พิษโควิด ทำยอดรร.เปิดOn Site เหลือ 2 พันโรง จากช่วงแรก2หมื่น เตรียมทำแซนด์บ๊อกซ์


เพิ่มเพื่อน    

16 ส.ค.64- นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมหารือ ประเด็น “ทิศทางการศึกษาเพื่อฝ่าวิกฤติโควิด” ผ่านระบบออนไลน์ ร่วมกับภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP - Thailand Education Partnership ) นำโดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์  ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์ TEP พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของประเทศไทย  โดยการประชุมครั้งนี้มีมุมมองสำคัญเกี่ยวกับประเด็นด้านการศึกษา โดยเฉพาะประเด็นของผลกระทบที่เกิดกับเด็กในช่วงที่การจัดการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามปกติ ก่อให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางการเรียนรู้ (Learning Losses) ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ทั่วโลกพบเจอ การที่โรงเรียนไม่สามารถวางแผนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เพราะสถานการณ์ผกผันตลอดเวลา ปัญหาด้านการเรียนรู้ด้วยตัวเองของเด็ก (Self-management) และผลกระทบที่เกิดจากการเรียนผ่านหน้าจอ เป็นต้น 

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันวิเคราะห์และหาแนวทางที่จะ “เปลี่ยนวิกฤตที่เกิดขึ้นตอนนี้ ให้เป็นโอกาสในการปฏิรูประบบการศึกษา” ที่สอดรับกับการเรียนรู้ในอนาคต และมองว่าหลังสถานการณ์โควิด-19 ระบบการศึกษาไทยต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง รวมถึงสะท้อนภาพของการจัดการศึกษาที่ต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปเป็น Digital learning platform และสิ่งหนึ่งที่มีการแสดงความคิดเห็นตรงกันนั้น คือ การได้เห็นว่าเมื่อเกิดภาวะวิกฤติแบบนี้ ควรปรับการจัดการให้มีความยืดหยุ่น ปลดล็อกระบบราชการ ไม่เน้นการเรียนการสอนเพื่อวัดผล แต่ต้องปรับมาเรียนเฉพาะวิชาสำคัญ ให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งรอบตัว เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) ให้มากที่สุด จากทั้งในชุมชน ครอบครัว

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ศธ.ได้มีนโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบ 5 On (Online/On Air/On Demand/On Hand/On Site) โดยได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งได้พบปัญหาและอุปสรรคส่วนหนึ่งจากพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน สำหรับการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ตนได้แลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในช่วงที่ผ่านมา เข้าร่วมหารือกับที่ประชุม ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งจากผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน โดยหลังจากนี้ ศธ. จะได้นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้ประมวลผลร่วมกับการเก็บข้อมูลของกลุ่มอาสาสมัครของครูนักประเมินที่ได้มีการปฐมนิเทศและวางแผนในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อฟังเสียงสะท้อนปัญหาและอุปสรรคไปก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อที่จะได้ประเมินสถานการณ์ วางแผนการแก้ไขปัญหา ปรับระบบการศึกษาล่วงหน้า ตลอดจนปรับนโยบายให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตามบริบทของพื้นที่มากที่สุด

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ศธ. พยายามปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้ทันตามสถานการณ์อยู่เสมอ แต่ท่ามกลางความผันผวนของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จากเดิมที่เราสามารถเปิดการเรียนการสอนแบบ On Site ได้กว่า 20,000 โรงเรียน แต่ในปัจจุบันเหลือประมาณ 2,000 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ทั้งนี้ ศธ. พบว่า โรงเรียนประจำหลายแห่งมีความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนแบบ On Site ได้ จึงร่วมมือกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดเตรียมแนวทาง Sandbox Safety Zone in School (SSS) เพื่อช่วยวางมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน ซึ่งจะเริ่มนำร่องในโรงเรียนประจำประมาณ 20 โรงเรียน ต่อจากนั้น จึงจะเปิดโอกาสให้โรงเรียนประจำแห่งอื่น ๆ ที่มีความพร้อมสามารถเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในโรงเรียนและต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองจึงจะสามารถดำเนินการได้

 "โดยการเปิดเรียนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ตลอดจนจะเร่งจัดหาวัคซีนให้ครอบคลุมแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทุกท่านในโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ ดิฉันยังให้ความสำคัญกับการจัดการเรื่องการลดภาระนักเรียน ครู การปรับการประเมิน และการนับชั่วโมงเรียนเฉพาะประเด็นที่มีความจำเป็นเท่านั้นอีกด้วย ซึ่งดิฉันในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดและยินดีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ"นางสาวตรีนุชกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"