อย.เตือน‘พิมรี่พาย’ ขายน้ำแถมATKผิด


เพิ่มเพื่อน    

 

“อย.” ชี้ “พิมรี่พาย” ไลฟ์ขายน้ำแร่แถมชุดตรวจโควิดเข้าข่ายผิด 3 กระทง โฆษณาโดยไม่ขออนุญาต-ผลิตภัณฑ์ ATK ไม่ได้ขึ้นทะเบียน โทษสูงสุดคุก 6 เดือน ปรับ 5 หมื่น เตรียมส่งหนังสือเตือน-เรียกแม่ค้าออนไลน์ชื่อดังมาแจง ระบุต้องดูเจตนา  

    จากกรณีที่ น.ส.พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือพิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์ชื่อดัง ไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊กพิมรี่พายขายทุกอย่าง โดยช่วงหนึ่งของการไลฟ์สด พิมรี่พายขายน้ำแร่แถมชุดตรวจโควิด-19 ซึ่งมีผู้สนใจสั่งซื้อออนไลน์จำนวนมาก และได้รับคำชื่นชมจากชาวเน็ตถึงไอเดียนี้ เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา  
    ล่าสุด วันที่ 17 ส.ค. นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงกรณี น.ส.พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือพิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์ชื่อดัง ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กขายน้ำเปล่า 1 ขวด ปริมาณ 300 ซีซี แถมชุดตรวจโควิด-19 ว่า เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ตามกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่วนใหญ่ รวมถึง พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ จะถือว่าการจำหน่าย จ่าย แจก มีความหมายเท่ากับเป็นการขายทั้งหมด ไม่เช่นนั้นคนจะเอาเหตุผลนี้ไปทำการแจก แถม เพราะผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องมีการระมัดระวัง ในส่วนของชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิต (ATK) นั้น 1.อย.อนุญาตให้มีการขายในร้านขายยา คลินิก สถานพยาบาลเท่านั้น 2.การโฆษณาต้องมีการขออนุญาตจาก อย.ก่อน ถึงแม้จะเป็นคนที่สามารถโฆษณาขายได้ เช่น ร้านขายยาจะขายผ่านออนไลน์ก็ต้องมาขออนุญาตว่าจะโฆษณาด้วยคำพูดอย่างไรที่ไม่มีการพูดเกินจริง ทั้งนี้ เหมือนกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะโฆษณาก็ต้องขออนุญาตเช่นกัน
 นพ.สุรโชคกล่าวต่อว่า สำหรับกรณีพิมรี่พายนั้น 1.เป็นการขายโดยบุคคลที่ อย.ไม่อนุญาตให้ขาย 2.โฆษณาด้วยการออกสื่อเช่นนี้ เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ต้องขออนุญาตก่อน แต่ก็ไม่ได้ขออนุญาต และ 3.ผลิตภัณฑ์ที่นำมาขายนั้น เท่าที่ดูเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. ซึ่งจากกรณีทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษตั้งแต่เบาไปหาหนัก โทษสูงสุดคือจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ดังนั้นจากนี้ อย.จะมีการส่งหนังสือเตือนไปยังพิมรี่พายและให้เข้ามาพูดคุยกัน ซึ่งจะต้องดูเจตนาด้วยว่ามีเจตนาหรือไม่ หรือทำเพราะไม่รู้ว่าผิด เพราะบางคนที่ อย.เตือนไปแล้วก็เข้าใจ
“ขอย้ำว่า อย.ไม่ได้ห้ามเรื่องการโฆษณา สามารถโฆษณาได้ ก็เห็นตัวอย่างอยู่ แต่ อย.ไม่ได้อนุญาตให้ทุกผลิตภัณฑ์ ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เสี่ยงหรือเสี่ยงไม่มาก ประชาชนสามารถซื้อหามาใช้ได้ เช่น ยาสามัญประจำบ้าน ก็ให้โฆษณาได้ ถ้าเป็นยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษก็ไม่อนุญาตให้โฆษณา แม้แต่อาหาร ถ้าเป็นอาหารทางการแพทย์ก็ไม่ได้อนุญาตให้มีการโฆษณาขาย แต่โฆษณาเฉพาะกับบุคคลบางอย่างได้ อย่างไรก็ตาม ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ อย.อนุญาตให้ทำการโฆษณาได้ก็ต้องมาขออนุญาตโฆษณา เพื่อให้ อย.ดูเรื่องข้อความการสื่อสารถึงประชาชน ไม่มีการโอเวอร์เคลม หรือกล่าวเกินจริง" รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"