วัดโพธิ์ประทับช้าง ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ


เพิ่มเพื่อน    

วัดโพธิ์ประทับช้าง สร้างในสมัยพระเจ้าเสือ โบราณสถานสำคัญคู่พิจิตร

 

     ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 ที่ประชุมมีมติรับทราบ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาวัดโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ซึ่งในแผนจะให้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร ขุดค้นแหล่งโบราณสถานเพิ่มเติม รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมในการสร้างศูนย์บริการข้อมูลนําเสนอภาพการจําลองสภาพวัดโพธิ์ประทับช้างที่มีความสมบูรณ์ในอดีต โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณที่มีหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์ชัดเจน สร้างในสมัยพระเจ้าเสือ ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างวัดในบริเวณที่เป็นสถานที่ประสูติ และได้แรงบันดาลใจลักษณะทางสถาปัตยกรรมรูปแบบที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ยลความงามหน้าต่างของวัดโบราณ

     

     วัดโพธิ์ประทับช้างเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ยังใช้สอยจนปัจจุบัน  แม้จะมีอายุกว่า 300 ปีแล้วก็ตาม ความสำคัญของวัดแห่งนี้ไม่ได้มีแต่เพียงด้านประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังมีความงดงามของสถาปัตยกรรมสมัยพระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 29 ในสมัยอยุธยา และพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงครองราชย์ในช่วง พ.ศ.2246-2251

 

สักการะหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย  

 

     นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า วัดโพธิ์ประทับช้าง เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะเป็นสถานที่ประสูติของพระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาและพงศาวดารที่มีการชำระในสมัยรัตนโกสินทร์ โบราณสถานแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สำหรับโครงการพัฒนาวัดโพธิ์ประทับช้าง นอกจากขุดค้นเพิ่ม บูรณะโบราณสถานในส่วนที่ล้มลงเพื่อดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติแล้ว จะเติมเต็มด้วยพิพิธภัณฑ์ เนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติพระเจ้าเสือและสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาของวัด การดำเนินงานเหล่านี้ทำให้ประชาชนและคนพิจิตร เห็นคุณค่าของโบราณสถาน อีกยังเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่เมืองผ่านอย่างที่ผ่านมา

อุโบสถวัดโพธิ์ประทับช้าง มีสถาปัตยกรรมสมัยพระนารายณ์เป็นต้นแบบ

 

     ความโดดเด่นของวัดโพธิ์ประทับช้าง พุทธสถานในสมเด็จพระเจ้าเสือ นางสาวนาตยา ภูศรี นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กล่าวว่า วัดโบราณนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า โบราณสถานจึงหันหน้าลงสู่แม่น้ำน่านที่อยู่ทางทิศตะวันตก เพราะเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ มีพระอุโบสถเป็นประธานอยู่กึ่งกลางเขตพุทธาวาส ภายในพระอุโบสถมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสด เรียกกันว่า' หลวงพ่อโต' แสดงปางมารวิชัย นอกกำแพงแก้วด้านทิศใต้ มีเจดีย์รายอีก 1 องค์ สันนิษฐานกันว่าเป็นตำหนักพระเจ้าเสือ

 

เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง

     " พระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ตั้งอยู่บนฐานไพที มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง ประตูตกแต่งสวยงามด้วยซุ้มยอดบุษบก ผนังอุโบสถเจาะช่องหน้าต่างเป็นช่องแสงแคบๆ ให้แสงสว่างเข้าด้านใน มีเสารับน้ำหนักโครงสร้าง ซุ้มหน้าต่างประดับลวดลายปูนปั้นรูปพันธุ์พฤกษา นอกอุโบสถมีใบเสมาทั้ง 8 ทิศ รูปแบบสถาปัตยกรรมพระอุโบสถ เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นับแต่สมัยพระนารายณ์ สมัยนั้นมีนายช่าง สถาปนิก และศิลปินจากฝรั่งเศสเข้ามาสร้างป้อม วัง อาคาร เกิดความนิยมแบบยุโรป ตรงกับพระราชพงศาวดารที่ระบุว่า สร้างในสมัยพระเจ้าเสือ อีกความพิเศษ ที่ฐานปรางค์และเจดีย์ย่อมุมของวัดโพธิ์ประทับช้างมีเจาะช่องเป็นซุ้มโค้งเพื่อบรรจุพระพิมพ์ขนาดใหญ่หรือตามประทีป ลักษณะนี้พบได้ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี " นักโบราณคดีกล่าวถึงแรงบันดาลใจสถาปัตยกรรมพระนารายณ์เป็นต้นแบบสร้างวัดในถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ

ซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตก  

     ในอนาคตผลจากการบูรณะและสร้างพิพิธภัณฑ์จะพาทุกคนไปเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ในเมืองพิจิตรมากยิ่งขึ้น

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"