วมกับยางพารา 10 รูปแบบ โมเดลที่ 1 เกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ 13 ไร่ ทำสวนสละ สวนทุเรียน กล้วย ผักกูด ร่วมกับการทำปศุสัตว์ เลี้ยงหมู แพะ ไก่ “ทำบุญกับผลผลิตที่ทำได้ปลอดภัย” การทำวนเกษตรเน้นปลูกผักพื้นบ้านแปลงใหญ่ โมเดลที่ 2 การสร้างป่าในพื้นที่ด้วยพืชสมุนไพร ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพขึ้นใช้เอง ในแปลงเกษตรผสมผสาน เลี้ยงปลาดุก ทำตลาดออนไลน์จำหน่าย

            3.การจัดการขยะเป็นโมเดลของตลาดทุ่งสร้างเพื่อความรอบรู้สุขภาพต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ขยายไปยังตลาดเอกชนด้วย การทำตลาดในโรงพยาบาล 81 แห่งเป็นพื้นที่ต้นแบบได้ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายอาหารปลอดภัย หนุนเสริมเกษตรกรในพื้นที่กระจายผลผลิตพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย การจัดอาหารกลางวันในโรงเรียนด้วยยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส พัทลุง ระนอง ชุมพร ปัตตานี เป็นการเพิ่มมูลค่าการบริโภค มีการวางกลไกผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ศรีวิชัย สร้างปฏิบัติการ

            “กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด” เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 10% ข้าวไร่/นา 55,000 ตัน/ปี เป็นการนำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพภาคใต้

 

 

วรางคนางค์ นิ้มหัตถา ผจก.สวนผักคนเมือง

ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติด้วยการแปลงวิกฤติเป็นโอกาส

                ผู้แทน FAO ให้บทบาทเกษตรในเมืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาหารยั่งยืน สวนผักคนเมืองปลูกผักปลูกเมืองซึ่ง สสส.สนับสนุนเมื่อปี 2010 ใช้พื้นที่คนเมือง ทุกวันนี้การเติบโตของเมืองไร้ทิศทาง เมื่อเกิดวิกฤติในเมือง ได้รับผลกระทบความมั่นคงทางอาหารของผู้บริโภค การเข้าถึงอาหารปลอดภัย คนเมืองไม่มีโอกาสเลือก เนื่องจากไม่ใช่ผู้ผลิตอาหารโดยตรง คนเมืองมีความเหลื่อมล้ำสูง ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นผู้นำส่งอาหารออกนอกประเทศ แต่คนส่วนหนึ่งไม่มีอาหารจะกิน ทำอย่างไรให้การเติบโตของเมืองมีความสำคัญทางด้านการเกษตร

            1.การเพิ่มพื้นที่ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคยั่งยืน 2.มีพื้นที่เชื่อมโยงกระจายอาหาร 3.ขับเคลื่อนความรู้แนวคิดเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ด้วยกรอบคิดการทำงาน การทำเกษตรในเมืองให้มีความมั่นคงและเกื้อกูลกัน การทำให้คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยเข้าถึงแหล่งเงินทุน กลุ่มคนเมืองมารวมกลุ่มสร้างพื้นที่อาหารของตัวเอง 350 แห่ง หนุนเสริมความรู้ปัจจัยการผลิต มีทีมวิทยากรทำงานร่วมกัน 1 ปี เป็นพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่สาธารณะ นำพื้นที่รกร้างว่างเปล่ามาผลิตอาหารในเมือง อาหารปลอดภัยต่อคน สิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ปุ๋ยสารเคมี

            ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงอาหารที่ดี ใช้ประโยชน์ที่ดิน สร้างสวนผักชุมชน คนไทยบริโภคผักผลไม้ไม่ถึง 400 กรัม/วัน เรายังมาไม่ถึงครึ่งทางของงานวิจัย การทำพืชผักสวนครัวเองจะทำให้การบริโภคผักได้อย่างเพียงพอ ชุมชนพัฒนาปรับปรุงดินอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตจากสวนผักชุมชน พื้นที่บางแห่งปลูกผักได้ถึง 75 ชนิด ผักพื้นบ้านพึ่งพาตนเองได้ เลี้ยงไก่ไข่ พื้นที่ 400 ตารางเมตร มีพื้นที่ปลูกผัก 200 ตารางเมตร ภายใน 1 ปีมีผลผลิตที่บริโภคได้คนละ 240 กรัม/วัน เลี้ยงผู้คน 20-25 คน คือโอกาสในการสร้างศักยภาพผลิตอาหาร สวนผักชุมชน

            การมี City Farm Marget ดูแลอาหารให้กับผู้บริโภค 150-200 ครอบครัว ดูแลเกษตรกรรายย่อย อบรมให้ความรู้ 5,000 คน/ปี หลักสูตรอบรม 20 หลักสูตร ให้คำปรึกษาเกษตรในเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการขยะอินทรีย์ ชุมชนลาดพร้าว 71 ขอนแก่น พัทลุง หาดใหญ่ การจัดเสวนาวิชาการเทศกาลสวนผักแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างเครือข่ายทำงานร่วมกัน วิกฤติโควิดมีการดูแลแบ่งปันให้เกิดขึ้นในชุมชน ปลูกผักอายุสั้นมีผลผลิตให้กลุ่มเปราะบาง ปันอาหารในช่วงวิกฤติโควิด-19 เราจะไม่ทิ้งกัน ขณะนี้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงอาหารอินทรีย์ที่มีคุณค่าด้วยการดูแล 75 ชุมชน 1,200 ครอบครัว ใน 25 จังหวัด การดูแลผู้คน 1,013 คน ผลิตอาหารเร่งด่วน 30 ชุมชน กลุ่มคนเปราะบางพึ่งพาตัวเองด้วยการเพาะถั่วงอก การสร้างศักยภาพในพื้นที่ของตัวเอง ปลูกผักใช้ปุ๋ยหมัก จัดการขยะอินทรีย์

            สวนผักคนเมือง: ปลูกผักปลูกเมืองปลูกชีวิต ศักยภาพพื้นที่ 1 ตารางเมตรปลูกผัก 2 กก. ใน 1 รอบการผลิต การปลูกผักแต่ละรอบใช้ปุ๋ยหมัก 1 กก. ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ 3 กก. ปี 2558 กทม.มีพื้นที่รกร้าง 7.5 หมื่นไร่ ถ้านำพื้นที่ 8 ล้านตารางเมตร นำมาปลูกผัก ปีหนึ่งผลิตผักได้ 18 ล้าน กก. เพียงพอสำหรับผู้คน 5 แสนคน/ปี ใช้ปุ๋ยหมัก 2.4 หมื่นตัน ลดการใส่ปุ๋ยเคมี การทำเกษตรเชื่อมโยงกับขยะอินทรีย์ ลดการจัดการขยะ 72,000 ตัน/ปี ลดค่าจัดการขยะได้ถึง 216 ล้านบาท การเพาะปลูกผักบนดาดฟ้า เป็นโมเดลที่ กทม.เคยทำ

 

 

ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

สรุปผลเวทีสาธารณะ เพื่อขับเคลื่อนผักผลไม้เป็นวาระแห่งชาติ ผู้คนยากจน 830 ล้านคนทั่วโลกขาดอาหาร จากจำนวน 3,000 ล้านคน ยังขาดความมั่นคงทางอาหาร (70% ของประชากรโลกและ 270 ล้านคนเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารในปริมาณที่เพียงพอปัญหาทุโภชนาการ ความไม่ยั่งยืนในการผลิตและการบริโภค ความเหลื่อมล้ำทางสังคม) อาหารที่ไม่สมดุลเป็นสาเหตุสำคัญ ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารจึงเป็นโจทย์ใหญ่ของโลกที่จะต้องมีการปฏิรูปเทคโนโลยียุคปฏิวัติเขียวยังเป็นปัญหาที่โลกต้องเผชิญหน้า ความยั่งยืนทางนิเวศสิ่งแวดล้อม ระบบอาหาร กระบวนการผลิต บริโภคอาหารที่ไม่กระทบต่อนิเวศและสิ่งแวดล้อม

            การสร้างเสริมสิทธิอำนาจประชากรกลุ่มชาติพันธุ์เกษตรกร ผู้บริโภค เด็ก ผู้หญิง มีต่อห่วงโซ่อาหาร ทิศทางโลกในการแก้ไขปัญหาที่รากเหง้าทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยมีการกำกับดูแลอย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส การมีส่วนร่วมกระจายอำนาจระบบอาหาร กลไกเฝ้าระวังการขับเคลื่อนมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"