กกพ.สรุปแผนนำเข้าแอลเอ็นจีเสรี ระยะที่ 2 รวม 5.24 ล้านตัน


เพิ่มเพื่อน    

 

11 ส.ค. 2564 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยถึงการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันว่า ปัจจุบันหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบแผนการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติระยะที่ 2 ซึ่งจะเปิดให้ผู้จัดหาและนำส่งก๊าซธรรมชาติ (ชิปเปอร์) รายใหม่นำเข้า จากปริมาณนำเข้ารวมทั้งหมด 5.24 ล้านตัน แบ่งเป็น ปี 2564 อยู่ที่ 0.48 ล้านตันต่อปี, ปี 2565 อยู่ที่ 1.74 ล้านตันต่อปี และปี 2566 อยู่ที่ 3.02 ล้านตันต่อปี 

โดยกกพ.ได้มีการหารือร่วมกับชิปเปอร์ที่ได้รับใบอนุญาตินำเข้าแล้วทุกราย ถึงความพร้อมในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่คาดว่าจะนำเข้ารอบแรกภายในเดือนส.ค. 64 นี้ แต่ได้ข้อสรุปว่าอาจจะไม่มีผู้นำเข้า เนื่องจาก กพช. ได้มีการกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าที่ปริมาณนำเข้าที่ไม่กระทบต่อ การรับก๊าซไม่ครบตามสัญญาแต่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนแล้วค่อยเรียกรับก๊าซเพิ่มให้ครบในปีถัดไป (Take or Pay)ให้ชิปเปอร์หลายรายไม่สามารถนำเข้าได้ทัน และราคาแอลเอ็นจี ตลาดจร(สปอต) ปัจจุบันก็อยู่ในระดับสูง หรือราว 13-15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายรายยังต้องอาศัย ปตท. ซึ่งเป็นผู้ค้ารายเดิมไปก่อน 

“ปัจจุบัน กกพ.ได้ให้ใบอนุญาตให้กับชิปเปอร์รายใหม่แล้ว 7 ราย ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF, บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด, บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO, บริษัท PTT Global LNG Company Limited หรือ PTTGL และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  หรือ SCC อย่างไรก็ตามคาดว่าปี 65 จะมีผู้ประกอบการดังกล่าวออกจากระบบมากขึ้น เนื่องด้วยหลายรายได้มีการเจรจากับต่างประเทศไว้”นายคมกฤช กล่าว 

นายคมกฤช กล่าวว่าแม้ชิปเปอร์หลายรายจะปฎิเสธการข้านำเข้าแอลเอ็นจีในปีนี้ แต่ยังมีชิปเปอร์จำนวน 2 ราย ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะนำเข้าหรือไม่ ซึ่ง กกพ. ก็กำลังรอดูความชัดเจนดังกล่าวอยู่ คาดว่าจะต้องได้ข้อสรุปภายในเดือนส.ค.นี้ เพื่อให้เกิดการนำเข้าแอลเอ็นจีในช่วงเดือนก.ย.นี้ เป็นต้นไป รวมถึง กกพ. ยังจะต้องนำมาพิจารณาร่วมกับการจัดสรรสัดส่วนการนำเข้าให้กับรายอื่น ๆ ต่อไปด้วย  

อย่างไรก็ตามปัจจุบันปริมาณการใช้แอลเอ็นจีลดลง จากการคาดการณ์พบว่าในเดือน ส.ค. 64 จะมีความต้องการใช้อยู่ที่ 4,533 ล้านลูกบาศก์ฟุต(ลบ.ฟ.)ต่อวัน ขณะที่เดือนก.ย.-ธ.ค. อยู่ที่ 4,629 , 4,461 , 4,891 และ 4,510 ล้าน ลบ.ฟ. ต่อวันตามลำดับ โดยแบ่งเป็นสัญญาจากสปอตในเดือนส.ค. เหลือยอยู่ที่ 97 ล้านลบ.ฟ.ต่อวัน และในเดือนก.ย.-ธ.ค. อยู่ที่ 100 , 310 , 231 และ 206 ล้าน ลบ.ฟ.ต่อวัน 

นอกจากนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างราคาใหม่เนื่องจากเดิมประเทศไทยผู้ขายก๊าซรายเดียว(ปตท.)เป็นผู้ขายก๊าซหลายราย ต้องมีโครงสร้างราคาให้กับรายใหม่ รวมถึงประเทศไทยจะมีการนำเข้าแอลเอ็นจีในสัดส่วนที่มากขึ้น ดังนั้นโครงสร้างการคิดราคาต้องสะท้อนสัดส่วนการนำเข้าแอลเอ็นจีที่เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างราคา ผู้จัดหาก๊าซจะต้องจ่ายค่าใช้ Facilities ให้สะท้อนที่มาของก๊าซที่จัดหา เช่น จัดหาก๊าซในอ่าวไทยจะต้องจ่ายค่าผ่านท่อในทะเล และการจัดหาแอลเอ็นจี จะต้องจ่ายค่าใช้แอลเอ็นจี เทอมินอล ซึ่งผู้ใช้ก๊าซในอ่าวไทยจะเสียค่าท่อทะเลในอัตราเดียวกัน แต่จะเสียค่าผ่านท่อบนบกตามที่ตั้งของโครงการ 

อย่างไรก็ตาม กกพ. จะนำเสนอ กพช. ในครั้งนี้เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์โครงสร้างราคานำเข้าแอลเอ็นจีโดยจะแบ่งเป็น 2 หลักเกณฑ์ คือ หลักเกณฑ์ราคานำเข้าแอลเอ็นจีสำหรับชิปเปอร์รายใหม่ และหลักเกณฑ์ราคานำเข้า แอลเอ็นจีของชิปเปอร์รายเดิมคือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เพื่อให้การนำเข้าแอลเอ็นจีให้มีราคาที่เหมาะสม 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"